บทความล่าสุด

เพลงจำนวนนับ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ..........  หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

จำนวนนับ  จำให้ดี   เรามานับ  หนึ่งถึงสิบ ลัน ลั่น ล๊า ลองนับดู  ........  มา เรา มา นับ พร้อม พร้อม กัน 

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า .......... หก เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ

การนับเวลาแบบสุริยคติ  เป็นการนับเวลาแบบสากล  โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก

การนับเวลาแบบจันทรคติ  เป็นการนับเวลาแบบไทย  โดยใช้ดวงจันทร์เป็นหลัก  ในการกำหนดข้างขึ้น  ข้างแรม

ปฏิทินบอกอะไรเราบ้าง

1. บอกวันทั้ง 7 วัน  ได้แก่ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

2. บอกวันที่ กับเดือน  และปี พ.ศ.

3. บอกข้างขึ้น และข้างแรม 

4. บอกวันสำคัญต่างๆ

5. ปฏิทินใช้เป็นเครื่องเตือนความจำ และบันทึกกำหนดการนัดหมายต่างๆ

สัตว์แต่ละชนิด ใช้อวัยะในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ที่มีขาจะใช้ขาในการเคลื่อนที่ สัตว์ที่ไม่มีขาจะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  สัตว์ที่มีปีก จะใช้ปีกในการเคลื่อนที่  เป็นต้น

ตัวอย่าง 

สัตว์ที่ไม่มีขา จะใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนที่  เช่น หอยทาก ปลิง ไส้เดือนดิน 

สัตว์มีขา จะใช้ขาในการเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด เช่น ช้าง  ม้า เสือ สิงโต ใช้ขาเดินหรือวิ่ง   กบ จิ้งโจ้  ใช้ขาในการกระโดด เป็นต้น

สัตว์ปีก  ใช้ปีกช่วยบินในการเคลื่อนที่   เช่น ผีเสื้อ  แมลงปอ  นก  

สัตว์ที่มีครีบ และหาง   ใช้ครีบและหางว่ายน้ำช่วยในการเคลื่อนที่  เช่น  ปลาตะเพียน  ปลาหมอสี  ปลาการ์ตูน  เป็นต้น 

เรื่องโยกมาโยกไป .... ใบโบกใบบัว โยกตัว ไปมา โยกหัว โยกขา โยกมา โยกไป

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

1. ตัว  หมายถึง คำใช้เรียกแทนสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น  ช้าง 2 ตัว

2. หัว  หมายถึง ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์

3. ขา  หมายถึง  อวัยวะตั้งแต่สะโพกถึงข้อเท้า  สำหรับพยุงตัวและเดิน 

4. โยก หมายถึง เคลื่อนไปมาอยู่กับที่แต่ยังไม่หลุด

5. มา หมายถึง เคลื่อนตัวออกไปหาผู้พูด

6. ไป  หมายถึง  เคลื่อนออกจากที่เดิม

การจำแนกสัตว์ตามโครงสร้าง  มีดังนี้

1. ขนาด   2. ขา   3. เขา   4. หาง   5. ขน

ขนาดของสัตว์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง  แรด  วาฬ

2. สัตว์ที่มีขนาดเล็ก  เช่น  ปลา  กระรอก  กระต่าย

3.สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก  เช่น  มด  เห็บ  ยุง

การนับเวลาแบบสุริยคติ    โดยยึดดวงอาทิตย์เป็นหลัก เป็นการนับเวลาแบบสากล 

การนับเวลาตามแบบจันทรคติ โดยยึดดวงจันทร์เป็นหลัก  เป็นการนับเวลาแบบไทย

วันแบบจันทรคติ  เรียกว่า วันข้างขึ้น  วันข้างแรม  หรือ ปรากฎการณ์ข้างขึ้น ข้างแรม 

จำนวนนับ 5  เป็นจำนวนนับที่ต่อจาก  4  เมื่อเรานับจำนวนจะได้ว่า 1 , 2 , 3 , 4 , 5    อ่านว่า  หนึ่ง    สอง  สาม  สี่  ห้า    

จำนวนห้า  เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ 5

และสามารถเขียนเป็นตัวเลขแบบไทย ได้แก่ ๕

จำนวนศูนย์  ไม่ใช่จำนวนนับ

เขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก  คือ 0

เขียนเป็นตัวเลขแบบไทย คือ ๐

ทบทวนการอ่านแจกลูก การสะกดคำ  สระอา  จากเนื้อเรื่อง ดังนี้

เนื้อเรื่อง

 มาดูใบโบก   ใบโบกมีงา  มีตา   มีหู   มีหาง   มีปาก   มีงวง

 มาดูใบบัว  ใบบัวไม่มีงา  มีตา  มีหู  มีหาง  มีปาก  มีงวง

จากประโยคข้างต้น คำที่มี สระ อา  มีดังนี้

1. มา   2. งา   3. ตา   4. หาง    5. ปาก

โครงสร้างภายนอกของสัตว์   ได้แก่ อวัยวะภายนอกที่สำคัญต่อสัตว์  เช่น จมูกใช้สำหรับหายใจ  ,  ตา ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ  ,  หู ใช้สำหรับฟัง , ปาก ใช้สำหรับกินอาหาร , ขา และเท้า ใช้สำหรับเคลื่อนที่และรับน้ำหนักตัว  

สัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอกที่แตกต่างกัน  เช่น  หมี สุนัข มีขน  แต่ กิ้งกา จิ้งจก  ไม่มีขน  

ขน ของสัตว์ ช่วยปกป้องความเย็น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 

หาง ของสัตว์  ใช้สำหรับยึดเกาะห้อยโหน  ไล่แมลง   และสามารถใช้แสดงความรู้สึกได้  เช่น  หางของแมว

หนึ่งปีมี  12  เดือน  เดือน ที่ลงท้ายด้วย คม  จะมี  31 วัน  และเดือนที่ลงท้ายด้วย ยน  จะมี 30 วัน   นอกจากนี้ยังมี เดือนกุมภาพันธ์ จะมี 28 หรือ 29  วัน 

เดือนทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี มีดังนี้

1. เดือนมกราคม ( มี 31 วัน )     2. เดือนกุมภาพันธ์  ( มี 28 หรือ 29 วัน )  

3. เดือนมีนาคม  ( มี 31 วัน )      4. เดือนเมษายน   ( มี 30 วัน )  

5. เดือนพฤษภาคม ( มี 31 วัน )   6. เดือนมิถุนายน  ( มี 30 วัน )  

7. เดือนกรกฎาคม  ( มี 31 วัน )    8. เดือนสิงหาคม  ( มี 31 วัน )  

9. เดือนกันยายน ( มี 30 วัน )     10. เดือนตุลาคม  ( มี 31 วัน )  

11. เดือนพฤศจิกายน ( มี 30 วัน )    12. เดือนธันวาคม  ( มี 31 วัน )  

จำนวนนับ 3 และ 4  เป็นจำนวนนับที่ต่อ จาก 1 และ 2  กล่าว คือ จับนวนนับ 1 และ 2  ต่อจากสอง ก็จะนับเป็น 3 และ 4   จำนวนนับ 3 และ 4 เขียนเป็นตัวเลข และคำอ่านได้ดังนี้

3  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๓   อ่านว่า  สาม

4  เขียนเป็นเลขไทย  คือ  ๔   อ่านว่า  สี่