บทความล่าสุด

ตัวเรานั้น มีอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย และอวัยวะมีความสำคัญเท่ากันทุกส่วน บทเรียนวิทยาศาสตร์ ทบทวนเรื่องตัวเรา จะสรุปอวัยวะที่สำคัญนักเรียน ป.1 ควรรู้จัก มีดังนี้

1. ตา คือ อวัยวะที่ช่วยในการมองเห็น

2. ขาและเท้า คือ อวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนที่ไปตามที่เราต้องการ

3. มือและแขน คือ อวัยวะที่ช่วยในการหยิบจับสิ่งของ

4. จมูก คือ อวัยวะที่ช่วยในการหายใจและดมกลิ่น

5. หู คือ อวัยวะที่ช่วยในการฟังเสียงต่างๆ

6. ปาก คือ อวัยวะที่ช่วยในการกินอาหารและพูดคุย

ตาคนเรามี 2 ข้าง  ตามีส่วนประกอบ คือ เปลือกตา  ขนตา  ตาขาว  ตาดำ 

ตา มีหน้าที่ เป็นอวัยวะที่ใช้ในการมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว  

การใส่แว่น เกิดจาก ความผิดปกติของตา ได้แก่

1. สายตาสั้น ทำให้มองเห็นภาพระยะไกลไม่ชัด ควรสวมแว่นเลนส์เว้า 

2. สายตายาว ทำให้มองเห็นภาพระยะใกล้ไม่ชัดเจน ควรสวมแว่นเลนส์นูน

3. สายตาเอียง  ทำให้มองเห็นภาพซ้อน ปวดตา ปวดหัว  ควรสวมแว่นเลนส์ทรงกระบอก 

เมื่อดวงตาของเราใช้งานหนัก มักจะเกิดอาการปวดเบ้าตา  หรือปวดบริเวณรอบดวงตา ตลอดจนอาการสายตาพล่า ซึ่งเราเรียกอาการเหล่านี้ว่า  ตาเพลีย  

บทเรียนทบทวนเรื่องสัตว์ มีนื้อหาทบทวนความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างภายนอกของสัตว์ เกณฑ์การแบ่งกลุ่มสัตว์ออกจากกัน โดยการจัดกลุ่มสัตว์ตามลักษณะ และตามที่อยู่อาศัย เรียนรู้เรื่อง ประโยชน์จากสัตว์  ความหมายของสัตว์เลี้ยง การเลี้ยงสัตว์และการดูแลสัตว์เลี้ยง รวมถึงการเรียนรู้ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัตว์

รอบตัวเรามีสัตว์มากมายหลายชนิด สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้    โครงสร้างภายนอกของสัตว์  ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ คือ  ตา  หู  จมูก  ปาก  ขา  และเท้า   

ประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์  เป็นเหตุการณ์ที่เราพบเจอเกี่ยวกับสัตว์ เช่น เจอสัตว์ถูกทิ้ง  ช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ  หรือเจอสัตว์ที่กำลังจะเข้ามาทำร้าย  

การเจอสุนัขวิ่งไล่เราไม่ควรวิ่งหนี เพราะสุนัขจะวิ่งไล่ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์ของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป บางคนเจอประสบการณ์ที่ดี บางคนเจอประสบการณ์ที่น่ากลัว

เราควรมีเมตตาต่อสัตว์ หากพบเจอสัตว์ดุร้ายไม่ควรเข้าใกล้ ไม่ยุ่งกับสัตว์ตัวนั้น เพียงเท่านี้เราก็จะปลอดภัยจากสัตว์ที่ดุร้าย และน่ากลัว

การดูแลเกี่ยวกับสัตว์ คือการเลี้ยงดูสัตว์ให้มีสุขภาพดี เพื่ออายุที่ยืนยาว

วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยง ได้แก่

1. การรักษาความสะอาด การดูแลรักษาความสะอาดให้สัตว์เลี้ยง ต้องดูแลรักษาบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์ รักษาความสะอาดร่างกายของสัตว์  เพื่อไม่ให้สัตว์เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หากพบว่าสัตว์มีอาการผิดปกติควรนำไปตรวจกับสัตวแพทย์

2. การให้อาหารที่เหมาะสมและพอเพียง  จะทำให้สัตว์มีร่างกายแข็งแรง

3. การให้ความรักและเอาใจใส่ดูแลสัตว์เลี้ยง เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับผู้เลี้ยงสัตว์ เพราะเราจะเกิดความรักความผูกพันกับสัตว์เลี้ยง ทำให้รู้ว่าสัตว์เลี้ยงเป็นอะไร ต้องการอะไร เป็นต้น

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัตว์ เช่นการให้อาหาร หากเราไม่ดูแลเรื่องการให้อาหารสัตวื อาจจะทำให้สัตว์หิว หรือได้รับสารอาหารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้   สัตว์บางชนิดเป็นสัตว์ดุร่ายไม่ควรเข้าใกล้ เช่น งู เสือ จรเข้  รวมถึง สุนัขจรจัด เพราะสุนัขจรจัด อาจมีโรคพิษสุนัขบ้า 

โรคพิษสุนัขบ้า  หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู  โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัส เรย์บี โรคพิษสุนัขบ้าป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน   โรคพิษสุนัขบ้า สังเกตุได้จาก สุนัขจะมีน้ำลายไหล  ตัวสั่นผอม ดุร้าย กัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสัตว์

การจำแนกสัตว์ตามประโยชน์ 

1. ใช้เป็นอาหาร 

ไก่  ได้ประโยชน์  คือ  เนื้อไก่  ไข่ไก่

หมู  ได้ประโยชน์ คือ เนื้อหมู

ปลา ได้ประโยชน์ คือ เนื้อปลา

2. เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนมนุษย์      เช่น  แมว   กระต่าย   สุนัข

3. เลี้ยงไว้ใช้งาน

 - ช้าง  ใช้ลากซุง

 - ควาย  ใช้ไถนา

 - ม้า ใช้เป็นพาหนะ

 - ลิง ใช้เก็บลูกมะพร้าว

การจำแนกสัตว์ตามที่อยู่อาศัย แบ่งได้  3  แบบ 

1. สัตว์บก

2. สัตว์น้ำ

3. สัตว์ที่อาศัยได้ทั้งในน้ำและบนบก

สัตว์บก คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก   เช่น  นก วัว  ม้า ช้าง ควาย  ผีเสื้อ  ผึ้ง  หนอน เป็ด  ไก่   ไส้เดือน

สัตว์น้ำ คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ  เช่น  ปลา  ปู  กุ้ง  หอย  ม้าน้ำ  โลมา  หมึก  วาฬ  

สัตว์ที่อาศัยได้ทั้งในน้ำและบนบก  เช่น  กบ  เขียด  อึ่งอ่าง  จระเข้  ตะโขง  เต่า  ตะพาบ 

การจัดกลุ่มสัตว์  สามารถจัดกลุ่มง่ายๆ ตามลักษณะของสัตว์และที่อยู่อาศัย ซึ่งลักษณะที่เราสามารถนำมาใช้จัดกลุ่มสัตว์ได้ เช่น  สัตว์ที่มีขา  สัตว์ที่มีปีก  สัตว์ที่มีเขา สัตว์ที่มีครีบและหาง

ช้าง    ช้างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ขนาดใหญ่ มีสี่ขา  มีหาง ขนตามลลำตัวสีเทา  มีจมูกคือ งวง  ใช้สำหรับหายใจ หยิบของเข้าปาก 

ปลานิล   มีรูปร่างคล้ายกับปลาหมอเทศ ต่างกันที่ ปลานิลมีจุดสีขาวสลับกัน  ใช้ครีบและหาง ในการเคลื่อนที่ ปลานิลเป็นสัตว์น้ำจืด  กิน ไรน้ำ  ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย  เป็นอาหาร

ปลานิลสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารของมนุษย์ได้อีกด้วย 

สัตว์แต่ละชนิด ใช้อวัยะในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ที่มีขาจะใช้ขาในการเคลื่อนที่ สัตว์ที่ไม่มีขาจะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  สัตว์ที่มีปีก จะใช้ปีกในการเคลื่อนที่  เป็นต้น

ตัวอย่าง 

สัตว์ที่ไม่มีขา จะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  เช่น หอยทาก ปลิง ไส้เดือนดิน 

สัตว์มีขา จะใช้ขาในการเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด เช่น ช้าง  ม้า เสือ สิงโต ใช้ขาเดินหรือวิ่ง   กบ จิ้งโจ้  ใช้ขาในการกระโดด เป็นต้น

สัตว์ปีก  ใช้ปีกช่วยบินในการเคลื่อนที่   เช่น ผีเสื้อ  แมลงปอ  นก  

สัตว์ที่มีครีบ และหาง   ใช้ครีบและหางว่ายน้ำช่วยในการเคลื่อนที่  เช่น  ปลาตะเพียน  ปลาหมอสี  ปลาการ์ตูน  เป็นต้น 


สื่อการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1