บทความล่าสุด

ใบ เป็นส่วนประกอบของพืช มีหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเป็นอาหาร ทำหน้าที่หายใจ และคายน้ำ

ส่วนประกอบของใบ มีดังนี้

1. แผ่นใบ

2. ก้านใบ 

3. หูใบ

 

รูปร่างของใบ และลักษณะของขอบใบมีความแตกต่างกัน 

1. รูปลิ่มแคบ  ใบค่อนข้างสั้น สอบจากโคนไปส่วนปลาย เช่น ใบชบา

2. รูปเข็ม  มีลักษณะใบเล็กแหลมยาวคล้ายเข็ม  เช่น  ใบไผ่  ใบมะพร้าว

3. รูปแถบ ใบยาวและแคบ  ขอบใบเกือบขนานกัน   เช่น  ใบผักบุ้ง

4. รูปใบหอก  ใบมีรูปร่างคล้ายใบหอก เช่น ใบลีลาวดี

5. รูปใบหอกกลับ  รูปร่างคล้ายใบหอกหัวกลับ  เช่น  ใบยางพารา

6. ใบมีรูปร่างคล้่ยไข่กลับ  ฐานใบเรียวเล็กกว่าปลายใบ  เช่น  ใบหูกวาง

7. รูปวงกลม  ใบมีรูปร่างคล้ายวงกลม  เช่น ใบบัว

8. รูปหัวใจ  ใบมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ  เช่น ใบพลู

9. รูปเคียว  ใบมีรูปร่างโค้งงอคล้ายเคียว  หรือ พระจันทร์เสี้ยว  เช่น  ใบเตย

10. รูปช้อน  ใบมีรูปร่างคล้ายช้อน  ส่วนโคนใบแคบเรียว  ส่วนปลายป้านออก  เช่น  ใบชวนชม

ใบพืชมีลักษณะแบนเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว  ในการรับแสงและระบายความร้อน

ลักษณะของใบพืช

1. ใบเปลี่ยนเป็นมือเกาะ  เพื่อยึดหรือพยุงลำต้นให้ไต่สูงขึ้น   เช่น  ตำลึง   มะระ  ถั่นลันเตา 

2. ใบเปลี่ยนเป็นหนาม  เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลง หรือศัตรูที่มากินและลดการคายน้ำ   เช่น กระบองเพชร

3. ใบสะสมอาหาร เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะ สำหรับเก็บสะสมอาหารหรือน้ำ เช่น  ในว่าหางจระเข้  กลีบกระเทียม 

4. ใบประดับหรือใบดอก มีสีสันสวยงามเพื่อใช้ในการบ่อแมลงให้มาช่วยในการผสมเกสร  เช่น เฟื่องฟ้า  หน้าวัว

5. ใบเปลี่ยนเป็นกับดักแมลง ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยแมลง  เช่น ต้นหม้อข้างหมอแกงลิง    กาบหอยแครง  หยาดน้ำค้าง

6. ใบสืบพันธุ์  เป็นใบที่ทำหน้าที่ในการแพร่พันธุ์  เช่น ใบของต้นตายใบเป็น

 


สื่อการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1