บทความล่าสุด

แรงทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง การออกแรงกระทำต่อวัตถุทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่และยังทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างได้อีก เล่น การดัดลวด การปั้นดินน้ำมั้น การขยำกระดาษ การฉีกถุงกระดาษ การบิดผ้า เมื่อเราออกแรงกระทำกับวัตถุทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง หรือไม่เปลี่ยนรูปร่างก็ได้ขึ้นอยู่กับความแข็งของวัตุถุ เช่น ออกแรงปั้นดินน้ำมัน ทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง แต่ออกแรงบีบยางลบ ทำให้ยางลบไม่เปลี่ยนรูปร่างเพราะ ยางลบมีความแข็งอยู่ในตัว

วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง My Animal เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆโดยใช้เพลงประกอบเนื้อหา โดยมีเนื้อหาดังนี้

Old MACDONALD had a farm E-I-E-I-O

And on his farm he had some ducks E-I-E-I-O

With a quack quack here And a quack quack there

Here quack, there a quack Everywhere a quack quack

คุณตาเลี้ยงสัตว์ไว้มากมาย E-I-E-I-O

เป็ดน้อยๆเดินพลางร้องเพลงไป E-I-E-I-O

เป็ดเดินร้องก๊าบๆ เป็ดเดินร้องก๊าบๆ นี่ก็ก๊าบ นั่นก็ก๊าบ เป็ดชอบร้องก๊าบๆ

My Things สิ่งของ ของฉัน ในบทเรียนภาษาอังกฤษบทนี้ จะเป็นการเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ สี และสิ่งของต่างๆ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

RED แปลว่า สีแดง

BLUE แปลว่า สีน้ำเงิน

Green แปลว่า สีเขียว

Yellow แปลว่า สีเหลือง

Kites แปลว่า ว่าว

Pencil แปลว่า ดินสอ

Ruler แปลว่า ไม้บรรทัด

Eraser แปลว่า ยางลบ

We Wish You a Merry Christmas แปลว่า เราอยากให้คุณมีความสุขในวันคริสมาสต์

Happy New Year แปลว่า สวัสดีปีใหม่

 

เนื้อหาเรื่อง แรงทำให้วัตถุปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ ในวิชาวิทยาศาสตร์นี้จะมีเนื้อหาให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เกิดจากแรง ดังนั้นในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่อง แรงคืออะไร และแรงทำให้วัตถุปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้อย่างไร เช่น นักเรียนเตะลูกฟุตบอล คือ การทำให้วัตถุที่หยุดนิ่ง ได้แก่ลูกบอล เคลื่อนที่ไปข้างหน้า

แรง คือ การทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่

1. วัตถุเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่

2. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่ เป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้น

3. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่เป็นเคลื่อนที่ช้าลง หรือ หยุดนิ่ง

4. วัตถุเปลี่ยนจากเคลื่อนที่ เป็นเคลื่อนที่ไปในทิศทางอื่น

ขนาดของแรง คือ ระดับการออกแรง เช่น ขว้างก้อนหิน ต้องออกแรงมาก วัตถุมีมวลมาก จะต้องออกแรงมาก เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่ , การออกแรงปั่นจักรยาน เป็นการออกแรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่เป็นเคลื่อนที่เร็วขึ้น การโยนห่วง เป็นการออกแรงทำให้วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ เคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง , การดีดลูกแก้ว เป็นการออกแรงที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นเคลื่อนที่

วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านแจกลูก และการสะกดคำ เป็นการเรียนรู้การสะกดคำที่อยู่ในรูป สระ อะ และ สระ อิ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านแจกลูก และการสะกดคำ โดยมีขั้นตอนการอ่านแจกลูกคำดังนี้

สระ อะ  เช่น

1.กะ แจกลูกคำ คือ กอ - อะ อ่านว่า กะ

2.จะ แจกลูกคำ คือ จอ - อะ อ่านว่า จะ

3.มะ แจกลูกคำ คือ มอ - อะ อ่านว่า มะ

สระ อิ เช่น

1.จิ แจกลูกคำ คือ จอ - อิ อ่านว่า จิ

2.บิ แจกลูกคำ คือ บอ - อิ อ่านว่า บิ

3.ติ แจกลูกคำ คือ ตอ - อิ อ่านว่า ติ

การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันของเรา เป็นเนื้อหาในวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างมีประโยชน์ เห็นคุณค่าของเงิน คิดก่อนจะนำมาใช้จ่าย การใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน ควรใช้สำหรับสิ่งที่เป็นประโยชน์ และตามความจำเป็น

สิ่งของเครื่องใช้และบริการได้มาโดยไม่ใช้เงินซื้อ คือ สิ่งของเครื่องใช้และบริการที่ได้มาโดยการให้หรือการแลกเปลี่ยน

การทำบันทึกรายรับรายจ่าย จะช่วยให้เราวางแผนการใช้จ่ายเงินได้ และตรวจสอบรายรับรายจ่ายได้

รายรับ คือ เงินที่เราได้รับมา

รายจ่าย คือ การนำเงินที่ได้รับมาใช้จ่ายสิ่งต่างๆ

สิ่งของต่างๆรอบตัวเรา ทุกอย่างมีน้ำหนัก เช่น ยาสีฟัน แก้ว สบู่ ดินสอ ยางลบ ในบทเรียนนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง การเปรียบเทียบน้ำหนัก วัสดุที่มีลักษณะเหมือนกัน ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า จะทำให้มีน้ำหนักมากกว่า

การนำวัสดุมาชั่ง ที่เครื่องชั่งสองแขน มีหลักการดังนี้

1. น้ำหนักเท่ากัน ระดับแขนของเครื่องชั่ง อยู่ในระดับเดียวกัน

2. น้ำหนักมากกว่า แขนของเครื่องชั่งด้านนั้นจะเอียงลงมากกว่า

วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.1 เรื่อง เกณฑ์ในการจัดกลุ่มของเล่นของใช้ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เกณฑ์จำแนก และจัดกลุ่ม ให้กับของเล่นและของใช้ ซึ่งวัสดุที่นำมาทำของเล่นของใช้ ได้แก่วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ และวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น

เกณฑ์ในการจัดกลุ่มของเล่นของใช้ มี ดังนี้

1. สี

2. รูปทรง และรูปร่าง

3. ขนาด

4. น้ำหนัก

5. ลักษณะพื้นผิว

6. ความอ่อนนุ่มและความแข็ง

บทเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง My food เป็นการเรียนการสอนที่เน้นคำศัพท์ง่ายๆเกี่ยวกับอาหาร ที่นักเรียนชั้น ป.1 ควรรู้จัก โดยมีการดำเนินเรื่องเป็นเพลง เป็นประโยคสั้นๆ เพื่อให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ได้ง่าย โดยคำศัพท์ของบทเรียนนี้มีดังนี้

Happy birthday to you แปลว่า สุขสันต์วันเกิดให้คุณ

I like แปลว่า ฉันชอบ

I like chicken แปลว่า ฉันชอบเนื้อไก่

I like pork แปลว่า ฉันชอบเนื้อหมู

I like beef แปลว่า ฉันชอบเนื้อวัว

บทเรียนคณิตศาสตร์ชั้น ป.1 เรื่อง การวัดความยาว มีเนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวกับการสอนเรื่องการวัดความยาว และความสูง โดยใช้หน่วยของการวัดเป็น หน่วย เช่น บ้านอยู่ห่างจากโรงเรียน 9 หน่วย แบบนี้ป็นต้น

การวัดความยาว คือ การหาความยาวในวิธีแนวนอน

การวัดความสูง คือ การหาความสูงในแนวตั้ง

บทเรียนภาษาไทย ชั้น ป.1 เรื่อง เรียนรู้พยัญชนะอักษรต่ำ สระ และวรรณยุกต์ เป็นการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จัก พยัญชนะอักษรต่ำ และ นำคำอักษรต่ำนั้นมาประสมสระและวรรณยุกต์ ให้เป็นคำที่มีความหมาย เช่น กิน ( ก เป็น อักษรต่ำ ประสมกับ สระ อิ อ่านว่า กอ - อิ - นอ กิน แปลว่า ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ ) บทเพลง

สูง กลาง ต่ำนี้ อักษรไทยมี สูง กลาง ต่ำ

แบ่งเป็นสามหมวดให้จำ อักษรไทย มี ต่ำ กลาง สูง

โอ้อักษรสูง อักษรสูงมี ๑๑ ตัว ขวด ของ ฉัน ห่อ ผ้า ใส่ ถุง ฝาก เศรษฐี ( ฃ ข ฉ ห ผ ส ถ ฝ ศ ษ ฐ )

โอ้อักษรกลาง อักษรกลางนั้นมี ๙ ตัว ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง ( ก จ ฎ ด ฏ ต บ ป อ )

และนอกจากนี้ เรารู้ดี เป็นอักษรต่ำ สามหมวดรวมกัน พยัญชนะ ๔๔ ตัว