บทความล่าสุด

ช้างสามารถฟังภาษาคนเข้าใจ  เพราะช้างเป็นสัตว์  สัตว์และเจ้าของจะต้องมีความรักความผูกพันกัน  ดังนั้นเมื่อเจ้าของพูด  สัตว์ก็จะฟังและเข้าใจ

ช้างก็มีหัวใจ

พูดเพราะ  ช้างถูกใจ     จะว่าง่าย   ไม่ดื้อดึง

ถ้าดุ จะมึนตึง              เสียงโกรธขึ้ง  จะดื้อใส่

ถึงแม้  จะเป็นช้าง         รู้ไว้บ้าง   มีหัวใจ

ใจใคร   ก็ใจใคร           พูดเพราะไว้   ได้ไมตรี

คำศัพท์จากเรื่อง

1. พูดเพราะ   หมายถึง   เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำที่อ่อนหวานน่าฟัง

2. ถูกใจ  หมายถึง  ชอบ  ต้องใจ  ถูกอกถูกใจ

3. ดื้อ  หมายถึง  ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม

4. โกรธ   หมายถึง  ขุ่นเคืองใจอย่างแรง  ไม่พอใจอย่างรุนแรง

5. ไมตรี  หมายถึง  ความเป็นเพื่อน  ความหวังดีต่อกัน

ข้อคิดจากเรื่อง   การพูดจาไพเราะเป็นสิ่งที่ดี  เพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี  แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงก็ยังต้องการให้เจ้าของพูดจาด้วยดีๆ

ในบทเรียนนี้จะเป็นการนำคำมาแต่งประโยค เพื่อผู้เรียนจะได้รู้จักการแต่งประโยค ซึ่งคำที่นำมาแต่งประโยคมีดังนี้

1.ลูบ หมายถึง เอาฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปหรือมา

2.แย่ง หมายถึง ยื้อเอาไป

3.โกรธ หมายถึง ขุ่นเคืองใจอย่างแรง ไม่พอใจอย่างรุนแรง

4.ประตู หมายถึง ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือน

5.ฟุตบอล หมายถึง ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่างๆ ภายในมีลมอัด

6.ตลิ่ง หมายถึง ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมแม่น้ำลำคลอง

การนำคำมาแต่งประโยค มีดังนี้

1. ลูบ แต่งประโยคได้ดังนี้ ครวญช้าง เข้าไป ลูบตัว พลายทะแนะ

2.แย่ง แต่งประโยคได้ดังนี้ เด็กๆ แย่ง กันตอบคำถาม ครูกานดา

3.โกรธ แต่งประโยคได้ดังนี้ พลายทะแนะ โกรธครวญช้างที่พูดไม่เพราะ

4.ประตู แต่งประโยคได้ดังนี้ พ่อเปิดประตูบ้าน

5.ฟุตบอล แต่งประโยคได้ดังนี้ ภัทรเตะฟุตบอลกับเพื่อนที่สนามหน้าโรงเรียน

6.ตลิ่ง แต่งประโยคได้ดังนี้ พ่อตกปลาที่ริมตลิ่ง

 

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์  มีเนื้อหาตัวอย่างดังนี้

1. เอะอะ  หมายถึง อึกทึก ทำเสียงดังโวยวาย มีการแจกลูก สะกดคำดังนี้  เอะอะ  มาจาก  อ ประสมกับ สระ เอะ อ่านว่า เอะ  คำว่า  อะ  มาจาก อ ประสมกับ  สระ อะ  อ่านว่า  อะ

2. ในน้ำ   สะกดว่า   นอ - ใอ  อ่านว่า  ใน  /  นอ - อำ -  นำ - ไม้โท อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  ในน้ำ

3. แม่น้ำ  สะกดว่า   มอ - แอ - แม - ไม้เอก  อ่านว่า  แม่  /   นอ - อำ - นำ - ไม้โท  อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  แม่น้ำ

4. แนะนำ  สะกดว่า  นอ - แอะ  อ่านว่า แนะ  /  นอ - อำ อ่านว่า นำ     รวมเป็น  แนะนำ

5. เช้าค่ำ   สะกดว่า  ชอ - เอา - เชา - ไม้โท  อ่านว่า เช้า  / คอ - อำ - คำ - ไม้โท  อ่านว่า  ค่ำ  รวมเป็น  เช้าคำ

ในบทเรียนนี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนคำสะกดที่มีสระดังนี้ 

1. สระอำ   มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  กำ   คำว่า  กำ  มาจาก  ก ประสมกับสระอำ  สะกดว่า  กอ - อำ = กำ

2. สระเอา  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เกา   คำว่า  เกา  มาจาก  ก ประสมกับสระเอา  สะกดว่า  กอ - เอา = เกา

3. สระเอะ  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เตะ   คำว่า  เตะ  มาจาก  ต ประสมกับสระเอะ  สะกดว่า  ตอ - เอะ = เตะ

4. สระแอะ มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  แกะ   คำว่า  แกะ  มาจาก  ก ประสมกับสระแอะ  สะกดว่า  กอ - แอะ = แกะ

คำศัพท์ น่ารู้  

1. กำ  หมายถึง จับของอยู่ในมือ

2. ขำ  หมายถึง อาการที่เราหัวเราะชอบใจ

3. เกา  หมายถึง การเอาเล็บไปถูบริเวณที่รู้สึกคัน

4. เตา  หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร ใช้ฟืนหรือถ่านเป็นตัวให้ความร้อน

5. เละ  หมายถึง เปื่อย หรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เตะ  หมายถึง วัด หรือเวี่ยงด้วยเท้า

7. แกะ หมายถึง ชื่อสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะ ขนเป็นปุยหา ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม

8. แตะ หมายถึง ถูกต้องแต่เพียงเบาๆ หรือนิดหน่อย

สื่อการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย ชั้นป.1 เรื่อง อักษรต่ำ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายไม้ยมก

อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่ ค , ฅ , ฆ , ง , ช , ซ , ฌ , ญ , ฑ , ฒ , ณ , ท , ธ , น , พ , ฟ , ภ , ม , ย , ร , ล , ว , ฬ และ ฮ

สระในบทเรียนนี้ เราจะเรียนรู้ สระ อำ  สระ เอะ  สระแอะ และสระ เอา โดยมีคำศัพท์ที่ประสมด้วยสระ ดังนี้

1. ทำ  หมายถึง กระทำ ประกอบขึ้น ผลิตขึ้น สร้างขึ้น ก่อขึ้น

2. รำ   หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหว โดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับ จังหวะเพลงร้อง หรือ เพลงดนตรี

3. เงา  หมายถึง ส่วนที่มืด เพราะมีวัตถุบังแสงทำให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น

4. เทา  หมายถึง หม่นๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา

5. เละ  หมายถึง   เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เกะกะ   หมายถึง   กีดขวาง  ไม่เป็นระเบียบ

7. แซะ  หมายถึง  เอาเครื่องแบนๆ เช่นตะหลิว หรือเสียมแทงเบาๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม  

8. แทะ    หมายถึง   เอาฟันหน้ากัดให้หลุดออกมาทีละน้อยๆ


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1