บทความล่าสุด

การจำแนกสัตว์ตามโครงสร้าง  มีดังนี้

1. ขนาด   2. ขา   3. เขา   4. หาง   5. ขน

ขนาดของสัตว์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง  แรด  วาฬ

2. สัตว์ที่มีขนาดเล็ก  เช่น  ปลา  กระรอก  กระต่าย

3.สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาก  เช่น  มด  เห็บ  ยุง

โครงสร้างภายนอกของสัตว์   ได้แก่ อวัยวะภายนอกที่สำคัญต่อสัตว์  เช่น จมูกใช้สำหรับหายใจ  ,  ตา ช่วยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ  ,  หู ใช้สำหรับฟัง , ปาก ใช้สำหรับกินอาหาร , ขา และเท้า ใช้สำหรับเคลื่อนที่และรับน้ำหนักตัว  

สัตว์แต่ละชนิดมีโครงสร้างภายนอกที่แตกต่างกัน  เช่น  หมี สุนัข มีขน  แต่ กิ้งกา จิ้งจก  ไม่มีขน  

ขน ของสัตว์ ช่วยปกป้องความเย็น ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 

หาง ของสัตว์  ใช้สำหรับยึดเกาะห้อยโหน  ไล่แมลง   และสามารถใช้แสดงความรู้สึกได้  เช่น  หางของแมว

วิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง  รู้จักสัตว์  ในบทเรียนนี้จะพานักเรียนไปรู้จักสัตว์ต่างๆที่อยู่ในสวนสัตว์ ซึ่งมีทั้งสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อ เช่น  สัตว์ ที่เราควรรู้จัก มีทั้งสัตว์บก  สัตว์น้ำ  สัตว์มีปีก  สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์บก เช่น   สิงโต  เสือ   ช้าง

สัตว์น้ำ  เช่น  ปลา   แมวน้ำ  กุ้ง

สัตว์เลื้อยคลาน  เช่น  งู   เป็นต้น

สัตว์กินพืช  เช่น  ยีราฟ  ,  ช้าง  ,  ม้าลาย  ,    กระต่าย 

สัตว์กินเนื้อ  เช่น  เสือ  ,  สิงโต  ,  จระเข้  

ข้อคิด

- สัตว์บกที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก  คือ ช้าง  

- สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมือนกับพืช แตกต่างกันตรงที่สัตว์เคลื่อนที่ได้

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา สามารถแบ่งได้เป็น  2  ประเภท คือ สิ่งมีชีวิต และ สิ่งไม่มีชีวิต 

สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรา  ได้แก่  พ่อแม่  ปู่ย่า ตายาย คุณครู เพื่อน ผ๊เสื้อ แมว นก กระต่าย ต้นไม้  และดอกไม้ต่างๆ

สิ่งไม่มีชีวิตรอบตัวเรา  ได้แก่   บ้าน รถยนต์  ก้อนหิน วัด สะพาน โรงเรียน รั้วบ้าน 

ลักษณะสำคัญของ สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต 

1. สิ่งมีชีวิต จะกินอาหารและน้ำได้      สิ่งไม่มีชีวิต  จะกินอาหารและน้ำไม่ได้

2. สิ่งมีชีวิต จะหายใจได้                   สิ่งไม่มีชีวิต จะหายใจได้ไม่ได้

3. สิ่งมีชีวิต จะเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวได้   สิ่งไม่มีชีวิต จะจะเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวไม่ได้ 

สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา หรือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ต้นไม้ ผีเสื้อ ดอกไม้ คน วัด โรงเรียน สมุด ดินสอ รถยนต์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา

ในบทเรียนนี้ เราจึงมาทำความรู้จักกับ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราภายในโรงเรียน จากการไปสำรวจรอบโรงเรียนของภัทรและ พลอย 

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต สามารถเจริญเติบโต เคลื่อนไหวและตอบสนองต่อสิ่งเร้า หายใจ ขยายพันธุ์ ดูดน้ำและธาตุอาหารได้  

พืชมีหลายประเภท เช่น  พืชมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก   พืชขึ้นอยู่บนบก  พืชที่เกาะบนต้นไม้ต่างๆ  และพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำที่มีแสงสว่าส่องถึง 

ประโยชน์ของพืช

1. ให้แก๊สออกซิเจน สำหรับให้คนและสัตว์หายใจ

2. ใช้เป็นอาหาร

3. ใช้เป็นยารักษาโรค

4. ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม

5. สร้างเป็นที่อยู่อาศัย

พืชในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไป  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า พืชเป็นสิ่งที่มีชีวิต มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ขึ้นอยู่บนบก และ ในน้ำ หรือบนต้นไม้อื่น

เราได้ประโยชน์จากพืช มากมาย เช่น พืชให้แก๊สออกซิเจน เพื่อใช้ในการหายใจ  เรานำพืชมาเป็นเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยได้อีกด้วย

พืชมีพิษ  เป็นพืชที่มีสารหรือส่วนที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ 

พืชมีพิษ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม 

1. กลุ่มที่เป็นพิษจากการสัมผัส

2. กลุ่มที่เป็นพิษจากการบริโภค 

- กลุ่มที่มีพิษจากการสัมผัส  ซึ่งพืชในกลุ่มนี้จะทำให้คนหรือสัตว์ที่ไปสัมผัสเกิดอาการคัน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง  

- กลุ่มที่มีพิษจากการบริโภค อันตรายจากการบริโภคหรือหายใจเข้าไป พืชกลุ่มนี้จะทำให้คนหรือสัตว์ที่บริโภคหรือหายใจเอาสารพิษเข้าไปเกิดอาการวิงเวียน  อาเจียน  ระคายคอ  ลิ้นชา  ปวดท้อง  ท้องเดิน  ถ้าแก้ไขไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

การรับประทานอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยเห็ด ควรรับประทานแต่พอควร อย่ารับประทานมากจนอิ่มมากเกินไป เพราะเห็ด เป็นอาหารที่ย่อยยาก 

สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา จะมีสิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยอยู่ ซึ่งมีทั้ง สิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ และ สิ่งมีชีวิตที่เป็นพืช  

- สิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ สามารถเคลื่อนที่ได้  เช่น กระต่าย สุนัข  แมว   แต่บางชนิดก็เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น ปะการัง  ฟองน้ำ  

- แต่สิ่งมีชีวิตที่เป็นพืช จะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ 

ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิต รอบๆตัวเรา ที่เป็นสัตว์  ได้แก่ กระต่าย  นก  สุนัข  แมว  หนู  มด  กระรอก  วัว  หนอน  หอยทาก  ผีเสื้อ  ปลา   ช้าง  กวาง  หมี  สิงโต  เสือ  เป็นต้น

 

ดอก หรือ ดอกไม้  เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของพืช มีรูปร่าง สีสัน กลิ่น แตกต่างกันออกไป บางชนิดมีสีสันสวยงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม  และบางชนิดไม่มีกลิ่น

ดอกไม้  มีส่วนประกอบดังนี้

1. กลีบเลี้ยง ทำหน้าที่ ป้องกันอันตรายจากศัตรูพืช

2. กลีบดอก  ทำหน้าที่ ล่อแมลงให้มาผสมเกสร

3. เกสรเพศผู้  ทำหน้าที่ สร้างละอองเพื่อผสมพันธุ์

4. เกสรเพศเมีย  ทำหน้าที่  ดักละอองเรณู มีส่วนในการผสมพันธุ์

ดอกไม้มีหน้าที่ในการสืบพันธุ์  ใช้กลิ่นหอมและสีสันในการล่อแมลง  

ใบ เป็นส่วนประกอบของพืช มีหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเป็นอาหาร ทำหน้าที่หายใจ และคายน้ำ

ส่วนประกอบของใบ มีดังนี้

1. แผ่นใบ

2. ก้านใบ 

3. หูใบ


สื่อการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1