บทความล่าสุด

พุทธประวัติ คือ  ประวัติของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่วันประสูติหรือวันเกิดของพระพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ณ สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศเนปาล  พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา  เมื่อมาอายุครบ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา หรือ พิมพา และทรงมีพระโอรส 1 พระ องค์ นามว่า ราหุล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ มีความประสงค์จะให้ตนเองพ้นทุกข์ และชาวโลกพ้นทุกข์  เมื่ออายุได้ 29  พรรษา  พระองค์จึงตัดสินใจออกผนวช และ หาทางดับทุกข์  พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานร่างกาย   เพื่อค้นหาวิธีดับทุกข์  พระองค์ใช้เวลา 6 ปี ในการตรัสรู้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้ ได้เทศนาแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร  แก ปัญจวัคคีย์ 5 รูป และได้เกิดพระสงฆ์ขึ้นครั้งแรก พระภิกษุรูปแรก ชื่อ โกณฑัญญะ  พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนานานถึง 45 ปี พระองค์ก็ได้ปรินิพพาน  ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  รวมอายุได้ 80 พรรษา

อากาศเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น อากาศร้อน  ฝนตก  หรือ อากาศหนาว  วิธีปรับตัวตามสภาพอากาศมีดังนี้

1. อากาศร้อน  ใส่เสื้อบาง แขนสั้น  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ในวันที่อากาศร้อนควรดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรตากแดดเป็นเวลานาน

2. ฝนตก  ไม่ควรตากฝน ควรใส่เสื้อกันฝนกางร่ม เพื่อป้องกันฝน 

3. อากาศหนาว ควรสวมเสื้อแขนยาวเพื่อให้เกิดความอบอุ่น 

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ  คือ  แม่น้ำ  และต้นไม้   สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  เราต้องปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมให้ทันเพื่อความสุขและสุขภาพของเราเอง

สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์แตกต่างกันด้วย

ประเทศไทย แบ่งออกเป็น  4 ภาค

1. ภาคเหนือ  มีลักษณะภูมิประเทศ ที่มีภูเขาสลับซับซ้อน  ปกคลุมด้วยป่าไม้  มีสภาพอากาศ หนาวเย็น ชุดของภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นชุดแขนยาวเพื่อความอบอุ่น มีอาหารประจำภาค คือ น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู  มีการทำอาชีพการเกษตร คือ ปลูกข้าวเหนียว  ทำสวนลำไย ทำสวนลิ้นจี่  มีลักษณะการปลูกบ้านเป็นทรงกาแล

2. ภาคกลาง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีทั้งร้อน  ฝน  หนาว  การแต่งกายเป็นเสื้อแขนสั้น มีอาชีพทำสวน  เลี้ยงปลา  มีอาหารประจำภาค คือ  น้ำพริกปลาทู  ปลาทอด  ต้มยำปลา ลักษณะที่อยู่อาศัย เป็นบ้านใต้ถุนสูง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันตอนน้ำท่วม 

3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  หรือ เรียกอีกอย่างว่า ภาคอีสาน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีการแต่งกายเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้น  คาดผ้าขาวม้า  ทำอาชีพการเกาตรปลูกข้าว ไร่มันสำปะหลัง ไร่ปอ  ไร่ข้าวโพด  มีอาหารประจำภาค  ลาบ  ข้าวเหนียว  มีลักษณะที่อยู่อาศัย เป็นแบบยกใต้ถุนสูง  เพื่อให้อากาศถ่ายเท  

4. ภาคตะวันตก มีลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาสูง มีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีอาหารประจำภาค คือ นิยมทานข้าวเจ้าเป็นหลัก มีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นบ้านใต้ถุนสูง  อากาศถ่ายเทได้สะดวก  ทำอาชีพไร่อ้อย  ไร่ข้าวโพด 

5. ภาคตะวันออก  มีลักษณะภูิมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาตัดชายฝั่งทะเล มีอากาศเย็นสบาย บริเวณชายฝั่งทะเลฝนตกชุก มีลักษณะที่อยู่อาศัยคล้ายภาคกลาง  ใต้ถุนสูง มีอาหารประจำภาค คือ  หมูชะมวง

6. ภาคใต้  มีลักษณะภูิมิประเทศเป็นพื้นที่ติดทะเล มีลักษณะอากาศร้อนและฝนตกตลอดปี  มีลักษณะการแต่งกาย ผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาวปิดคอ  สวมกางเกงสีเข้มๆ มีผ้าพับคาดเอวจรดเข่า คาดผ้าสีดำทับที่เอว สวมหมวกทรงข้าวหลามตัด  ผู้หญิง  สวมผ้าซิ่นลายดอก  เสื้อเป็นลายลูกไม้มีผ้าแพรคล้องคอ บนศีรษะมักปักด้วยปิ่นปักผม  คาดเข็มขัด มีอาหารประจำภาค คืออาหารทะเล  เช่น แกงไตปลา มีการปลูกบ้านแบบทรงปั้นหยา

สภาพอากาศรอบตัวเรา  ในเวลาเช้าที่เราตื่นมานั้นอากาศจะเย็นสบาย เพราะยังไม่มีแสงแดดส่องลงมามากนัก 

แสงแดดในเวลาเช้า จะทำให้ร่างกายของคนสามารถสร้างวิตามินดีได้  เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดในเวลาเช้า  วิตามินดีทำให้กระดูและฟันแข็งแรง ทำให้เราเติบโตได้อย่างปกติ 

ลมทำให้อากาศเย็นสบาย และทำให้ก้อนเมฆเคลื่อนที่  หากวันใดมีแสงแดดมากก็จะทำให้ร้อนมาก แต่ถ้ามีลมพัดผ่านมาก็จะทำให้อากาศถ่ายเท ทำให้ไม่ร้อนมาก 

อากาศหลังฝนตก จะทำให้เย็นสบาย ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ในเวลากลางคืน อากาศจะเย็นเพราะไม่มีแสงแดด 

แผนผัง คือ ภาพย่อส่วนของสิ่งต่างๆ เพื่อแสดงตำแหน่งสิ่งต่างๆ หรือ สถานที่ต่างๆ แทนด้วยสัญลักษร์ต่าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม การใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม

ทิศสามารถระบุสิ่งต่างๆที่รอบตัว การรู้ทิศนั้นจะทำให้เรารู้ตำแหน่งของสิ่งต่างๆรอบตัวได้ ทิศหลัก มีทั้งหมด 4 ทิศ  ได้แก่  ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก  

ทิศตะวันออกจะอยู่ทางพระอาทิตย์ขึ้นเมื่อเราหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ขึ้นนั่นคือเรากำลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และหันหลังให้ทิศตะวันตก เมื่อเรายืนอยู่ตำแหน่งเดิมแล้วกางมืออก

นั่นแปลว่า ด้านมือซ้าย คือทิศเหนือ  และด้านมือขวา คือทิศใต้ 

ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก  และดวงอาทิตย์ก็ตกทางทิศตะวันตก 

เข็มทิศ สามารถใช้ดูทิศได้   N  คือทิศเหนือ  ,  S คือ ทิศใต้   ,   E  คือทิศตะวันออก    ,  W  คือทิศตะวันตก

เครื่องมือช่วยดูทิศ

1. การดูทิศโดยการใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก

2. การดูทิศโดยใช้เข็มทิศ

สื่อการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ฯ ชั้น ป.1  เรื่อง บอกได้ไหม ใกล้ ไกล  เพียงใด  

ระยะทาง หมายถึง ระยะห่างของตำแหน่งต่างๆจากจุดเริ่มต้นทำให้รู้ว่า สิ่วใดอยู่ใกล้ สิ่งใดอยู่ไกล

การหาระยะทาง มี 2 วิธี

1. หาระยะทางโดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย   เช่น  การนับคืบ  การนับก้าว 

2. หาระยะทางโดยใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน  เช่น  การใช้ไม้บรรทัด  การใช้ไม้เมตร  การใช้สายวัด  การใช้ตลับเมตร  การหาระยะแบบใช้เครื่องมือแม่นยำกว่าการหาระยะโดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย  

สื่อการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ชั้นป.1  เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัวฉัน

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราที่ทั้งสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเองและเกิดขึ้นตามธรมชาติ ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น แม่น้ำ ภูเขา  น้ำตก  ป่าไม้

2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง เช่น รถยนต์  โรงงาน  ดินสอ กระเป๋า สมุด สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถหมดไปได้ หากมนุษย์ไม่ช่วยกันดูแลรักษา 

การทำงาน คือ การประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้มาดำเนินชีวิต ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง ผู้อื่น ไม่ผิดกฏหมาย เราประกอบอาชีพเพื่อให้มีเงินมาเลี้ยงดูตนเอง ใช้ในการดำรงชีวิต ความสำคัญของการทำงาน คือ ทำให้เรามีรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ทำให้เราภูมิใจในอาชีพ และเกิดความชำนาญในการประกอบอาชีพ

สื่อการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษาฯ ป.1 เรื่อง  การทำงานอย่างสุจริต

อาชีพสุจริต คือ การทำงานที่ถูกต้อง  ไม่เดือดร้อนผู้อื่น หรือ การประกอบอาชีพที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง ผู้อื่น และไม่ผิดต่อหลักกฏหมายบ้านเมือง และประเพณีในสังคม เช่น อาชีพเก็บขยะ อาชีพกวาดถนน อาชีพหมอ  เป็นต้น

การทำงาน คือ การนำความรู้ไปประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้ อาชีพทำให้เรามีรายได้มาดำรงชีวิต


สื่อการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1