บทความล่าสุด

เรื่อง กุ๊ก กุ๊ก ไก่

มาเล่นกันไหม เล่นเป็นลูกไก่

เดินตามแม่ไป คุ้ยเขี่ยหากิน

เธอเป็นลูกไก่ ฉันเป็นแม่ไก่

เดินตามกันไป ทำมาหากิน

กลอน กุ๊ก กุ๊ก ไก่

กุ๊ก กุ๊ก ไก่ เลี้ยง ลูก จน ใหญ่

ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบเจี๊ยบ

แม่ก็เรียกไปคุ้ยดินทำมาหากิน ตามประสาไก่เอย

เนื้อเรื่อง  ลากันไปโรงเรียน

ภูผา เดินหน้า ช้างน้อย ตามหลัง         น่ารัก น่าชัง จะไปโรงเรียน

ช้าง หิ้ว ปิ่นโต กระเป๋า เครื่องเขียน มา ถึง โรงเรียน โบกมือ ลา กัน

ความหมายของคำ

1. โรงเรียน หมายถึง สถานที่ศึกษา เล่าเรียน

2. หิ้ว หมายถึง จับหรือถือให้ห้อยถ่วงลงมา

3. ปิ่นโต  หมายถึง  ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ช้อนกันเป็นชั้นๆ มีหูหิ้วได้

4. กระเป๋า หมายถึง เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ

5. โบกมือ หมายถึง แกว่งมือไปมาทำสัญญาณ

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

การทักทายและการเรียนรู้มิตรภาพระหว่างคนกับสัตว์  เห็นได้จากการที่ใบโบกกับใบบัว  เดินไปส่งภูผาที่โรงเรียน ใบโบกหิ้วปิ่นโต ใบบัวหิ้วกระเป๋า

คำที่มากกว่า 1 พยางค์  ในบทเรียนนี้ ได้แก่

1. ไก่แจ้   สะกดว่า  กอ - ไอ - ไก - ไม้เอก = ไก่  /  จอ - แอ - แจ - ไม้โท = แจ้  อ่านว่า ไก่แจ้

2. ป่าไม้   สะกดว่า ปอ - อา - ปา - ไม้เอก = ป่า  /  มอ - ไอ - ไม - ไม้โท = ไม้  อ่านว่า ป่าไม้

3. ใส่ยา  สะกดว่า สอ - ใอ - ใส - ไม้เอก = ใส่  /  ยอ - อา - ยา = ยา  อ่านว่า ใส่ยา

4. ผ้าถุง  สะกดว่า ผอ - อา - ผา - ไม้โท = ผ้า  /  ถอ - อุ - งอ = ถุง  อ่านว่า ผ้าถุง

5. สาคู  สะกดว่า สอ - อา = สา / คอ - อู = คู  อ่านว่า  สาคู

6. ถูบ้าน  สะกดว่า  ถอ - อู = ถู / บอ - อา - นอ - บาน - ไม้โท = บ้าน  อ่านว่า ถูบ้าน

ความหมายของคำ

1. ไก่แจ้  หมายความว่า  ไก่บ้านพันธุ์พื้นเมืองของไทย

2. ป่าไม้ หมายความว่า ที่ที่มีต้นไม้ต่างๆ ขึ้นมา

3. ใส่ยา หมายความว่า เอายาทาหรือโรยที่แผล

4. ผ้าถุง หมายความว่า ผ้านุ่งผู้หญิง ทำจากผ้าที่เย็บด้านข้างให้ติดกัน

5. สาคู หมายความว่า ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง

6. ถูบ้าน หมายความว่า เช็ดไปมาให้สะอาด

ตัวอย่างคำที่เรียนในบทเรียน 

1. ลือ  สะกดว่า  ลอ - อือ อ่านว่า ลือ

2. มือ สะกดว่า  มอ - อือ อ่านว่า มือ

3. ถือ สะกดว่า  ถอ - อือ อ่านว่า ถือ

4. ฮือ สะกดว่า  ฮอ - อือ อ่านว่า ฮือ

5. คือ สะกดว่า  คอ - อือ อ่านว่า คือ

ความหมายของคำ

1. ลือ หมายถึง พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน

2. ฮือ หมายถึง อาการลุกฮืออย่างรวดเร็ว เช่น ไฟลุกฮือ

3. มือ หมายถึง อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขน

4. ถือ หมายถึง จับยึดไว้ในมือ

5. คือ หมายถึง เท่ากับ

ในบทเรียนนี้ เราจะมาเรียนรู้พยัญชนะอักษรสูง  ได้แก่  ฉ  ข  ฃ   ฐ   ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห  ซึ่งมีทั้งหมด 11 ตัว 

และเรียนรู้  สระอือ  เช่นคำว่า  มือ  หนังสือ  

วรรณยุกต์ที่เราจะเรียนรู้   ได้แก่ ไม้เอก ไม้โท   เช่นคำว่า  เข่า   ต่อย  เสื้อ  แป้ง เป็นต้น


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1