บทความล่าสุด

วัดเป็นสถานที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา เป็นที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัด เช่น ร่วมกิจกรรมทางศาสนา บริจาค ทรัพย์หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น  ช่วยกันพัฒนาวัด 

การบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดหรือศาสนสถาน มีดังนี้

1. การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอยู่เสมอ เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม 

2. บริจาคทรัพย์หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ถ้วยชาม

3. ช่วยกันพัฒนาวัด เช่น การทำความสะอาดลานวัด ปลูกต้นไม้

สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่พลั้งเผลอ การรู้ตัว ควบคุมตัวเองได้ 

การยืนด้วยสติ  เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังยืน เช่น ยืนเคารพธงชาติ ยืนต่อแถว

การเดินด้วยสติ   เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังเดินอยู่

การนั่งด้วยสติ   เพื่อให้รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่

การฝึกสติ ในการยืน เดิน นั่ง ทำได้ง่าย เพียงแค่เรามีสติ รู้ตัวกับสิ่งที่ทำ

การฝึกสติ ในการฟัง ร้องเล่น และการทำงาน ทำให้รู้และเข้าใจความหมาย ของเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงได้ถูกต้อง การทำงานอย่างมีสติทำงานได้สำเร็จลุล่วง ด้วยดี และไม่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน เช่น เพลงตบแผละ 

ตบแผละ  ตบแผละ  ตบแผละ     ปากใจตรงกัน นั่นแหละ       เรามาลองฝึกกัน จิต-กาย     สัมพันธ์ กับ ปาก ตบแผละ

สติ คือ ความระลึกได้ หรือ รู้ตนเองอยู่เสมอ   

ประโยชน์ของสติ คือ  รู้สึกตัวอยู่เสมอ , ไม่เหม่อลอย , ไม่ตื่นเต้นหรือตกใจง่าย , มีความจำดี , สามารถควบคุมตนเองได้ 

ประโยชน์ของสติที่มีผลต่อการเรียน คือ การฟัง , การคิด , การถาม , และการเขียน 

1. การฟังอย่างมีสติ  คือ ตั้งใจฟัง  ไม่พูดคุย หรือเล่น ขณะที่มีคนพูดกับเราอยู่

2. การคิดอย่างมีสติ  คือ เมื่อได้ฟังสิ่งใด คิดพิจารณาตาม ไม่คิดเหม่อลอย  

3. การถามอย่างมีสติ คือ การคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะตั้งคำถาม 

4. การเขียนอย่างมีสติ คือ มีจิตใจมุ่งมั่นในการเขียนตั้งใจคิด หรือไตร่ตรองไว้ ก่อนที่จะลงมือเขียน 

การสวดมนต์ เป็นการแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย และทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์  ก่อให้เกิดสติและปัญญา เป็นการลดความเห็นแก่ตัว และส่งความรัก ความปรารถนาดี และการให้อภัยผู้อื่น

การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ คือ การคิดดี คือ คิดแต่สิ่งที่ดี เกิดประโยชน์ ไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน 

การทำดี คือ การปฏิบัติตนเป็นคนดี  

การพูดดี คือ พูดถึงสิ่งที่ดี เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น 

อัตตา หิ อัตตโน นาโถ  แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน   

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คือ  การทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ก่อนที่จะให้คนอื่นมาช่วย เมื่อเราสามารถทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง เราจะเกิดความภูมิใจ และสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ได้

มาตา มิตตัง สเกฆเร  แปลว่า มารดาเป็นมิตรในเรือนตน แม่เป็นผู้ให้กำเนิด และอบรมสั่งสอนลูก

ข้อคิด : แม่เป็นผู้ให้กำเนิดเรา  แม่ดูแลเอาใจใส่ เลี้ยงดูเรา เราควรตอบแทนพระคุณแม่

 : วันแม่แห่งชาติของทุกปี ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม มีดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ 

 :  การตอบแทนพระคุณแม่  คือ การเป็นเด็กดี เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอน 

มงคล 38 คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดความสุขความเจริญแก่ตนเองและครอบครัว นักเรียนชั้น 

นักเรียนชั้น ป.1 จะได้เรียนเพียง 3 ประการ ดังนี้ 

1. การทำตัวดี คือการปฏิบัติตัว เป็นคนดี  เช่น  การตั้งใจเรียน 

2. การว่าง่าย  คือ การเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่  เช่น ยอมรับ ปฏิบัติตามคำสั้งสอน

3. รับใช้พ่อแม่  คือ การช่วยเหลือพ่อแม่ในเรื่องงานต่างๆ  เช่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน

เรื่องวันสงกรานต์

เดือนเมษายนอากาศร้อน คนทั้งหมู่บ้านมีความสุข  ที่ได้สนุกในวันสงกรานต์ ตอนเช้า คนทั้งหมู่บ้านไปวัด  เพื่อร่วมทำบุญ  เลี้ยงพระ  สรงน้ำพระ  แล้วกินข้าวด้วยกัน  เป็นการฉลองปีใหม่ไทย ตอนบ่าย เด็กๆ ผู้ใหญ่ และใบโบก ใบบัว  หิ้วถังไปขนทรายเข้าวัด แต่ละกลุ่ม แต่ละครอบครัว ช่วยกันนำทราย ที่ขนมาก่อพระเจดีย์ทรายตกแต่งกันอย่างสวยงาม ที่แม่น้ำ น้ำลดจนเห็นพื้นทราย ได้เวลาสนุกกันแล้ว ทั้งช้างทั้งคน วิ่งลงแม่น้ำใช้ถัง ขัน กะละมัง  ตักน้ำสาดกัน  สาดทั้งคน สาดทั้งช้าง  ใบโบก ใบบัว หันหลังชนกัน  ส่ายงวงพ่นน้ำใส่คนรอบข้าง อย่างสนุกสนาน ภูผาก็เปียกทั้งตัว  ชุ่มฉ่ำ เย็นสบาย  ภูผาเพื่อนรัก ไปรดน้ำ กราบขอพร จากพ่อและแม่ ช้างทั้งสองหมอบอยู่ข้างๆ พ่อแม่ลูบหัวให้พรภูผา ใบโบก ใบบัว ยื่นงวงพาดตักพ่อกับแม่ โบกหู กะพริบตา เหมือนจะพูดว่า "ให้พรใบโบกด้วย ให้พรใบบัวด้วย" ขอให้ภุผา ใบโบก ใบบัว โตไปไม่ดื้อ ไม่เกเร เป็นที่รักของทุกๆคน นะจ๊ะ พ่อกับแม่ให้พร  

ข้อคิดของเรื่อง

มีความรักความสามัคคีกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เช่น 

1. พร้อมใจกันไปทำบุญในตอนเช้า

2. ร่วมกันทำบุญเลี้ยงพระ

3. ร่วมกันก่อพระเจดีย์ทราย

4. ทุกคนทั้งหมู่บ้านสาดน้ำเล่นกันที่แม่น้ำอย่างสนุกสนาน

คำนำเรื่อง วันสงกรานต์  มีดังนี้

1. หมอบ   หมายถึง  กิริยาที่คู้เข้าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น

2. พระสงฆ์  หมายถึง  สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร  ปฏิบัติ ตาม พระธรรมวินัย  ที่พระบรมศาสดา สั่งสอนและกำหนดไว้

3. กะพริบ หมายถึง  อาการปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว

เรื่อง  วันปีใหม่ 

ถึงวันปีใหม่ไทย      ต่างพร้อมใจไปทำบุญ

ขนทรายเข้าวัดหนุน       ชวนกันก่อพระเจดีย์

เพลินใจเล่นสงกรานต์    ล้วนเบิกบานอย่างเต็มที่

คนช้างแสนยินดี        สาดน้ำใส่กันและกัน

รดน้ำพ่อและแม่        พร้อมเพื่อนแท้สองเชือกนั้น 

ขอพรพ่อแม่พลัน      ช้างขอด้วยคำอวยพร

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 การรักษาประเพณีไทยอันงดงามเอาไว้  เช่น การเข้าวัดทำบุญ  การขนทรายเข้าวัด  การละเล่นสาดน้ำสงกรานต์   การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่