บทความล่าสุด

แผนผัง คือ ภาพย่อส่วนของสิ่งต่างๆ เพื่อแสดงตำแหน่งสิ่งต่างๆ หรือ สถานที่ต่างๆ แทนด้วยสัญลักษร์ต่าง เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม การใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์  มีเนื้อหาตัวอย่างดังนี้

1. เอะอะ  หมายถึง อึกทึก ทำเสียงดังโวยวาย มีการแจกลูก สะกดคำดังนี้  เอะอะ  มาจาก  อ ประสมกับ สระ เอะ อ่านว่า เอะ  คำว่า  อะ  มาจาก อ ประสมกับ  สระ อะ  อ่านว่า  อะ

2. ในน้ำ   สะกดว่า   นอ - ใอ  อ่านว่า  ใน  /  นอ - อำ -  นำ - ไม้โท อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  ในน้ำ

3. แม่น้ำ  สะกดว่า   มอ - แอ - แม - ไม้เอก  อ่านว่า  แม่  /   นอ - อำ - นำ - ไม้โท  อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  แม่น้ำ

4. แนะนำ  สะกดว่า  นอ - แอะ  อ่านว่า แนะ  /  นอ - อำ อ่านว่า นำ     รวมเป็น  แนะนำ

5. เช้าค่ำ   สะกดว่า  ชอ - เอา - เชา - ไม้โท  อ่านว่า เช้า  / คอ - อำ - คำ - ไม้โท  อ่านว่า  ค่ำ  รวมเป็น  เช้าคำ

ท้องฟ้าที่เรามองเห็นจะมีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลม   เมื่อเราออกไปยืนสังเกตในบริเวณที่โล่ง บนท้องฟ้าเราสามารถมองเห็น ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  และเมฆ  

ท้องฟ้าเวลากลางวัน จะสว่างสดใส สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ และเมฆ

ท้องฟ้าเวลากลางคืน จะมืด เราจะมองเห็นดวงจันทร์ และดวงดาว 

เมฆ เกิดจากละอองน้ำที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ หรือท้องฟ้า 

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์  ทำให้ท้องฟ้าที่เรามองเห็นในตอนกลางวันและกลางคืนแตกต่างกัน นั่นคือ กลางวันจะสว่าง เพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่กลางคืนจะมืดเพราะไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์

ทิศสามารถระบุสิ่งต่างๆที่รอบตัว การรู้ทิศนั้นจะทำให้เรารู้ตำแหน่งของสิ่งต่างๆรอบตัวได้ ทิศหลัก มีทั้งหมด 4 ทิศ  ได้แก่  ทิศเหนือ  ทิศใต้  ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก  

ทิศตะวันออกจะอยู่ทางพระอาทิตย์ขึ้นเมื่อเราหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ขึ้นนั่นคือเรากำลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และหันหลังให้ทิศตะวันตก เมื่อเรายืนอยู่ตำแหน่งเดิมแล้วกางมืออก

นั่นแปลว่า ด้านมือซ้าย คือทิศเหนือ  และด้านมือขวา คือทิศใต้ 

ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออก  และดวงอาทิตย์ก็ตกทางทิศตะวันตก 

เข็มทิศ สามารถใช้ดูทิศได้   N  คือทิศเหนือ  ,  S คือ ทิศใต้   ,   E  คือทิศตะวันออก    ,  W  คือทิศตะวันตก

เครื่องมือช่วยดูทิศ

1. การดูทิศโดยการใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก

2. การดูทิศโดยใช้เข็มทิศ

สื่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  ชั้น ป.1 เรื่อง แบบรูปของรูปเรขาคณิต  ตอนที่ 2

     ความสัมพันธ์ของแบบรูปเรขาคณิต ในบทเรียนนี้เป็นความสัมพันธ์ของขนาดรูปร่างเช่น เล็กใหญ่ หรือ สูงต่ำ ทรงกลม สามเหลี่ยม เป็นต้น โดยการเรียงลำดับความสัมพันธ์ เช่น รูปที่หนึ่งวงกลม รูปที่สองสี่เหลี่ยม รูปที่สามวงกลม รูปที่สี่ สี่เหลี่ยม ซึ่งการเรียงลำดับดังกล่าวเรียกว่า ความสัมพันธ์ของแบบรูปเรขาคณิต

ในบทเรียนนี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนคำสะกดที่มีสระดังนี้ 

1. สระอำ   มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  กำ   คำว่า  กำ  มาจาก  ก ประสมกับสระอำ  สะกดว่า  กอ - อำ = กำ

2. สระเอา  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เกา   คำว่า  เกา  มาจาก  ก ประสมกับสระเอา  สะกดว่า  กอ - เอา = เกา

3. สระเอะ  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เตะ   คำว่า  เตะ  มาจาก  ต ประสมกับสระเอะ  สะกดว่า  ตอ - เอะ = เตะ

4. สระแอะ มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  แกะ   คำว่า  แกะ  มาจาก  ก ประสมกับสระแอะ  สะกดว่า  กอ - แอะ = แกะ

คำศัพท์ น่ารู้  

1. กำ  หมายถึง จับของอยู่ในมือ

2. ขำ  หมายถึง อาการที่เราหัวเราะชอบใจ

3. เกา  หมายถึง การเอาเล็บไปถูบริเวณที่รู้สึกคัน

4. เตา  หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร ใช้ฟืนหรือถ่านเป็นตัวให้ความร้อน

5. เละ  หมายถึง เปื่อย หรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เตะ  หมายถึง วัด หรือเวี่ยงด้วยเท้า

7. แกะ หมายถึง ชื่อสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะ ขนเป็นปุยหา ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม

8. แตะ หมายถึง ถูกต้องแต่เพียงเบาๆ หรือนิดหน่อย

ประโยชน์ของดินที่มีต่อมนุษย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพราะ อาหารได้มาจากการปลูกพืชที่ใช้ดินปลูก

กาเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ดินในการกินอยู่ เครื่องนุ่งห่ม มาจากฝ้ายที่ใช้ใช้ดินปลูก ที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างบนดิน และยารักษาโรคบางชนิดสกัดจากสมุนไพรที่ใช้ดินปลูก

ดินเป็นทรัพยากรที่เมื่อสูญเสียไปแล้วไม่อาจจะฟื้นคืนได้ หรืออาจจะต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆปี ที่ธรรมชาติจะสร้างดินขึ้นมาใหม่

การอนุรักษ์ดิน จะทำให้ดินเกิดความอุดมสมบรูณ์ มีสภาพที่เหมาะสมกับการปลูกพืช  

วิธีการอนุรักษ์ดิน มีดังนี้

1. ไม่ทิ้ง หรือฝังกลบ ขยะมูลฝอย และสารเคมีที่เป็นพิษลงดิน

2. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

3. ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพของดิน

4. ช่วยกันปรับปรุงดิน เช่นการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน

ดังนั้น  ดินจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะประโยชน์ของดินโดยตรง คือ เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนประโยชน์ของดินที่มีต่อพืช คือ เป็นแหล่งสะสมน้ำ

และธาตุอาหารที่พืชต้องการ ในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดินยังเป็นที่อยู่อาศียของสัตว์ และสัตว์บางชนิดก็อาศัยอยู่ใต้ดิน  เช่น มด  ปลวก  และไส้เดือน  เป็นต้น

สื่อการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ฯ ชั้น ป.1  เรื่อง บอกได้ไหม ใกล้ ไกล  เพียงใด  

ระยะทาง หมายถึง ระยะห่างของตำแหน่งต่างๆจากจุดเริ่มต้นทำให้รู้ว่า สิ่วใดอยู่ใกล้ สิ่งใดอยู่ไกล

การหาระยะทาง มี 2 วิธี

1. หาระยะทางโดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย   เช่น  การนับคืบ  การนับก้าว 

2. หาระยะทางโดยใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน  เช่น  การใช้ไม้บรรทัด  การใช้ไม้เมตร  การใช้สายวัด  การใช้ตลับเมตร  การหาระยะแบบใช้เครื่องมือแม่นยำกว่าการหาระยะโดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย  

แบบรูปจำนวน คือ การเรียงลำดับรูป เช่น รูปที่หนึ่ง เป็นรูป วงกลม รูปที่สองเป็นรูป สามเหลี่ยม รูปที่สามเป็นรูปวงกลม รูปที่สี่เป็นรูป สามเหลี่ยม รูปที่ห้า เป็นรูป อะไร คำตอบ คือ รูปวงกลม ซึ่งการเรียงลำดับลักษณะแบบนี้ เราจะเรียกว่า แบบรูปของรูปเรขาคณิต

สื่อการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย ชั้นป.1 เรื่อง อักษรต่ำ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายไม้ยมก

อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่ ค , ฅ , ฆ , ง , ช , ซ , ฌ , ญ , ฑ , ฒ , ณ , ท , ธ , น , พ , ฟ , ภ , ม , ย , ร , ล , ว , ฬ และ ฮ

สระในบทเรียนนี้ เราจะเรียนรู้ สระ อำ  สระ เอะ  สระแอะ และสระ เอา โดยมีคำศัพท์ที่ประสมด้วยสระ ดังนี้

1. ทำ  หมายถึง กระทำ ประกอบขึ้น ผลิตขึ้น สร้างขึ้น ก่อขึ้น

2. รำ   หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหว โดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับ จังหวะเพลงร้อง หรือ เพลงดนตรี

3. เงา  หมายถึง ส่วนที่มืด เพราะมีวัตถุบังแสงทำให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น

4. เทา  หมายถึง หม่นๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา

5. เละ  หมายถึง   เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เกะกะ   หมายถึง   กีดขวาง  ไม่เป็นระเบียบ

7. แซะ  หมายถึง  เอาเครื่องแบนๆ เช่นตะหลิว หรือเสียมแทงเบาๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม  

8. แทะ    หมายถึง   เอาฟันหน้ากัดให้หลุดออกมาทีละน้อยๆ

สื่อการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นป.1  เรื่อง ดินมีลักษณะอย่างไร 3

การอุ้มน้ำของดิน หมายถึง ความสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน ซึ่งดินต่างชนิดกันก็จะอุ้มน้ำได้ไม่เท่ากัน ดินที่มีความสามารถกักเก็บน้ำได้ดี และน้ำไหลผ่าน

ดินออกน้อยแสดงว่า ดินนั้นมีการอุ้มน้ำที่ดี  

ดินที่มีเนื้อหยาบ เนื้อดินไม่ยึดติดกัน ทำให้การอุ้มน้ำของดินชนิดนี้ทำได้ไม่ดี ได้แก่ ดินร่วน  

ดินที่มีเนื้อละเอียด เนื้อดินจะยึดติดกันแน่น ทำให้การอุ้มน้ำของดินชนิดนี้ทำได้ดีกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ ดินชนิดนี้ ได้แก่ ดินเหนียว  

ดินที่มีเนื้อหยาบ  เมื่อเทน้ำลงไป น้ำจะไหลผ่านดินอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำ ได้แก่ ดินทราย