บทความล่าสุด

Good morning

บทเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง Goodmorning เป็นบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับการทักทายในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้การสวัสดีทักทายใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ การทักทายตอนเช้า ทักทายตอนกลางวัน และทักทายตอนเย็น ในบทเรียนนี้ยังมีเพลงสนุกๆ ให้เด็กๆได้ฝึกร้องและเรียนรู้คำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมากมาย

คำศัพท์ในบทเรียน

good morning    หมายถึง สวัสดีช่วงเช้า ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน จนถึงเวลาก่อนเที่ยงวัน

good afternoon  หมายถึง สวัสดีช่วงกลางวัน ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงวัน จนถึงเวลาก่อนหกโมงเย็น 18.00 น.

good evening    หมายถึง สวัสดีช่วงเย็น ตั้งแต่เวลาหลังหกโมงเย็น 18.00 น.

คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาละติน หมายถึง การนับ การคำนวณ

คอมพิวเตอร์ มีการทำงาน ดังนี้

  1. รับข้อมูลเข้า (Input)  เป็นการรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน โดยผ่านทางแป้นพิมพ์ หรือเมาส์
  2. ประมวลผล (Process) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามา
  3. แสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานต้องการ หลังการประมวลผลข้อมูล

เช่น การกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม เป็นการทำงานของคอมพิวเตอร์ นั่นคือ

อุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หลากหลาย หรือแบบพิเศษ เช่น อุปกรณ์เสริม จอยสติ๊ก ทำหน้าที่คล้ายเมาส์ เหมาะสำหรับเล่นเกม

ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่างๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อให้เกิดเสียงออกในส่วนแสดงผล คือลำโพง

กราฟิก การ์ด หรือเรียกว่า การ์ดจอ มีลักษณะเป็นแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูล ที่ได้จากการการประมวลผลของซีพียู มาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร 

หรือ รูปภาพ

คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ โดยจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ  3 ส่วน ได้แก่

1.ส่วนรับข้อมูล  ทำหน้าที่รับคำสั่งจากมนุษย์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่  

  • เมาส์   ทำหน้าที่ชี้ตำแหน่งข้อมูลบนหน้าจอ  หรือเข้าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์    การดับเบิ้ลคลิก  คือ คลิกเมส์ซ้าย 2 ครั้ง  การคลิกซ้าย คือ คลิก ซ้าย ครั้งเดียว เพื่อไปยังตำแหน่งต่างๆ การคลิกขวา คือ คลิกขวา ครั้งเดียว เพื่อดูคุณสมบัติของโปรแกรมที่ใช้ขณะนั้น

 แหล่งข้อมูล คือ ที่อยู่ของข้อมูลที่เราต้องการ เช่น นักเรียนดูข่าวกีฬาจากโทรทัศน์ แหล่งข้อมูล คือ โทรทัศน์เป็นต้น ตัวอย่าง การเก็บรักษาแหล่งข้อมูลใกล้ตัว มีดังนี้

1.โทรทัศน์

- หลีกเลี่ยงแสงแดด

- ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

- หากมีปัญหาให้ปรึกษาช่างซ่อมโดยตรง

วิชาคอมพิวเตอร์ : มาเก็บข้อมูลกันเถอะ  เนื้อหาในเรื่องนี้จะกล่าวถึงการเก็บข้อมูล วิธีจัดเก็บข้อมูลให้ถูกวิธี เรียนรู้ทำความรู้จักกับคุณสมบัติของข้อมูลที่ดี และประโยชน์ของข้อมูล

คุณสมบัติที่ดีของข้อมูล

1.ต้องมีความถูกต้องเที่ยงตรง 

2.มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

3.ความสมบรูณ์ของข้อมูล

4.มีความชัดเจนกระทัดรัด

5.มีความสอดคล้องกับการใช้งาน

วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ข้อมูลน่ารู้

ข้อมูล คือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา โดยสามารถรับรู้ได้จาก การฟัง การมองเห็น การรับรู้รส และการสัมผัส ข้อมูลประกอบด้วย ตัวเลข ตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ประโยชน์ของข้อมูล ได้แก่ ช่วยเพิ่มเติมความรู้ ช่วยในการสื่อสาร ช่วยในการตัดสินใจที่ถูกต้อง ช่วยในการวางแผน

การรวบรวมข้อมูล คือ การรวบข้อมูลหลายๆประเภท ซึ่งได้มาจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน มารวบรวมเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น

วิธีการรวบรวมข้อมูล มี 3 วิธี

1.กำหนดข้อมูลที่จะทำการรวบรวม เช่น ข้อมูล ภาพ เสียง ตัวเลข ตัวอักษร โดยนักเรียนต้องกำหนดให้ได้ว่าข้อมูลที่จะเก็บเป็นแบใด

2.กำหนดแหล่งข้อมูล เช่น แหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จากส่วนราชการ และจากการสัมภาษณ์

3.การนำข้อมูลมาจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางประวิติศาสตร์ ข้อมูลสินค้า เป็นต้น

วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Hello

เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ เกี่ยวกับการทักทาย การแนะนำตนเอง และการถามชื่อของคู่สนทนา เช่น

Hi , Hello หมายถึง สวัสดี / เป็นการทักทายสั้นๆ

What your name หมายถึง คุณชื่ออะไร / เป็นการถามชื่อของบุคคลที่เราอยากรู้จัก

My name is หมายถึง ฉันชื่อ...... / เป็นการตอบคำถามจากผู้ถามชื่อของเรา

How are you หมายถึง คุณสบายดีมั้ย / เป็นการทักทายทั่วไป

I ‘m fine , thank you. .And you ? หมายถึง ฉันสบายดี , ขอบคุณ , แล้วคุณละ

Fine , thank หมายถึง ฉันสบายดี ขอบคุณ

Nice too meet you หมายถึง ยินดีที่ได้รู้จัก

Nice too meet you too หมายถึง ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกัน

This is หมายถึง นี่คือ / ใช้ในกรณีแนะนำเพื่อนที่มาด้วย เช่น This is my friend นี่คือเพื่อนของฉัน

วิชาภาษาไทย เรื่อง โรงเรียนต้นไม้

เป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้คำศัพท์ที่อยู่ในบทเรียนนี้ โดยจะใช้เนื้อหาเพลงในการเรียนการสอน เนื้อหาในบทเรียนประกอบด้วยคำศัพท์ดังนี้

- ข้าวเปลือก คือ เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้เอาเปลือกออก

- หว่าน คือ การโปรย ทำให้กระจาย

- ใบตอง คือ ใบกล้วย

- กอ คือ ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม

- หุงข้าว คือ การทำให้ข้าวสุกด้วยวิธีการต้ม หรือทำให้น้ำแห้ง

เพลงประกอบบทเรียน ชื่อ เพลงต้นข้าวของคนไทย

เจ้าต้นข้าวเอ๋ย เคยเป็นข้าวเปลือก         เจ้าถูกคัดเลือก จากเมล็ดข้าว

แม่หาบจากบ้าน ไปหว่านกลางนา         ขอน้ำจากฟ้า ขอรักจากดาว

ขอนมจากดิน มาให้เจ้าดื่ม                  ขอยืมใบตอง มาป้องกันหนาว

ขอรุ้งเจ็ดสี   มาอยู่อาศัย                    ปลูกบ้านใกล้ใกล้ ดวงใจสีขาว

ค่อยเติบค่อยโต เป็นต้นเป็นกอ             นะแม่นะพ่อ จะรอหุงข้าว

จะเป็นข้าวเหนียว หรือเป็นข้าวเจ้า         ก็จะเป็นข้าว ของแผ่นดินเอย

เพลงประกอบบทเรียน ชื่อ เพลงตะล็อกต๊อกแต๊ก

ตะล็อกต๊อกแต๊ก มาทำไม มาซื้อดอกไม้ ดอกอะไร ดอกจำปี ไม่มี ดอกจำปา ไม่มา ดอกยี่โถ ไม่โต ดอกแก้ว หมดแล้ว

วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตได้อย่างไร

สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบตัว ได้แก่ คน สัตว์ และพืช สิ่งมีชีวิต จะเจริญเติบโตได้ต้องอาศัยปัจจัย ดังนี้ อากาศ อาหาร น้ำ อากาศ คือ สิ่งที่ สิ่งมีชีวิตเอาไว้ใช้ในการหายใจ จะมีก๊าซออกซิเจนในการหายใจ อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย คน ต้องการการอาหารหลัก 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ผักผลไม้ และ นม พืช มีกระบวนการสร้างอาหารที่เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พืชสามารถดูดธาตุอาหารจากในดินเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต สัตว์แต่ละชนิดมีการกินอาหารที่ต่างกัน เช่น สัตว์ที่กินพืช , สัตว์กินสัตว์ , สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ , สัตว์ที่กินซากพืชซากสัตว์

วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบอกจำนวน การอ่านและการเขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทยแทนจำนวนไม่เกิน 1,000

เนื้อหาในเรื่องนี้ประกอบด้วย : จำนวนนับ 1- 100 โดยแทนการนับด้วย แผ่นตารางสิบ และแผ่นตารางหน่วย แผ่นตารางสิบ สิบแผ่น เท่ากับ 100 หรือ แผ่นตารางร้อย นั่นเอง เช่น ตารางร้อย 5 แผ่น แสดงจำนวน 500 อ่านว่า ห้าร้อย เขียนแทนด้วยตัวเลขไทยได้คือ ๕๐๐ หรือ ตารางร้อย 10 แผ่น เท่ากับ 1,000 อ่านว่า หนึ่งพัน เขียนแทนด้วยตัวเลขไทยได้คือ ๑,๐๐๐ เป็นต้น