บทความล่าสุด

การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นวิธีแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ การแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีหลายวิธี   เช่น ยืนตรงเมื่อได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี , แสดงความเคารพเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินผ่าน , เคารพสิ่งแทนพระองค์ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ หรือ พระบรมสาทิสลักษณ์  ประพฤติตนเป็นคนดี  เช่น  ขยันตั้งใจเรียน และมีความสามัคคีกัน

พระบรมฉายาลักษณ์  หมายถึง  ภาพถ่าย

พระบรมสาทิสลักษณ์  หมายถึง  ภาพวาด

เอกลักษณ์ไทย  แสดงถึงความเป็นไทย สิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทย มีดังนี้

1. การแต่งกาย  ได้แก่ ชุดไทย  ปัจจุบันคนไทยจะแต่งชุดไทยในวันสำคัญต่างๆ 

2. สกุลเงิน  ประเทศไทยเรามีสกุลเงินบาท ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย

3. แผนที่ประเทศไทย  แผนที่ประเทศไทยมีลักษณะเหมือนขวาน

สระเอ ( เ )  เป็นสระเสียงยาว  จะเขียนอยู่ข้างหน้าพยัญชนะต้น การแจกลูกสระเอ มีดังนี้

1. เก  การแจกลูกสะกดคำ  กอ - เอ  อ่านว่า  เก

2. เซ  การแจกลูกสะกดคำ  ซอ - เอ  อ่านว่า  เซ

3. เป  การแจกลูกสะกดคำ  ปอ - เอ  อ่านว่า  เป

4. เฉ  การแจกลูกสะกดคำ  ฉอ - เอ  อ่านว่า  เฉ 

5. เห  การแจกลูกสะกดคำ  หอ - เอ  อ่านว่า  เห

6. เล  การแจกลูกสะกดคำ  ลอ - เอ  อ่านว่า  เล 

7. เว  การแจกลูกสะกดคำ  วอ - เอ  อ่านว่า  เว

ความหมายของคำ

1. เก  หมายถึง ไม่ตรงตามแนว ไม่เป็นระเบียบ

2. เซ  หมายถึง อาการที่ทรงตัวไม่อยู่จนต้องเอนไปข้างหน้า

3. เฉ  หมายถึง  ไม่ตรงเส้นแนวตรง

4. เห  หมายถึง  เบนไป  เขว

ตัวเรานั้น มีอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย และอวัยวะมีความสำคัญเท่ากันทุกส่วน บทเรียนวิทยาศาสตร์ ทบทวนเรื่องตัวเรา จะสรุปอวัยวะที่สำคัญนักเรียน ป.1 ควรรู้จัก มีดังนี้

1. ตา คือ อวัยวะที่ช่วยในการมองเห็น

2. ขาและเท้า คือ อวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนที่ไปตามที่เราต้องการ

3. มือและแขน คือ อวัยวะที่ช่วยในการหยิบจับสิ่งของ

4. จมูก คือ อวัยวะที่ช่วยในการหายใจและดมกลิ่น

5. หู คือ อวัยวะที่ช่วยในการฟังเสียงต่างๆ

6. ปาก คือ อวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและพูดคุย

" ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจกันยืนตรงเคารพ ธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย "

(ความหมายของประโยคนี้คือ  เพื่อให้นักเรียนทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ปกป้องประเทศไทย  เราควรภาคภูมิใจในความเป็นไทย )

ธงชาติไทย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์   ไตรแปลว่า  3  รงค์ แปลว่า สี

ลักษณะของธงชาติไทย ( ธงไตรรงค์ )  แบ่งออกเป็นห้าแถบในแนวนอน โดยแบ่งเป็น  แดง , ขาว , น้ำเงิน , ขาว , แดง 

สมบัติของศูนย์ กับการบวก

จำนวนใดที่บวกกับ 0 จะได้ผลบวกเท่ากับจำนวนนั้น เช่น 

5 + 0 = 5  ,  8 + 0 = 8  , 0 + 0 = 0

สมบัติการสลับที่ของการบวก 

คือ เมื่อเรานำจำนวน 2 จำนวน มาบวกกัน เราสามารถสลับที่กันได้ เพราะผลบวกที่ได้ จะมีค่าเท่ากันเสมอ

เช่น    3 + 5 = 8   ,   5 + 3 = 8   สรุป 3+5 = 5+3

หรือ   1 + 2 = 3  ,  2 + 1 = 3     สรุป 1+2 = 2+1

ตาคนเรามี 2 ข้าง  ตามีส่วนประกอบ คือ เปลือกตา  ขนตา  ตาขาว  ตาดำ 

ตา มีหน้าที่ เป็นอวัยวะที่ใช้ในการมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว  

การใส่แว่น เกิดจาก ความผิดปกติของตา ได้แก่

1. สายตาสั้น ทำให้มองเห็นภาพระยะไกลไม่ชัด ควรสวมแว่นเลนส์เว้า 

2. สายตายาว ทำให้มองเห็นภาพระยะใกล้ไม่ชัดเจน ควรสวมแว่นเลนส์นูน

3. สายตาเอียง  ทำให้มองเห็นภาพซ้อน ปวดตา ปวดหัว  ควรสวมแว่นเลนส์ทรงกระบอก 

เมื่อดวงตาของเราใช้งานหนัก มักจะเกิดอาการปวดเบ้าตา  หรือปวดบริเวณรอบดวงตา ตลอดจนอาการสายตาพล่า ซึ่งเราเรียกอาการเหล่านี้ว่า  ตาเพลีย  

พยัญชนะ ไทยมีทั้งหมด 44 ตัว แบ่งได้ ดังนี้

1. พยัญชนะอักษรสูง มี 11  ตัว  ได้แก่  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

2. พยัญชนะอักษรต่ำ มี  24  ตัว  ได้แก่  ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

3. พยัญชนะอักษรกลาง มี  9  ตัว  ได้แก่  ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ

สระในภาษาไทยในบทเรียนนี้ ได้แแก่  สระ เอ  ,  สระ แอ , 

เลขไทย

ช้างย่างเหยาะ  เดินเลาะริมรั้ว   ช้างป่าหกตัว   ส่ายหัวไปมา

ช้างย่างเหยาะ  เดินเลาะริมรั้ว   ช้างป่าเจ็ดตัว  แกว่งหางไปมา

ช้างย่างเหยาะ  เดินเลาะริมรั้ว   ช้างป่าแปดตัว  แกว่งงวงไปมา

ช้างย่างเหยาะ  เดินเลาะริมรั้ว   ช้างป่าเก้าตัว  แกว่งขาไปมา

ช้างย่างเหยาะ  เดินเลาะริมรั้ว   ช้างป่าสิบตัว   ย่ำเท้าไปมา

เลขไทย ได้แก่  ๐  ๑  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙

สถานที่ต่างๆในชุมชน ประเพณีและวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่  ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจ  สถานที่  สิ่งของ  ภาษาถิ่น  และวัฒนธรรมประเพณี เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความภาคภูมิใจอย่างมาก 

ภาษาถิ่น คือ ถ้อยคำภาษาที่ใช้กันเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง  ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ภาคเหนือ  มีภาษาคำเมือง  เช่น  คำว่า พูด  ภาษาถิ่นเหนือใช้คำว่า  อู้

ภาคใต้  มีภาษาถิ่นใต้  เช่น  คำว่า พูด  ภาษาถิ่นใต้ใช้คำว่า  แหลง

ภาคเหนือ  มีภาษาถิ่นอีสาน  เช่น  คำว่า พูด  ภาษาถิ่นอีสานใช้คำว่า  เว้า

ภาคกลาง มีภาษาภาคกลาง ภาคกลางมีลักษณะการพูดที่เป็นปกติโดยทั่วไป

การบวกเลข คือ การนับต่อ จากจำนวนที่มากกว่า  การบวกจำนวนสองจำนวนสามารถแสดงได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่าประโยคสัญลักษณ์ ซึ่งมีเพียงตัวเลขกับเครื่องหมายต่างๆเท่านั้น เพื่อสะดวกในการคำนวณและคิดคำตอบ

เช่น มีปลา 3 ตัว รวมกับปลา อีก 1 ตัว  เท่ากับปลา 4 ตัว

เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้   3 + 1 = 4

คำว่า  รวมกับ  เขียนแทนด้วย เครื่องหมาย  +

คำว่า  เท่ากับ  เขียนแทนด้วย  เครื่องหมาย  =

จำนวนที่ได้จากการบวก คือ ผลบวก  ดังนั้น การบวกจำนวนสองจำนวน จะมีจำนวนที่มากขึ้น

บทเรียนทบทวนเรื่องสัตว์ มีนื้อหาทบทวนความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างภายนอกของสัตว์ เกณฑ์การแบ่งกลุ่มสัตว์ออกจากกัน โดยการจัดกลุ่มสัตว์ตามลักษณะ และตามที่อยู่อาศัย เรียนรู้เรื่อง ประโยชน์จากสัตว์  ความหมายของสัตว์เลี้ยง การเลี้ยงสัตว์และการดูแลสัตว์เลี้ยง รวมถึงการเรียนรู้ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัตว์

รอบตัวเรามีสัตว์มากมายหลายชนิด สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้    โครงสร้างภายนอกของสัตว์  ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ  ตา  หู  จมูก  ปาก  ขา  และเท้า