บทความล่าสุด

เนื้อเรื่อง  ลากันไปโรงเรียน

ภูผา เดินหน้า ช้างน้อย ตามหลัง         น่ารัก น่าชัง จะไปโรงเรียน

ช้าง หิ้ว ปิ่นโต กระเป๋า เครื่องเขียน มา ถึง โรงเรียน โบกมือ ลา กัน

ความหมายของคำ

1. โรงเรียน หมายถึง สถานที่ศึกษา เล่าเรียน

2. หิ้ว หมายถึง จับหรือถือให้ห้อยถ่วงลงมา

3. ปิ่นโต  หมายถึง  ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ช้อนกันเป็นชั้นๆ มีหูหิ้วได้

4. กระเป๋า หมายถึง เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ

5. โบกมือ หมายถึง แกว่งมือไปมาทำสัญญาณ

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

การทักทายและการเรียนรู้มิตรภาพระหว่างคนกับสัตว์  เห็นได้จากการที่ใบโบกกับใบบัว  เดินไปส่งภูผาที่โรงเรียน ใบโบกหิ้วปิ่นโต ใบบัวหิ้วกระเป๋า

คำที่มากกว่า 1 พยางค์  ในบทเรียนนี้ ได้แก่

1. ไก่แจ้   สะกดว่า  กอ - ไอ - ไก - ไม้เอก = ไก่  /  จอ - แอ - แจ - ไม้โท = แจ้  อ่านว่า ไก่แจ้

2. ป่าไม้   สะกดว่า ปอ - อา - ปา - ไม้เอก = ป่า  /  มอ - ไอ - ไม - ไม้โท = ไม้  อ่านว่า ป่าไม้

3. ใส่ยา  สะกดว่า สอ - ใอ - ใส - ไม้เอก = ใส่  /  ยอ - อา - ยา = ยา  อ่านว่า ใส่ยา

4. ผ้าถุง  สะกดว่า ผอ - อา - ผา - ไม้โท = ผ้า  /  ถอ - อุ - งอ = ถุง  อ่านว่า ผ้าถุง

5. สาคู  สะกดว่า สอ - อา = สา / คอ - อู = คู  อ่านว่า  สาคู

6. ถูบ้าน  สะกดว่า  ถอ - อู = ถู / บอ - อา - นอ - บาน - ไม้โท = บ้าน  อ่านว่า ถูบ้าน

ความหมายของคำ

1. ไก่แจ้  หมายความว่า  ไก่บ้านพันธุ์พื้นเมืองของไทย

2. ป่าไม้ หมายความว่า ที่ที่มีต้นไม้ต่างๆ ขึ้นมา

3. ใส่ยา หมายความว่า เอายาทาหรือโรยที่แผล

4. ผ้าถุง หมายความว่า ผ้านุ่งผู้หญิง ทำจากผ้าที่เย็บด้านข้างให้ติดกัน

5. สาคู หมายความว่า ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง

6. ถูบ้าน หมายความว่า เช็ดไปมาให้สะอาด

ตัวอย่างคำที่เรียนในบทเรียน 

1. ลือ  สะกดว่า  ลอ - อือ อ่านว่า ลือ

2. มือ สะกดว่า  มอ - อือ อ่านว่า มือ

3. ถือ สะกดว่า  ถอ - อือ อ่านว่า ถือ

4. ฮือ สะกดว่า  ฮอ - อือ อ่านว่า ฮือ

5. คือ สะกดว่า  คอ - อือ อ่านว่า คือ

ความหมายของคำ

1. ลือ หมายถึง พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน

2. ฮือ หมายถึง อาการลุกฮืออย่างรวดเร็ว เช่น ไฟลุกฮือ

3. มือ หมายถึง อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขน

4. ถือ หมายถึง จับยึดไว้ในมือ

5. คือ หมายถึง เท่ากับ

ในบทเรียนนี้ เราจะมาเรียนรู้พยัญชนะอักษรสูง  ได้แก่  ฉ  ข  ฃ   ฐ   ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห  ซึ่งมีทั้งหมด 11 ตัว 

และเรียนรู้  สระอือ  เช่นคำว่า  มือ  หนังสือ  

วรรณยุกต์ที่เราจะเรียนรู้   ได้แก่ ไม้เอก ไม้โท   เช่นคำว่า  เข่า   ต่อย  เสื้อ  แป้ง เป็นต้น

สื่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.1 เรื่อง จำนวนนับ 11-20  มีเนื้อหาการเรียนรู้ เกี่ยวกับการนับตัวเลข 11 - 20 โดยตัวเลย 11 ถึง 20 นั้น เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก 10 แล้วมีการนับเพิ่มทีละ 1 ไปจนถึง 20 เช่น  10   11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  เป็นต้น

เราเขียนเลขจำนวนนับ 11 - 20 ได้ดังนี้

11  เขียนเลขไทยได้  ๑๑  อ่านว่า  สิบเอ็ด          12  เขียนเลขไทยได้  ๑๒  อ่านว่า  สิบสอง

13  เขียนเลขไทยได้  ๑๓  อ่านว่า  สิบสาม         14  เขียนเลขไทยได้  ๑๔  อ่านว่า  สิบสี่

เรื่อง ไปโรงเรียน 

ภูผา เดิน หน้า ใบโบก ใบบัว เดินตาม       ใบโบก หิ้ว ปิ่นโต ส่งเสียง ร้อง เอิ๊ก เอิ๊ก

กระดึง ดัง โป๊ก เป๊ก                                 ใบบัว หิ้ว กระเป๋า ส่งเสียง ร้อง แอ๊ก แอ๊ก

กระพรวน ดัง กรุ๋ง กริ๋ง                               ภูผา พา ใบโบก ใบบัว ไป โรงเรียน

พอ ถึง โรงเรียนลูกช้าง                              ใบโบก ยื่น ปิ่นโต ให้ ภูผา

ใบบัว ยื่น กระเป๋า ให้ ภูผา                          ช้างน้อย โบกหู ให้ ภูผา

ภูผา โบกมือ ให้ ช้างน้อย                           ช้างน้อย เดิน เข้า โรงเรียนลูกช้าง

ภูผา เดิน ต่อไป ที่ โรงเรียน ของ ภูผา           ไป เรียน หนังสือ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ เรื่อง ไปโรงเรียน  มีดังนี้

1. เข้า     หมายถึง   อาการที่เคลื่อนไปข้างใน หรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน

2. หิ้ว      หมายถึง   จับหรือถือให้ห้อยถ่วงลงมา

3. เรียน    หมายถึง    เข้ารับความรู้จากผู้สอน

4. ปิ่นโต    หมายถึง    ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีหูหิ้วได้

5. กระเป๋า    หมายถึง      เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ

ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ  คือ การนำผลลบ รวมกับ ตัวลบ เท่ากับ ตัวตั้ง

เช่น  3 - 2 = 1

ผลลบ  คือ  1

ตัวลบ  คือ  2

ตัวตั้ง   คือ  3

ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ  คือ การนำผลลบ รวมกับ ตัวลบ เท่ากับ ตัวตั้ง

ดังนั้น เมื่อนำ ผลลบ คือ 1  มาบวกกับ ตัวลบ คือ 2    จะเท่ากับตัวตั้ง   คือ  = 3

หรือ   1 + 2  = 3  นั่นเอง

จำนวนนับ 10 - 20  ตอน จำนวน 10    จำนวนนับ 10  เป็นจำนวนที่นับต่อจาก 9  ซึ่งเราจะเริ่มนับตั้งแต่  1  2   3  4  5  6  7   8   9   10

จำนวนนับสิบ เขียนแบตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ  10

เขียนแบบตัวเลขไทย คือ  ๑๐

อ่านว่า   สิบ    

 

เพลงกล่อมเด็ก  เจ้าเนื้ออ่อน

เจ้าเนื้ออ่อน  เอย   อ้อน แม่ จะ กิน นม

แม่ อุ้ม เจ้า ออก ชม กิน นม แล้ว นอน เปล เอย

ข้อคิดที่ได้

ความรักของแม่ที่มีต่อลูก เห็นได้จากเมื่อลูกร้องจะกินนม      แม่ก็อุ้มออกมาจากเปลแล้วให้กินนมจากอก    เมื่อลูกอิ่มแล้วก็นำไปนอนเปลต่อ

ตัวอย่าง   การแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหา  ตอนที่ 2

วันจันทร์ไก่ออกไข่  8  ฟอง  วันอังคารไก่ออกไข่  5 ฟอง  วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารกี่ฟอง

โจทย์บอก  

วันจันทร์ไก่ออกไข่  8  ฟอง      วันอังคารไก่ออกไข่  5  ฟอง

โจทย์ถาม  

วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารกี่ฟอง

ประโยคสัญลักษณ์   8 - 5 = ?

ตอบ = วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารจำนวน  3  ฟอง