บทความล่าสุด

สื่อการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษาฯ ป.1 เรื่อง  การทำงานอย่างสุจริต

อาชีพสุจริต คือ การทำงานที่ถูกต้อง  ไม่เดือดร้อนผู้อื่น หรือ การประกอบอาชีพที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง ผู้อื่น และไม่ผิดต่อหลักกฏหมายบ้านเมือง และประเพณีในสังคม เช่น อาชีพเก็บขยะ อาชีพกวาดถนน อาชีพหมอ  เป็นต้น

การทำงาน คือ การนำความรู้ไปประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้ อาชีพทำให้เรามีรายได้มาดำรงชีวิต

สื่อการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ ป.1 เรื่อง  ดินมีลักษณะอย่างไร 1

สีของดิน เป็นสมบัติชนิดหนึ่งของดิน ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องที่ และชนิดของดิน สีดำของดินที่เห็น เกิดจากการที่ดิน มีซากพืชซากสัตว์ หรืออินทรีย์วัตถุสูง ทำให้ดินมีความสมบรูณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก  ดินจะมีสี และเนื้อดินต่างกันออกไปตามชนิดและวัตถุต้นกำเนิดของดิน 

ดินมีองค์ปรกอบ ดังนี้  เศษหิน 45 ส่วน ซากพืชซากสัตว์ 5 ส่วน น้ำ 25 ส่วน และอากาศ 25 ส่วน

1. เศษหินที่พบในดิน ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อนินทรีย์วัตถุ เศษหิน เกิดจากการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ  เศษหินจัดเป็นองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในดิน

2. ซากพืชซากสัตว์  สัตว์บางชนิดใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากสัตว์ และพืชใช้ดินเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อพืชเน่าเปื่อย หรือเหี่ยวเฉานั้นตายลง ก็จะกลายเป็นซากพืช

ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมในดิน ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า อินทรีย์วัตถุ  นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน หรือใช้ดินเป็นแหล่งอาหาร เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จุลินทรียน์ แบคทีเรียต่างๆ 

แมลงตัวเล็ก เป็นต้น

3. น้ำที่อยู่ในดิน เกิดจากฝนที่ตกลงมาแล้วไหลซึมเข้าสู่ดิน  น้ำเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในดินเท่ากับอากาศ และมีมาก รองจากเศษหิน

4. อากาศที่พบในดิน  เป็นแก๊สที่แทรกอยู่ตามเม็ดดิน ส่งผลต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน และการงอกของเมล็ดพืช อากาศเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในดินเท่ากับน้ำ และมีมากรองจากเศษหิน

ปัจจุบันทรัพยากรส่วนใหญ่ที่เรามีใช้อยู่ เป็นทรัพยกรที่ใช้แล้วหมดไป ทรัพยากรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สิ่งของที่ใช้ส่วนตัวและสิ่งของที่ใช้ส่วนรวม

สิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป คือ สิ่งที่ใช้แล้วก็จะสูญสิ้นไป ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำๆได้

วิธีจะช่วยรักษาสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อย่างประหยัดและคุ้มค่า เช่น

1.ซ่อมแซม เสื้อผ้าได้เอง

2.ปิดไฟ ปิดพัดลม เมื่อเลิกใช้

3.ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้

เรียนรู้เรื่องช้างอาบน้ำ ด้วยบทร้อยกรอง โดยมีเนื้อหาบทร้อยกรอง ดังนี้

ชวนช้างไปอาบน้ำ  แสนชื่นช่ำน้ำเย็นใส

เพื่อนเด็กอาบน้ำให้  ถูที่หลัง ขา และหาง

เพื่อนช้างพ่นน้ำใส่  อาบน้ำให้เพื่อนเด็กบ้าง

อาบพลาง หัวเราะพลาง  คนรักช้าง ช้างรักคน

บทเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับเพิ่มทีละ 1 ทีละ 2  เป็นการเรียนรู้เนื้อหาในบทเรียน โดยแบ่งเป็นสองตอน คือ 

การนับเพิ่มทีละ 1  เช่น นก 5 ตัว เพิ่มขึ้นอีก 1 เป็นนก 6 ตัว 

การนับเพิ่มทีละ 1  ไม่จำเป็นต้องเริ่มนับจาก 1 เท่านั้น  เช่น 48  , 49  ,  50  , 51 ,  52 

การนับเพิ่ม ทีละ 2  เช่น นก 5 ตัว  เพิ่มขึ้นอีก 2 ตัว เป็น 7 ตัว  2 , 4 , 6 , 8 และ  3 , 5 , 9  เป็นการนับเพิ่มที่ละ 2

เสียง โป๊ก เป๊ก กรุ๋ง กริ๋ง ดังที่หลังบ้าน          ภูผา  ชะโงก ดู ที่ หน้าต่าง ใบโบก ใบบัว กำลัง ทำอะไร

อ๋อ ใบโบก ใบบัว กำลัง กินสับปะรด กองโต    ช้าง น้อย อิ่ม แล้ว ภูผา พา เพื่อนช้าง ไป อาบน้ำ

ทั้ง เด็ก ทั้ง ช้าง วิ่ง แข่ง กัน ไป ที่ ลำธาร      ใบโบก ใบบัว คู้เข่า ลง แช่ ตัว ในลำธาร

ใบโบก ใบบัว ใช้งวง พ่น  น้ำ ใส่ ตัว              ภูผา  ใช้  ผ้า  ถูหลัง  ถูขา   ถูหู

ทำความสะอาด ให้ ใบโบก ใบบัว                  ภูผา อาบน้ำ ให้ เพื่อน ช้าง 

ลูกช้าง พ่น น้ำ ใส่ ภูผา                              ใบโบก ใบบัว อาบน้ำ ให้เพื่อน เด็ก

เสียงเด็กหัวเราะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า                          เสียงช้างร้องเอิ๊ก เอิ๊ก แอ๊ก แอ๊ก ดังลั่น ลำธาร

ทั้ง  เด็ก  ทั้ง  ช้าง                                    เพื่อน รัก เพื่อน เล่น  ต่าง มี ความสุข

ทรัพยากร หมายถึง สิ่งของต่างๆ ที่มีค่าและมีประโยชน์ ต่อมนุษย์  

สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันบางอย่างเมื่อใช้แล้วก็หมดไป แต่สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างสามารถใช้ร่วมกับผู้อื่น ได้

สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประวัน มีทั้งของใช้ส่วนตัว และใช้ส่วนรวม 

สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว  เช่น   ดินสอ  แก้วน้ำ  แปรงฟัน

สิ่งของเครื่องใช้ส่วนรวม  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้   ไม้กวาด

          สิ่งของเครื่องใช้ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตของเรา บางอย่างใช้แล้วก็หมดไป ดังนั้นนักเรียนควรใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยกันรักษาทรัพยากรบนโลกนี้ให้มีใช้ได้ยาวนาน

การเรียงลำดับจำนวนมี 2 รูปแบบ คือ การเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และ เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก

       เทคนิคการเรียงลำดับจำนวนจากน้อยไปหามาก  คือการเรียงลำดับจากจำนวนที่น้อยที่สุด จนไปถึงจำนวนที่มากที่สุด หลักการเรียงลำดับ ให้ดูหลักจำนวนของตัวเลข  เช่น   45  35  25  จะเห็นว่า หลักหน่วย คือ เลข 5 มีค่าเท่ากัน จากนั้นให้มาดู หลักสิบ ซึ่งได้แก่  40  20  30   ซึ่ง เลขที่มีค่าน้อยที่สุดคือ   20   30  และ 40 เรียงตามลำดับ  

ดังนั้นตัวเลข  45  35  25  เมื่อเรียงลำดับจากน้อยไปหามากคือ  25  35  45

เทคนิคการเรียงลำดับจากจำนวนจากมากไปหาน้อย  เช่น     62   74   86   จากตัวอย่าง ค่าของตัวเลขหลักหน่วยไม่เท่ากัน เราจะต้องมาดูตัวเลขหลักสิบ ตัวเลขหลักสิบที่มีค่ามากที่สุด คือ

86  ลำดับถัดไปคือ 74  และ  62 ตามลำดับ

     ในดินมีอะไรบ้างตอนที่ 2  เป็นการเรียนรู้ว่า ในดินมีน้ำหรือไม่ โดยการทดลอง นำดินใส่ในถุงพลาสติก 2 ถุง แล้วนำถุงที่มีดินใบหนึ่งไปตากแดด จะพบว่า ถุงที่ตากแดดจะมีน้ำเกาะอยู่ที่ถุง แสดงว่า ในดินมีน้ำ เพราะน้ำในดินได้รับความร้อน แล้วจะระเหยออกมาเป็นไอน้ำเกาะข้างๆถุง 

      น้ำฝนบางส่วนที่ซึมผ่านลงสู่ดิน และถูกดูดซับไว้ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่เล็กมาก เรียกว่าน้ำในดิน น้ำในดินช่วยละลายธาตุต่างๆในดิน เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของพืช

      ในดินมีอากาศ หรือไม่ จากการทดลอง เมื่อใส่ดินลงไปในแก้วน้ำแล้วสังเกตว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีฟองอากาศลอยขึ้นมา แสดงว่าในดินมีอากาศ เพราะตักดินใส่ในแก้ว จะเห็นฟองอากาศลอยขึ้นมา

สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย  เรื่อง การสะกดคำที่มากกว่า 1 พยางค์  การแจกลูกสะกดคำ สระ อะ , สระอิ , สระอึ , สระอุ ที่เราได้เรียนผ่านมาแล้ว ในบทเรียนนี้เราจะสะกดคำที่มีมากกว่า 1 พยางค์ คือการสะกดคำที่ประสมด้วยสระต่างๆ เช่น  มะลิ มีการการประสมคำระหว่าง สระอะ และ สระอิ  และมีหลักการสะกดคำดังนี้ 

มะลิ  อ่านว่า  มอ - อะ -มะ - ลอ - อิ - ลิ  อ่านว่า มะลิ

กะทิ  อ่านว่า  กอ - อะ -กะ - ทอ - อิ - ทิ  อ่านว่า กะทิ