บทความล่าสุด

หนึ่งปีมี  12  เดือน  เดือน ที่ลงท้ายด้วย คม  จะมี  31 วัน  และเดือนที่ลงท้ายด้วย ยน  จะมี 30 วัน   นอกจากนี้ยังมี เดือนกุมภาพันธ์ จะมี 28 หรือ 29  วัน 

เดือนทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี มีดังนี้

1. เดือนมกราคม ( มี 31 วัน )     2. เดือนกุมภาพันธ์  ( มี 28 หรือ 29 วัน )  

3. เดือนมีนาคม  ( มี 31 วัน )      4. เดือนเมษายน   ( มี 30 วัน )  

5. เดือนพฤษภาคม ( มี 31 วัน )   6. เดือนมิถุนายน  ( มี 30 วัน )  

7. เดือนกรกฎาคม  ( มี 31 วัน )    8. เดือนสิงหาคม  ( มี 31 วัน )  

9. เดือนกันยายน ( มี 30 วัน )     10. เดือนตุลาคม  ( มี 31 วัน )  

11. เดือนพฤศจิกายน ( มี 30 วัน )    12. เดือนธันวาคม  ( มี 31 วัน )  

เนื้อหาเรื่อง เจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์  มีเนื้อหาการเรียนรู้ ที่สอนให้รู้จักวันในสัปดาห์ ซึ่งในหนึ่ง สัปดาห์ มีทั้งหมดเจ็ดวัน  ได้แก่

1. วันอาทิตย์   สีประจำวัน  คือ  สีแดง

2. วันจันทร์   สีประจำวัน  คือ  สีเหลือง

3. วันอังคาร  สีประจำวัน  คือ  สีชมพู

4. วันพุธ   สีประจำวัน  คือ  สีเขียว

5. วันพฤหัสบดี  สีประจำวัน  คือ  สีส้ม

6. วันศุกร์  สีประจำวัน  คือ  สีฟ้า

7.  วันเสาร์  สีประจำวัน  คือ  สีม่วง

ประชาธิปไตยในครอบครัว เป็นการแก้ปัญหาโดยการรับฟังและแสดงความคิดเห็นในครอบครัว หากสมาชิกทุกคนในบ้านรู้จักรับฟังความคิดเห็นกัน จะทำให้ครอบครัวอยู่กันอย่างมีความสุข  มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน 

ประชาธิปไตย คือ การใช้เสียงส่วนมากในการตัดสินในการทำกิจกรมต่างๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล และยอมรับเสียงของคนจำนวนมาก  ทำตามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น

กิจกรรมประชาธิปไตยในครอบครัว

1. การแบ่งหน้าที่กันในครอบครัวโดยตัดสินใจร่วมกัน

2. การแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

การทำความดี  คือ การทำอะไรก็ตามที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น 

การคิดดี  คือ  คิดดีไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น

การพูดดี  คือ  พูดไม่ว่าร้าย  นินทาผู้อื่น และพูดจาไพเราะ

การทำดี  คือ  การมีน้ำใจ  รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น

ความดีทำได้ง่ายๆ เช่น ช่วยเหลืองานบ้านของคุณพ่อคุณแม่ เท่าที่เราสามารถทำได้ หรือการเจอกระเป๋าเงินของผู้อื่นหล่นอยู่ เราก็ส่งคืนเจ้าของ  การช่วยเหลือสัตว์เล็กที่ถูกรังแก หรือเห็นว่าสัตว์หล่านั้นกำลังลำบากก็เข้าไปช่วย และการเก็บขยะที่ถูกทิ้งไม่เป็นที่ ลงถังขยะ  สิ่งเหล่านี้ ล้สนแล้วแต่เป็นความดีที่ทำได้ง่ายๆ

ประโยชน์ของการทำความดี คือ ทำให้เรามีความสุข รู้สึกสบายใจ  ภาคภูมิใจ  และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ทำให้สังคมมีความสุข 

การทำความดี ส่งผลให้ผู้รับ และผู้ให้มีความสุข การทำความดีเราสามารถทำได้ทุกวัน  เช่น  การเก็บที่นอนหลังตื่นนอน  การล้างหน้แปรงฟันเอง ช่วยเหลืองานบ้านที่สามารถทำได้  สิ่งต่างๆเหล่านี้ คือการทำความดี ที่สามารถทำได้ทุกวัน  

การช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่าเป็นการทำดีอย่างหนึ่ง  เช่น การช่วยเหลือสัตว์ตัวเล็กๆ ที่ถูกรังแก แต่ควรระวังไม่ให้สัตว์นั้นทำร้าย ควรเรียกผู้ใหญ่มาช่วยเพื่อความปลอดภัย

ประโยชน์ของการทำความดี  เมื่อเราทำความดี เราก็จะได้รับความสุข ความสบายใจ ความภาคภมูิใจ  และได้เป็นคนดีของสังคม  นอกจากนี้ เรายังสามารถชักชวนเพื่อนๆ คนรอบข้างมาร่วมทำความดี สังคมของเราก็จะน่าอยู่ มีความสุข

การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว เคาารพข้อตกลลงร่วมกันได้อย่างมีความสุข รวมถึง การมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ด้วย

ความกตัญญูกตเวที  คือ  การรู้จักบุญคุณและตอบแทนผู้มีบุญคุณแก่เรา  นักเรียนควรเชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อ แม่ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รู้จักช่วยเหลือกัน จะทำให้ครอบครัวมีความรักความเมตตาต่อกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมของครอบครัว  เช่น ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า  การไปเที่ยวร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเกิดความสุข ความอบอุ่น และยังทำให้เราเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

การเป็นคนดีของครอบครัว หรือ การเป็นเด็กดีของครอบครัว สามารถทำได้ด้วยการรู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่ ญาติพี่น้อง  เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน รู้จักปฏิบัติตามกติกาของครอบครัว  

เป็นเด็กดี ง่ายๆ ด้วยตนเอง เช่น 

- การกล่าวขอบคุณ เพื่อตอบแทนความมีน้ำใจ  เช่น กล่าวขอบคุณเมื่อคุณพ่อคุณแม่ให้เงินเราไปโรงเรียน 

- การกล่าวขอโทษ เพื่อแสดงความสำนึกผิด

- การไหว้ คือการทักทายอย่างอ่อนน้อม

ดังนั้น  การกล่าวขอบคุณ ขอโทษ การไหว้ แสดงถึงความมีมารยาท ความอ่อนน้อม 

การมีน้ำใจ คือ การช่วยเหลือและแบ่งปันให้แก่กัน  เช่น สอนการบ้านให้น้อง แบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่นด้วย

บทบาทของสมาชิกในครอบครัว  

เรื่องที่ 1 บ้านของเพลิน  เพลินตื่นสาย เพราะนอนดึก ทำให้ง่วงนอน เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง

เรื่องที่ 2 บ้านของภัทร  ภัทรออกไปเล่นข้างนอกจนไม่ได้ทำการบ้าน จึงถูกแม่ทำโทษ 

เรื่องที่ 3 บ้านของพลอย  พลอยเตรียมน้ำให้คุณพ่อดื่มหลังจากไปทำงานกลับมา แล้วช่วยเหลืองานบ้าน ช่วยแม่ทำกับข้าว 

จากเรื่องราวทั้ง 3 เรื่อง เป็นบทบาทของสมาชิกในครอบครัว  พ่อแม่มีบทบาทหน้าที่ ในการสอนลูกให้เป็นคนดี รู้และปฏิบัติหน้าที่ตนเองอย่างถูกต้อง  นอกจากนี้แล้วพ่อแม่ยังมีสิทธิมอบหมายงานให้ลูกช่วยทำ เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน ถู บ้าน  ตั้งกฎกติกาให้ลูกๆปฏิบัติตาม  หากลูกทำผิด พ่อแม่ก็มีสิทธิ ว่ากล่าวตักเตือน หรือทำโทษไม่ให้เล่น หรือให้เงินค่าขนม ลูกก็มีบทบาทหน้าที่ ในการช่วยเหลือพ่อแม่ ตั้งใจเรียนหนังสือ เชื่อฟังคำสั่งสอน เป็นต้น

สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีสิทธิในเรื่องต่างๆ  เช่น สิทธิในทรัพย์ของตนเอง  การอยู่ร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวนั้น เราควรเคารพสิทธิของสมาชิกคนอื่นในครอบครัวด้วย และ ไม่ควรรื้อค้นสิ่งของ ของผู้อื่น ไม่ควรนำสิ่งของ ของผู้อื่นมาใช้ โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ยังมีสิทธิอื่นๆอีก เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกายของตน  สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการกระทำสิ่งต่างๆที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  เมื่อทุกคนเคารพสิทธิของกันและกันจะทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข 

หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว มีความแตกต่างกัน เช่น

1. หน้าที่ของพ่อ คือ ทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

2. หน้าที่ของแม่  คือ ดูแลความเป็นอยู่ของคนในบ้าน

3. หน้าที่ของลูก คือ ตั้งใจเรียนหนังสือ เคารพเชื่อฟังพ่อแม่และคุณครู สามารถช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆน้อยๆได้ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน


สื่อการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1