บทความล่าสุด

จำนวนนับ 10 - 20  ตอน จำนวน 10    จำนวนนับ 10  เป็นจำนวนที่นับต่อจาก 9  ซึ่งเราจะเริ่มนับตั้งแต่  1  2   3  4  5  6  7   8   9   10

จำนวนนับสิบ เขียนแบตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ  10

เขียนแบบตัวเลขไทย คือ  ๑๐

อ่านว่า   สิบ    

สร้างข้อสอบออนไลน์ด้วย Google Form

การสร้างข้อสอบออนไลน์ ด้วย Google Form สามารถใช้ทดสอบและวัดความรู้ของผู้เรียนได้จริง วิธีการสร้างข้อสอบมีขั้นตอนที่ง่าย ไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังเลือกธีมในการตกแต่งข้อสอบให้ข้อสอบมีความน่าสนใจอีกด้วย การใช้ Google Form ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.google.com

2. ลงชื่อเข้าใช้งานด้วยอีเมล์ ของ Gmail  เช่น    This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  และ ใส่รหัสผ่าน Password

3. คลิกจุดรวมแอปพลิเคชั่นของ Google 9 จุด

ขั้นตอนการตรวจข้อสอบ ด้วย Google Form

หลังจากที่เราได้สร้างข้อสอบออนไลน์ด้วย Google Form แล้ว ขั้นตอนน่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนการตรวจข้อสอบ ซึ่งเป็นการตรวจให้คะแนนแกผู้ทำข้อสอบออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Flubaroo ซึ่งจะทำให้เราทราบคะแนนของแต่ละคนที่เข้ามาสอบได้ อีกทั้งตัวแอปพลิเคชั่นนี้ยังสามารถบอกร้อยละของการทำแบบทดสอบ ได้อีกด้วย

ขั้นตอนการตรวจข้อสอบ ด้วย Google Form  มีดังนี้

1. เข้าไปที่ ไดร์ของฉัน

2. คลิก เลือกข้อสอบที่สร้าง

3. คลิกเลือกเมนูการตอบกลับ

4. คลิกเลือกเมนู  แล้วดูการตอบกลับ   จะแสดงชื่อ และคำตอบ ของคนที่ส่งข้อสอบ

5. เพิ่มชื่อครู แล้วพิมพ์เฉลยคำตอบในแต่ละข้อ

สร้างแบบสอบถาม ด้วย Google Form

เราสามารถสร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การสร้างจาก Google Form ที่สำคัญเรายังสามารถดูสถิติการตอบแบบสอบ หรือความนิยมในการใช้แบบสอบถามอีกด้วย 

1. เข้าระบบ G-mail ของตนเอง

2. คลิก  ไดรฟ์

3. คลิก   เพิ่มเติม

4. คลิก Google ฟอร์ม

5. การตั้งค่าฟอร์ม   เลือกแสดงแถบแสดงความคืบหน้าที่ด้านล่างของหน้าแบบฟอร์ม

 

เพลงกล่อมเด็ก  เจ้าเนื้ออ่อน

เจ้าเนื้ออ่อน  เอย   อ้อน แม่ จะ กิน นม

แม่ อุ้ม เจ้า ออก ชม กิน นม แล้ว นอน เปล เอย

ข้อคิดที่ได้

ความรักของแม่ที่มีต่อลูก เห็นได้จากเมื่อลูกร้องจะกินนม      แม่ก็อุ้มออกมาจากเปลแล้วให้กินนมจากอก    เมื่อลูกอิ่มแล้วก็นำไปนอนเปลต่อ

ตัวอย่าง   การแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหา  ตอนที่ 2

วันจันทร์ไก่ออกไข่  8  ฟอง  วันอังคารไก่ออกไข่  5 ฟอง  วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารกี่ฟอง

โจทย์บอก  

วันจันทร์ไก่ออกไข่  8  ฟอง      วันอังคารไก่ออกไข่  5  ฟอง

โจทย์ถาม  

วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารกี่ฟอง

ประโยคสัญลักษณ์   8 - 5 = ?

ตอบ = วันจันทร์ไก่ออกไข่มากกว่าวันอังคารจำนวน  3  ฟอง

เรื่อง โป๊ก เป๊ก

กระดึง เสียงดัง โป๊ก เป๊ก กระพรวน เสียงดัง กรุ๋ง กริ๋ง

ภูผา เที่ยวหา วุ่น วิ่ง ตาม เสียง กรุ๋ง กริ๋ง และเสียง โป๊ก เป๊ก

ความหมาย

1. กระดึง   หมายถึง  โลหะคล้ายกระดิ่ง  มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายใน

2. กระพรวน  หมายถึง  โลหะกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็กๆอยู่ข้างใน

3. เที่ยว หมายถึง กิริยาไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป

4. วิ่ง หมายถึง  ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน

5. เสียง  หมายถึง  สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู  สิ่งที่หูได้ยิน

ข้อคิดจากเรื่อง

 ความห่วงหาอาทร และมิตรภาพระหว่างคนสัตว์ เห็นได้จากการที่ภูผาออกตามหา ใบโบก  ใบบัว จากเสียงกระดึงและกระพรวนที่ห้อยคอไว้

( ใ ) เรียกว่า สระไอ ไม้ม้วน   ตัวอย่างการสะกดคำ 

1. ใจ  สะกดว่า  จอ - ใอ อ่านว่า ใจ

2. ใด  สะกดว่า  ดอ - ใอ อ่านว่า ใด

3. ใย  สะกดว่า  ยอ - ใอ อ่านว่า ใย

4. ใน  สะกดว่า  นอ - ใอ อ่านว่า ใน

5. ใส  สะกดว่า  สอ - ใอ อ่านว่า ใส 

ความหมายของคำ

1. ใจ  หมายถึง หัวใจ

2. ใด หมายถึง ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความไม่เจาะจง หรือเป็นคำถาม

3. ใย หมายถึง สิ่งที่เป็นเส้นเล็กๆบางๆ

4. ใน หมายถึง ตรงกันข้ามกับนอก

5. ใส  หมายถึง  แจ่ม  ไม่ขุ่น  ไม่มัว

สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์   ชั้น ป.1 เรื่อง  การแสดงวิธีทำโจทย์ปัญหา ตอนที่ 1

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา

พ่อเลี้ยงเป็ดไว้  9  ตัว  เป็ดออกไปนอกเล้า  5  ตัว  เหลือเป็ดอยู่ในเล้ากี่ตัว

หลักการแก้โจทย์ปัญหา 

1. วิเคราะห์สิ่งโจทย์บอก

2. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม

เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีหาคำตอบของการแก้โจทย์ปัญหา

สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์   ชั้น ป.1 เรื่อง  มากกว่า น้อยกว่า

ตัวอย่าง มากกว่า น้อยกว่า

เช่น กระต่ายมี 4 ตัว  เต่ามี 2 ตัว เมื่อนำมาจับคู่กันแล้ว จะเหลือกระต่ายอีก 2 ตัว

ดังนั้น  สรุปได้ว่า  กระต่ายมากกว่าเต่า 2 ตัว  เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้  4 >2  อยู่  2

 หรือ เต่าน้อยกว่ากระต่ายอยู่ 2 ตัว เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้  2<4 อยู่ 2

หรืออีกตัวอย่าง  8 มากกว่า 2 อยู่เท่าไหร่   หรือ  2  น้อยกว่า  8  อยุ่เท่าไหร่

การแจกลูกสระ โ (โอ)  ที่ไม่มีตัวสะกด

เช่น โก   สะกดว่า  กอ - โอ  อ่านว่า  โก

โอ   สะกดว่า  ออ - โอ  อ่านว่า  โอ

โบ  สะกดว่า  บอ - โอ  อ่านว่า  โบ

โป  สะกดว่า  ปอ - โอ  อ่านว่า  โป

โต  สะกดว่า  ตอ - โอ  อ่านว่า  โต