บทความล่าสุด

ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ดีงามอย่างมีเหตุผล 

ความเชื่อ หมายถึง  ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล  และความเลื่อมใส

ศรัทธา ในพระรัตนตรัย หมายถึง  ความเชื่อ ความเลื่อมใส ในคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งประกอบด้วย คุณของพระพุทธ  คุณของพระธรรม  คุณของพระสงฆ์

พระรัตนตรัย แปลว่า  แก้วอันประเสริฐ  3 ประการ 

พระรัตนตรัย ประกอบด้วย 

1. พระพุทธ  คือ พระพุทธเจ้า คุณของพระพุทธ คือ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม 

2. พระธรรม  คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คือ ช่วยทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามไม่ให้ตกอยู่ในความชั่ว 

3. พระสงฆ์ คือ ผู้สืบทอดและเผยแผ่พระศาสนา คุณของพระสงฆ์  คือ เป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม 

โอวาท 3 คือ  การสอนให้เราไม่ทำความชั่ว  ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ 

เบญจศีล หรือ ศีล 5 มีดังนี้

ศีลข้อที่ 1 คือ  เว้นจากการเบียดเบียน รังแก ทำร้ายหรือฆ่าสัตว์

ศีลข้อที่ 2 คือ  เว้นจากการลักขโมย

ศีลข้อที่ 3 คือ  เว้นจากการนอกใจคู่ครอง

ศีลข้อที่ 4 คือ  เว้นจากการพูดปด  พูดคำหยาบ  เพ้อเจ้อ  ไร้สาระ

ศีลข้อที่ 5 คือ  เว้นจากการเสพสิ่งมึนเมาต่างๆ 

เบญจธรรม  คือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ มี 5 ประการ  ดังนี้ 

1. เมตตา กรุณา  คือ มีความรัก และความสงสาร

2. สัมมาอาชีวะ  คือ มีอาชีพที่สุจริต 

3. กามสังวร  คือ ยินดีและพอใจในคู่ครองของตน

4. สัจจะ คือ  การพูดความจริง

5.สติสัมปชัญญะ  คือ   มีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไร 

สังคหวัตถุ 4  คือ หลักปฏิบัติที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดความสามัคคี  มี 4 ประการ

1. ทาน คือ การแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. ปิยวาจา  คือ  การพูดจาไพเราะ

3. อัตถจริยา คือ  การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

4. สมานัตตตา คือ  การวางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย

การทำจิตให้ผ่องใส  คือ  จิตที่บริสุทธิ์  จิตที่คิดในสิ่งที่ดี 

การคิดดี  คือ  คิดแต่สิ่งที่ดี  เกิดประโยชน์  ไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน

ทำดี  คือ  การปฏิบัติตนเป็นคนดี

พูดดี  คือ  พูดถึงสิ่งที่ดี  เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

การบริหารจิตและเจริญปัญญา  คือ  การฝึกทำจิตใจให้สงบ มีสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน 

ประโยชน์ การบริหารจิตและเจริญปัญญา  ทำให้เรามีความจำดี  มีสติ  ไม่ประมาท มีสุขภาพจิตดี

ตัวอย่าง การฝึกบริหารจิตและเจริญปัญญา  เช่น การสวดมนต์ แผ่เมตตา  การนั่งสมาธิ 

นิทานเรื่อง  กระต่ายกับเต่า   กระต่ายตัวหนึ่ง เห็นเต่าคลานมาก็หัวเราะเยาะว่า เต่าขาสั้น เดินช้า  เต่าจึงตอบไปว่า "ถึง ท่านจะวิ่งเร็ว รากับลมพัด และขาเราจะสั้น กว่าขาของท่านก็จริงอยู่ แต่เราอยากจะลองดี เดินแข่งกับท่าน ท่านจะว่ากระไร"  กระต่ายได้ยินเต่าท้า ดังนั้น ก็นึกกระหยิ่มใจ ตกลงจะวิ่งแข่งด้วย จึงพร้อมกันไปหา หมาจิ้งจอก บอกความที่ตกลงกัน แล้วก็ตั้งให้  เมื่อถึงวันนัด สัตว์ทั้งสอง ก็มาตั้งต้น แข่งในที่ที่ หมาจิ้งจอกชี้ให้  เต่าเมื่อตั้งต้นออกเดินก็ก้มหน้า คลาน ลัด ตัด ตรง ไป ทีละน้อยๆ จนถึงที่สุด ฝ่าย กระต่ายถือดี ในฝีเท้า ของตนว่า วิ่งได้เร็วกว่าเต่าก็ชะล่าใจ ครั้นตื่นขึ้นตกใจ กลัวว่าจะไล่ เต่าไม่ทันจึงรีบกระโจนไปโดยเร็ว ก็พบเต่าไปถึงก่อนเสียแล้ว 

ข้อคิดจากเรื่อง 

ความประมาทเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะอาจทำให้ภัยมาถึงตัวเองได้  ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่นเหมือนอย่างที่เต่าได้พบ 

เนื้อเรื่อง  อายจัง  อายจัง

ใบโบกใบบัว  แต่งตัวสวยสวย  ภูผาไปด้วย    ร่วมงานหรรษา ใบโบกส่งไม้ ประธานรับมา เพราะได้เวลา  ตีฆ้องนำทาง  พอเสียงเพลงดัง  ช้างต่างจัดแถว ช้างน้อยแน่แน่ว  วิ่งสุดแรงช้าง  

เดินตามกันไป  ใช้งวงจับหาง ชวนกันเหยาะย่าง  ตามจังหวะเพลง  รายการสุดท้าย  ช้างระบายสี ใบโบกเร็วรี่  แสดงความเก่ง  ภูผาส่งแปรง  ใบโบกแสดงเอง มือแปรงละเลง   ภูผาจังงัง

คนดูชอบใจ  ช้างน้อยแสนรู้ ใบบัวโบกหู  อายจัง  อายจัง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

การที่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง  และความมีระเบียบวินัย

ประโยค เช่น  ช้างน้อยเข้าแถว , ใบโบกตีฆ้องเสียงดัง , ช้างน้อยระบายสีสวยงาม 

สัญลักษณ์   คือ   สิ่งที่กำหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้ความหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง  เช่น  ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด  +  -  x / เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

เครื่องหมาย คือ  สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้  เช่น  สัญญาณไฟจราจรเป็นเครื่องหมายแสดงให้ระวังอันตราย หรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้

สัญญาณ  คือ  เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือได้ยิน เป็นต้น  แม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตราย หรือ กระทำตามที่บอกหรือแนะไว้  เช่น  สัญญาณไฟจราจร  สัญญาณธง  ตีระฆัง  ตีฆ้องเป็นสัญญาณ

บทเพลง มาตราตัวสะกด

แม่ ก กา  ไม่มีตัวสะกด   ตัว  มา  มือ ดำ 

แม่ กง  มี  ง   สะกด   แทง   แรง   ลิง  งง

แม่  กม  มี  ม  สะกด   ลม   แต้ม  มุม  มอม  งม  สนาม  คำราม  

แม่  เกย  มี  ย  สะกด  โปรย  ปุย  เฉย  ลอย 

แม่ เกอว  มี  ว  สะกด   กาว  เปลว  เปรี้ยว  แมว

แม่ กก  มี  ก  สะกด   ปัก  เด็ก   เมฆ  แฝก   ปาก   หอยทาก  ไม้จาก  

แม่ กบ มี  บ  สะกด  กราบ  บาป  ลาบ  ดิบ  

แม่ กน  มี  น  สะกด   จาน   บ้าน   หิน  คลาน  

แม่ กด  มี  ด  สะกด   แปด  การ์ด   ตรวจ  ขวด  จรวด  ตำรวจ  ผู้หมวด 

อักษรต่ำ ได้แก่ พยัญชนะต่อไปนี้   ค, ฅ , ฆ, ง, ช, ซ, ฌ, ญ, ฑ, ฒ, ณ, ท, ธ, น, พ, ฟ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ฬ, และ ฮ

การผันอักษรต่ำ   อักษรต่ำผันได้  3  เสียง  คือ   เสียงสามัญ  เสียงโท  และเสียงตรี

ผันด้วยวรรณยุกต์เอก  จะออกเสียงโท   ผันด้วยวรรณยุกต์โท  จะออกเสียงตรี

เรื่อง ช้างน้อยน่ารัก  ทุกปีหมู่บ้าน เลี้ยงช้างแห่งนี้จะนำช้างไปแสดงที่จังหวัด เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว  ปีนี้เป็นปีแรกที่ใบโบกและใบบัวจะแสดงกับภูผา ทั้งเด็และลูกช้างแต่งตัวสวยงาม เมื่อได้เวลาภูผาเดินนำหน้าออกมาใบโบกถือไม้ตีฆ้อง  ใบบัวถือพวงมาลัย ทั้งหมดเดินตรงไปที่ประธาน  ใบโบกส่งไม้ตีฆ้อง ประธานรับไปตีฆ้องเปิดงาน เสียงฆ้องดัง โหม่งๆ  ใบบัวส่งพวงมาลัยเพื่อขอบคุณประธาน  คนดูปรบมือชอบใจ มีช้างตัวใหญ่ๆหลายเชือกรออยู่กลางสนาม  เมื่อเสียงเพลงดังครวญให้สัญญาณช้างจัดระเบียบ จูงหางกันตามลำดับ ใบโบกใบบัว วิ่งสุดแรงไปต่อแถวให้ทัน  ใบโบกแกว่งงวงที่จับหางช้างตัวหน้าตามจังหวะเพลง  ใบบัวก็แกว่งงวงที่จับหางของใบโบกเหมือนกัน  น่ารัก  น่ารักมาก ช้างน้อย น่ารัก ลูกช้าง น่ารัก ได้แสดง อีกครั้ง รายการ สุดท้าย ช้างน้อย ระบายสี  ภูผา ส่งแปรงให้ใบโบก  แต่ใบโบก จับพลาด  คว้า มือภูผา จุ่ม ถังสี ยกขึ้น แล้วระบายๆ   ใบบัวโยกตัวม้วนงวงใส่ปาก โบกหูโบกหาง ส่งเสียงร้อง แอ๊กๆ อายจัง ๆ  คนดูปรบมือ หัวเราะ ร้องเรียกใบโบกใบบัว ดาราแสนรู้    ช้างน้อยน่ารัก น่ารัก จริงๆ 

ทบทวนการสะกดคำ มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ ดังนี้

1. งาม   สะกดได้ดังนี้    งอ - อา - มอ  =  งาม

2. ยิ้ม   สะกดได้ดังนี้    ยอ - อิ - มอ - ไม้โท =  ยิ้ม

3. อาย   สะกดได้ดังนี้    ออ - อา - ยอ  =  อาย

4.น้อย  สะกดได้ดังนี้   นอ - ออ - ยอ -ไม้โท  = น้อย

5. ข้าว  สะกดได้ดังนี้   ขอ - อา - วอ -ไม้โท  = ข้าว

6. เที่ยว   สะกดได้ดังนี้   ทอ - เอีย - วอ - เทียว - ไม้เอก = เที่ยว 

ความหมาย  

1. งาม  หมายถึง  ลักษณะที่เห้นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ

2. ยิ้ม  หมายถึง  แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ  เยาะเย้ย  หรือเกลียดชัง ด้วยริมฝีปากและใบหน้า 

3. อาย  หมายถึง   รู้สึกกระดาก  รู้สึกขายหน้า

4. น้อย  หมายถึง  ตรงข้ามกับมาก  ไม่มาก

5. ข้าว หมายถึง  ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิด มีหลายพันธุ์  เช่น  ข้าวเจ้า  ข้าวเหนียว 

6. เที่ยว  หมายถึง  กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป