บทความล่าสุด

เนื้อเรื่อง 

แมว เอ๋ย แมว เหมียว    รูปร่าง ประเปรียว  เป็นนักหนา    ร้องเรียก เหมียว เหมียว เดี๋ยว ก็มา   เคล้า แข้ง เคล้า ขา น่าเอ็นดู

รู้จัก เอา รัก เข้า ต่อตั้ง  ค่ำ ค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู   ควรนับว่ามันกตัญญู   พอดู อย่างไว้  ใส่ใจเอย 

คำศัพท์ที่น่าสนใจในเนื้อเรื่อง

1. แมว  หมายถึง  ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ขนยาวนุ่ม  มีหลายสี  

2. ประเปรียว   หมายถึง  มีรูปร่าง หรือ ท่าทางปราดเปรียวมีลักษระคล่องแคล่วว่องไว

3. เคล้า  หมายถึง  คลอเคลีย

4. กตัญญู  หมายถึง  รู้คุณท่าน 

5. ใส่ใจ  หมายถึง  คิดฝักใฝ่  ตรึกตรอง 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณแก่เรา ดังตัวอย่างแมวในเรื่องนี้ยังรู้จักตอบแทนบุญคุณด้วยการนั่งเฝ้าระวังหนูให้เจ้าของ

เนื้อเรื่อง

บ้านฉันมีเพื่อน  เพื่อนฉันคือแมว  ฉันรักเพื่อนฉัน  เพราะฉันรักแมว     มันส่งเสียงร้อง  ทำนองของแมว  ร้องเรียกเหมียวๆ ฉันเหลียวหาแมว

มันไล่จับหนู  เพราะหนูกลัวแมว  ทุกวัน ทุกวัน ฉันคอยเลี้ยงแมว   กับข้าว กับปลา  หามาให้แมว  ฉันชอบร้องเพลง  ร้องเพลงของแมว

เราอ่าน  เราเขียน  เราเรียนเรื่องแมว มาเรียนมารู้  ดูตัวอย่างแมว   มาเถิดมาร้อง  ทำนองเพลงแมว  

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

รู้จักธรรมชาติของแมวว่าชอบจับหนู และส่งเสียงร้อง เหมียว เหมียว จากส่วนที่บอกว่า มันส่งเสียงร้อง ทำนองของแมว  ร้องเรียกเหมียว เหมียว ฉัน เหลียว หาแมว และ มันไล่จับหนู  เพราะหนูกลัวแมว

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

1. เดิน  หมายถึง  ยกเท้าก้าวไป

2. ป่า  หมายถึง  ที่ที่มีต้นไม้ต่างๆขึ้นมา

3. ตัวโก่ง  หมายถึง  ตัวโค้ง

4. อร่อย  หมายถึง  มีรสดี

5. ดินโป่ง  หมายถึง  ดินรสเค็ม  สัตว์ป่าชอบกิน

ข้อคิดจากเรื่อง  

แม้จะเป็นสัตว์แต่ก็รู้จักการแบ่งปัน  เหมือนอย่างที่ใบโบก ใบบัว แบ่งดินโป่งมาให้ภูผากินด้วยกัน  แม้จะเป็นของที่ใบโบก ใบบัวชอบ 

มาตรา แม่ ก กา คือ มาตราที่ไม่มีตัวสะกด  เช่น  ฝา   หอ   พ่อ   เข่า   เสา 

ความหมายคำในบทเรียน

ฝา  หมายถึง  เครื่องปิดภาชนะต่างๆ

หอ  หมายถึง  เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง

พ่อ  หมายถึง  ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก

เข่า  หมายถึง  ส่วนที่ต่อระหว่างขา ส่วนบนกับขาส่วนล่าง สำหรับคู้ขาเข้าและเหยียดขาออก

เสา  หมายถึง  ท่อนไม้หรือแท่งคอนกรีตที่ใช้เป็นหลัก หรือ เป็นเครื่องรองรับสิ่งอื่น

มาตรา แม่ กง  คือ มาตราที่มีตัว ง  เป็นตัวสะกด  เช่น  ช้าง    จูง    วิ่ง    คาง  หาง

อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้  3 เสียง  คือ เสียงเอก เสียงโท และเสียงจัตวา

ตัวอย่าง

1. ขา   ผันได้ดังนี้   ขา  - ข่า - ข้า 

2. ถือ   ผันได้ดังนี้   ถือ - ถื่อ - ถื้อ

3. เสือ  ผันได้ดังนี้   เสือ - เสื่อ - เสื้อ 

ความหมาย

ขา หมายถึง อวัยวะตั้งแต่สะโพกถึงข้อเท้า  สำหรับยันกายและเดิน

ถือ  หมายถึง  เอาไว้ในมือ  จับยึดไว้

เสือ  หมายถึง  สัตว์สี่เท้า ดุร้าย คล้ายแมว แต่ตัวใหญ่กว่ามาก  กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร

ทบทวนการแจกลูกสะกดคำ มีคำศัพท์ ดังนี้

1. ช้าง  แจกลูกสะกดคำ   ชอ - อา - งอ - ชาง - ไม้โท = ช้าง

2. เพื่อน แจกลูกสะกดคำ   พอ - เอือ - นอ - เพือน - ไม้เอก = เพื่อน

3. มอง  แจกลูกสะกดคำ   มอ - ออ - งอ   = มอง

ความหมาย

1. ช้าง คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง 

2. เพื่อน คือ  ผู้ชอบพอรักใคร่กัน ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน

3. มอง  คือ  มุ่งดู

เนื้อหา

ภูผาตื่นแต่เช้า รีบไปดูเพื่อนช้างที่อยู่ใน คอก พื่อนทั้งสองยังไม่ตื่น ใบโบกยืนหลับ โยกตัว เบาๆ  แต่ใบบัวนอนตะแคง ภูผาหันหลังกลับจะเดินขึ้นบ้าน เสียงกระดึง แกว่ง กระพรวนส่าย ใบโบกใบบัว ตื่นแล้ว ภูผาเปิดคอกให้เพื่อนช้างออกมา ภูผาจะพาใบโบกใบบัวไปไหนกันนะ ทั้งหมดเดินออกจากหมู่บ้านไปทางภูเขา เดินไปไม่ไกลนัก มีเนินดินอยู่ข้างหน้า  ใบโบก ใบบัว ชูงวง โบกหู แกว่งหาง ส่งเสียง เอิ๊กๆ แอ๊กๆ วิ่งไปทันที  ภูผารู้ใจเพื่อรัก พามากินดินโป่ง เพื่อนรักไม่ชักชา ใช้งวงดูดดิน ป้อนใส่ปาก อร่อยจังๆ  ดินโป่งรสเค็ม มีประโยชน์  ทำให้ร่างกายแข็งแรง และโตเร็ว ทั้งสองกินอิ่มแล้ว ใบโบกใช้หัวดันภูผา  ส่วนใบบัวดึงแขนผูภาไปที่เนินดิน เหมือนจะบอกว่า อร่อยๆกินสิๆ  ภูผาหัวเราะบอกว่าไม่กินๆ คนกินข้าวไม่กินดินโป่ง

บทเรียน เรื่อง เพื่อนรู้ใจ รู้จักคำนำเรื่อง มีคำศัพท์เรียนรู้ ดังนี้

1. ปาก  หมายถึง  อวัยวะของคนและสัตว์สำหรับกินอาหารและใช้ออกเสียง

2. ข้าว  หมายถึง  ชื่อไม้ล้มลุก  เมล็ดใช้เป็นอาหาร

3. แขน  หมายถึง อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง 2 ข้าง

4. คอก หมายถึง  ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด  เช่น  วัว  ควาย  ม้า  หมู 

5. ป้อน   หมายถึง  เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน

6. ภูเขา  หมายถึง  พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ ตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไป

7. ร่างกาย  หมายถึง   ตัว  รูปร่าง 

8. แข็งแรง  หมายถึง    มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย

9. ดูดน้ำ  หมายถึง    สูบน้ำด้วยปาก

10. ดูดดิน หมายถึง    สูบดินขึ้นด้วยงวง  ใช้กับช้าง

11. นอนตะแคง  หมายถึง    อาการนอนเอาข้างลง

หลักการแก้โจทย์ปัญหา

1. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์บอก

2. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม

3. ใช้วิธีหาคำตอบ

4. จะได้ผลลัพะที่ได้

ตัวอย่าง   หนังสือเล่มหนึ่งมี  89  หน้า  อ่านไปแล้ว  65  หน้า   จะอ่านอีกกี่หน้า  จึงจะจบเล่ม

1. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์บอก  คือ  หนังสือเล่มหนึ่งมี  89  หน้า  ,  อ่านไปแล้ว  65  หน้า

2. วิเคราะห์สิ่งที่โจทย์ถาม  คือ  จะอ่านอีกกี่หน้า  จึงจะจบเล่ม

3. ใช้วิธีหาคำตอบ คือ  นำจำนวนหน้าทั้งหมดของหนังสือ ลบ ด้วย จำนวนหน้าหนังสือที่อ่านไปแล้ว

ได้ประโยคสัญลักษณ์  ดังนี้  89 - 65 = ?

4. หาคำตอบได้ คือ 24  ดังนั้นต้องอ่านหนังสืออีก 24 หน้า จึงจะจบเล่ม

สามเณร คือ เด็กชายที่ได้รับการบวชตั้งแต่อายุ 7 ปี ขึ้นไป

สามเณรบัณฑิต เป็นศิษย์ของพระสารีบุตร เป็นสามเณรที่มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จนได้เป็นพระอรหันต์  เพียงอายุ 7 ปี ข้อคิดจากเรื่อง สามเณรบัณฑิต 

ลักษณะของคนมีความขยันใฝ่รู้  และมีความพยายาม

1. รู้จักหน้าที่ตนเอง

2.ซักถามเมื่อสงสัย

3. ตั้งใจ ขยัน อย่างแท้จริง

เมื่อเด็กๆ มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความขยันตั้งใจอย่างแท้จริง จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

เรื่อง  ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่

ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่     จะตั้งไย    ไข่กลม     ก็ล้มสิ้น

ถึงว่าไข่ล้ม      จะต้มกิน   ถ้าตกดิน   เสียก็อด   หมดฝีมือ

ตั้งใจเรานี้จะดีกว่า อุตส่าห์   อ่านเขียน    เรียนหนังสือ

ทั้งวิชา สารพัด เพียร หัดปรือ อย่า ดึงดื้อ  ตั้งไข่ ร่ำไร เอย

ความหมาย

ฝีมือ   หมายถึง   ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ

อุตส่าห์  หมายถึง  อุตสาหะ  คือ  ความบากบั่น  ความขยัน  ความอดทน

สารพัด   หมายถึง  ทั้งหมด ทั้งปวง

เพียร  หมายถึง  บากบั่น

ดึงดื้อ  หมายถึง  ดื้มไม่ยอมฟังเหตุผล

ข้อคิดจากเรื่อง ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่

เราควรเอาเวลาไปใส่ใจกับการเรียนมากกว่าเรื่องเล่นเหมือนอย่างพลอยที่ตอนแรกใช้เวลาไปกับการเล่นเกม แต่พอได้ฟังเรื่องที่พ่อสอนแล้วก็คิดได้ว่า ควรเอาเวลาไปใส่ใจกับการเรียนมากกว่าเล่นเกม เพราะการเล่นเกมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

เนื้อเรื่อง จ้องตากัน

ใบโบกใบบัว   ตัวสั่น      ขาแข็ง

หูไร้เรี่ยวแรง   หางแกว่ง  ไม่ออก

เจองุตัวดำ แลบลิ้น     ล่อหลอก

แม่เบี้ย       แผ่ออก      น่ากลัว นักหนา

จ้องตากกันไป จ้องตากันมา

งูเลื้อยเข้าป่า  ช้างน้อย โล่งใจ

ความหมายของคำ

1. ตัวสั่น   หมายถึง  อาการที่ตัวสั่นไหวถี่ๆ  ด้วยความกลัว

2. แกว่ง  หมายถึง  อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นที ทางนี้ที

3. แม่เบี้ย   หมายถึง  พังพานงู

4. จ้อง   หมายถึง  เพ่งตาดู

5 เลื้อย   หมายถึง  เสือกไปด้วยอก  ใช้กับสัตว์ไม่มีขา  ตัวยาว  เช่น  งูเลื้อย

ข้อคิดจากเรื่อง จ้องตากัน

แม้จะเป็นสัตว์ก็รักชีวิตของตัวเอง เมื่อตกอยู่ในอันตรายก็ต้องต่อสู้  เหมือนกับใบโบก  ใบบัว  แม้จะกลัวงู  แต่ก็สู้ตามที่ตนทำได้นั่นก็คือ  การจ้องตา

 

พยัญชนะที่เป็นอักษรกลาง มีดังนี้   ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ   

วรรณยุกต์ มีทั้งหมด 4 รูป  ได้แก่  ไม้เอก ,  ไม้โท ,  ไม้ตรี  ,  ไม้จัตวา   

วรรณยุกต์มี 5 เสียง  ได้แก่  เสียงสามัญ  เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี  เสียงจัตวา 

อักษรกลางผันได้  5 เสียง  เช่น

1. กา   ผันได้เป็น    กา    ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า

2. ตี    ผันได้เป็น   ตี   ตี่    ตี้  ตี๊  ตี๋

3. ดู    ผันได้เป็น   ดู   ดู่  ดู้  ดู๊  ดู๋

4. แบ  ผันได้เป็น   แบ  แบ่  แบ้   แบ๊  แบ๋

5. โต  ผันได้เป็น   โต  โต่  โต้   โต๊  โต๋

6. ไป  ผันได้เป็น    ไป   ไป่  ไป้  ไป๊  ไป๋

คำและประโยค ในบทเรียน

1. เรือไฟ  หมายถึง เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง  มีขนาดเล็กกว่าเรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : พ่อพาภูผาไปดูเรือไฟที่พิพิธภัณฑ์

2. โป๊ะเรือ  หมายถึง  ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือให้คนขึ้นลง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภูผากำลังเดินไปโป๊ะเรือ เพื่อรอลงเรือ

3. เตี้ย  หมายถึง  ไม่สูง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภัทรสูงจนพลอยรู้สึกเตี้ยไปเลย

4. แม่เบี้ย  หมายถึง  พังพานงู  ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ใบโบกใบบัว เจองูกำลังแผ่แม่เบี้ย

5. เคาะโต๊ะ  หมายถึง  ใช้อวัยวะมือกระทบบนโต๊ะเยาๆ

การเรียบเรียงคำและประโยค  : นักเรียนกำลังเคาะโต๊ะเล่นในห้องเรียน

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์

1. ข้อมือ  หมายถึง ข้อต่อระหว่างมือและแขนช่วงใต้ข้อศอก

การสะกดคำ  ขอ - ออ - ขอ -ไม้โท - ข้อ  + มอ - อือ - มือ  อ่านว่า  ข้อมือ

2. เจอเสือ  หมายถึง  พบหรือเห็นเสือที่เป็นสัตว์ดุร้าย 

การสะกดคำ  จอ - เออ - เจอ  + สอ - เอือ - เสือ  อ่านว่า  เจอเสือ

3. เกาะขา  หมายถึง  จับหรือยึดขาเอาไว้

การสะกดคำ  กอ - เอาะ - เกาะ + ขอ - อา - ขา  อ่านว่า  เกาะขา

4. ไปเถอะ  หมายถึง การขอร้อง หรือวิงวอน ให้ออกจากที่ตรงนั้น

การสะกดคำ   ปอ - ไอ - ไป + ถอ - เออะ - เถอะ  อ่านว่า  ไปเถอะ

5.โป๊ะไฟ  หมายถึง โคมไฟ  หรือ เสาไฟตามท้องถนน

การสะกดคำ ปอ - โอ๊ะ - โป๊ะ + ฟอ - ไอ - ไฟ  อ่านว่า   โป๊ะไฟ