บทความล่าสุด

การนับเวลาแบบสุริยคติ    โดยยึดดวงอาทิตย์เป็นหลัก เป็นการนับเวลาแบบสากล 

การนับเวลาตามแบบจันทรคติ โดยยึดดวงจันทร์เป็นหลัก  เป็นการนับเวลาแบบไทย

วันแบบจันทรคติ  เรียกว่า วันข้างขึ้น  วันข้างแรม  หรือ ปรากฎการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 

จำนวนนับ 5  เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก  4  เมื่อเรานับจำนวนจะได้ว่า 1 , 2 , 3 , 4 , 5    อ่านว่า  หนึ่ง    สอง  สาม  สี่  ห้า    

จำนวนห้า  เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ 5

และสามารถเขียนเป็นตัวเลขแบบไทย ได้แก่ ๕

จำนวนศูนย์  ไม่ใช่จำนวนนับ

เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ 0

เขียนเป็นตัวเลขแบบไทย คือ ๐

ทบทวนการอ่านแจกลูก การสะกดคำ  สระอา  จากเนื้อเรื่อง ดังนี้

เนื้อเรื่อง

 มาดูใบโบก   ใบโบกมีงา  มีตา   มีหู   มีหาง   มีปาก   มีงวง

 มาดูใบบัว  ใบบัวไม่มีงา  มีตา  มีหู  มีหาง  มีปาก  มีงวง

จากประโยคข้างต้น คำที่มี สระ อา  มีดังนี้

1. มา   2. งา   3. ตา   4. หาง    5. ปาก

โครงสร้างภายนอกของสัตว์   ได้แก่ อวัยวะภายนอกที่สำคัญต่อสัตว์  เช่น จมูกใช้สำหรับหายใจ  ,  ตา ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ  ,  หู ใช้สำหรับฟัง , ปาก ใช้สำหรับกินอาหาร , ขา และเท้า ใช้สำหรับเคลื่อนที่และรับน้ำหนักตัว  

สัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอกที่แตกต่างกัน  เช่น  หมี สุนัข มีขน  แต่ กิ้งกา จิ้งจก  ไม่มีขน  

ขน ของสัตว์ ช่วยปกป้องความเย็น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 

หาง ของสัตว์  ใช้สำหรับยึดเกาะห้อยโหน  ไล่แมลง   และสามารถใช้แสดงความรู้สึกได้  เช่น  หางของแมว

หนึ่งปีมี  12  เดือน  เดือน ที่ลงท้ายด้วย คม  จะมี  31 วัน  และเดือนที่ลงท้ายด้วย ยน  จะมี 30 วัน   นอกจากนี้ยังมี เดือนกุมภาพันธ์ จะมี 28 หรือ 29  วัน 

เดือนทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี มีดังนี้

1. เดือนมกราคม ( มี 31 วัน )     2. เดือนกุมภาพันธ์  ( มี 28 หรือ 29 วัน )  

3. เดือนมีนาคม  ( มี 31 วัน )      4. เดือนเมษายน   ( มี 30 วัน )  

5. เดือนพฤษภาคม ( มี 31 วัน )   6. เดือนมิถุนายน  ( มี 30 วัน )  

7. เดือนกรกฎาคม  ( มี 31 วัน )    8. เดือนสิงหาคม  ( มี 31 วัน )  

9. เดือนกันยายน ( มี 30 วัน )     10. เดือนตุลาคม  ( มี 31 วัน )  

11. เดือนพฤศจิกายน ( มี 30 วัน )    12. เดือนธันวาคม  ( มี 31 วัน )  

จำนวนนับ 3 และ 4  เป็นจำนวนนับที่ต่อ จาก 1 และ 2  กล่าว คือ จับนวนนับ 1 และ 2  ต่อจากสอง ก็จะนับเป็น 3 และ 4   จำนวนนับ 3 และ 4 เขียนเป็นตัวเลข และคำอ่านได้ดังนี้

3  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๓   อ่านว่า  สาม

4  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๔   อ่านว่า  สี่

บทเรียน เรื่อง การแจกลูก  สะกดคำ  สระอา  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำอักษรกลาง มาประสมกับสระอา มีเนื้อหาการสอนให้นักเรียน สามารถแจกลูกสะกดคำ ได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ความหมายของคำ  

กา  หมายถึง  ภาชนะใส่น้ำต้ม 

ตา  หมายถึง ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์  ทำหน้าที่มองหรือดูสิ่งต่างๆรอบตัว

ปา  หมายถึง  ขว้างไปข้างหน้า

อา  หมายถึง  น้องของพ่อ

การแจกลูกสะกดคำ 

1. กา   แจกลูกสะกดคำ    ได้ดังนี้   กอ - อา   อ่านว่า  กา

2. จา   แจกลูกสะกดคำ    ได้ดังนี้   จอ - อา   อ่านว่า  จา

3. ดา  แจกลูกสะกดคำ    ได้ดังนี้   ดอ - อา   อ่านว่า  ดา

เนื้อหาเรื่อง เจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์  มีเนื้อหาการเรียนรู้ ที่สอนให้รู้จักวันในสัปดาห์ ซึ่งในหนึ่ง สัปดาห์ มีทั้งหมดเจ็ดวัน  ได้แก่

1. วันอาทิตย์   สีประจำวัน  คือ  สีแดง

2. วันจันทร์   สีประจำวัน  คือ  สีเหลือง

3. วันอังคาร  สีประจำวัน  คือ  สีชมพู

4. วันพุธ   สีประจำวัน  คือ  สีเขียว

5. วันพฤหัสบดี  สีประจำวัน  คือ  สีส้ม

6. วันศุกร์  สีประจำวัน  คือ  สีฟ้า

7.  วันเสาร์  สีประจำวัน  คือ  สีม่วง

วิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง  รู้จักสัตว์  ในบทเรียนนี้จะพานักเรียนไปรู้จักสัตว์ต่างๆที่อยู่ในสวนสัตว์ ซึ่งมีทั้งสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อ เช่น  สัตว์ ที่เราควรรู้จัก มีทั้งสัตว์บก  สัตว์น้ำ  สัตว์มีปีก  สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์บก เช่น   สิงโต  เสือ   ช้าง

สัตว์น้ำ  เช่น  ปลา   แมวน้ำ  กุ้ง

สัตว์เลื้อยคลาน  เช่น  งู   เป็นต้น

สัตว์กินพืช  เช่น  ยีราฟ  ,  ช้าง  ,  ม้าลาย  ,    กระต่าย 

สัตว์กินเนื้อ  เช่น  เสือ  ,  สิงโต  ,  จระเข้  

ข้อคิด

- สัตว์บกที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก  คือ ช้าง  

- สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกับพืช แตกต่างกันตรงที่สัตว์เคลื่อนที่ได้

เนื้อหาในวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง จำนวน 1 และ 2 มีเนื้อหาการเรียนรู้  ที่เกี่ยวกับการสอนให้นักเรียนรู้จักจำนวนนับ 1 และ 2  และสามารถนับจำนวนได้  เช่น  ส้ม  1 ผล ,  ดินสอ 1 แท่ง  , สมุด  2 เล่ม , หมวก  2 ใบ  เป็นต้น  

การเขียน จำนวนนับ 1  และ  2

1    เขียนเป็นเลขไทย  ๑    อ่านว่า  หนึ่ง

2   เขียนเป็นเลขไทย  ๒   อ่านว่า  สอง

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา สามารถแบ่งได้เป็น  2  ประเภท คือ สิ่งมีชีวิต และ สิ่งไม่มีชีวิต 

สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา  ได้แก่  พ่อแม่  ปู่ย่า ตายาย คุณครู เพื่อน ผ๊เสื้อ แมว นก กระต่าย ต้นไม้  และดอกไม้ต่างๆ

สิ่งไม่มีชีวิตรอบตัวเรา  ได้แก่   บ้าน รถยนต์  ก้อนหิน วัด สะพาน โรงเรียน รั้วบ้าน 

ลักษณะสำคัญของ สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต 

1. สิ่งมีชีวิต จะกินอาหารและน้ำได้      สิ่งไม่มีชีวิต  จะกินอาหารและน้ำไม่ได้

2. สิ่งมีชีวิต จะหายใจได้                   สิ่งไม่มีชีวิต จะหายใจได้ไม่ได้

3. สิ่งมีชีวิต จะเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวได้   สิ่งไม่มีชีวิต จะจะเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวไม่ได้