บทความล่าสุด

วิทยาศาสตร์  คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาต่อไปในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์ คือ  กลุ่มคน หรือบุคคล   ที่ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์  จนมีความเชียวชาญ และได้นำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฏเกณฑ์ หรือ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป 

นักวิทยาศาสตร์  จะต้องเป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  มีเหตุมีผล  มีความพยายามและอดทน 

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของไทย  คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  พระองค์ทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า  จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และโลก  จะโคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน จะเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์  เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์มิดหมดทั้งดวง  เรียกว่า  สุริยุปราคาเต็มดวง  โดยคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดที่ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ประเทศไทยจึงกำหนดวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ดวงดาว คือ วัตถุบนท้องฟ้าที่ส่องแสงสว่าง ระยิบระยับบนท้องฟ้า ในเวลากลางคืน   ในเวลากลางวันเรามองไม่เห็นดวงดาว เพราะว่า แสงจากดวงอาทิตย์ สว่างจ้ากว่าแสงของดวงดาวอื่นๆ 

การทดลอง เรื่อง ดวงดาวหายไปไหน

มีอุปกรณ์ ดังนี้ 

1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง

2. ประดาษแข็งขนาดเล็กกว่าซองจดหมาย

3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น

4. ไฟฉาย

วิธีทำการทดลอง

1. เจาะรูกระดาษแข็ง  10 รู 

2. นำกระดาษแข็งไปใส่ในซองจดหมาย

3. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าซองจดหมาย

6. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าหน้าซองจดหมาย

ผลการทดลอง

1. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหน้าของซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างของไฟฉาย

2. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหลังของซองจดหมายจะเห็นแสงของไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็กๆ

ดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลก ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงที่เราเห็นจากดวงจันทร์เกิดจาก  แสงของดวงอาทิตย์ส่องไปกระทบดวงจันทร์ แล้วแสงนั้นก็สะท้อนกลับมายังโลก กลางคืนที่มีดวงจันทร์ จึงไม่สว่างเท่ากลางวันที่มีดวงอาทิตย์ 

เราเห็นดวงจันทร์ได้อย่างไร  ทำไมเราถึงมองเห็นดวงจันทร์   เพราะเมื่อแสงดวงอาทิตย์ส่องมายังโลก ด้านของโลกที่ได้รับแสงจะเป็นเวลากลางวัน  และด้านของโลกที่ไม่ได้รับแสง จะเป็นเวลากลางคืน  และดวงจันทร์ที่อยู่ห่างออกไป ก็ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกันทำให้คนที่อยู่ในฝั่งเวลากลางคืนสามารถมองเห็นแสงของดวงจันทร์ที่สะท้อนมายังโลก

ลักษณะของดวงจันทร์  พื้นผิวของดวงจันทร์  เป็นพื้นที่สูง  ขรุขระ  และพื้นที่ต่ำ ค่อนข้างราบเรียบ ซึ่งพื้นผิวส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยผงฝุ่นละเอียด 

ท้องฟ้าในเวลากลางวัน เราสามารถเห็นอะไรได้หลายๆอย่าง เช่น ดวงอาทิตย์  ก้อนเมฆ  นก  เครื่องบิน เป็นต้น

ดวงอาทิตย์   มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีขนาดใหญ่กว่าโลก  สาเหตุที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเล็ก เพราะ ดวงอาทิคย์อยู่ห่างจากโลกมากประมาณ  150  ล้านกิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างในตัวเอง จึงทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างได้  ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  แสงของดวงอาทิตย์จะส่องมายังโลกทำให้เกิดเวลากลางวัน  แสงจากดวงอาทิตย์เมื่อส่องมายังโลก ด้านที่โลกได้รับแสงดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางวัน  ส่วนด้านที่ไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางคืน 

ประโยชน์ของดวงอาทิตย์

1. ดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์  ให้แสงสว่าง และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

2. ดวงอาทิตย์มีประโยชน์ต่อพืช เพราะพืชต้องอาศัยแสงในการสังเคราะห์ช่วยในการสร้างอาหาร

ผลกระทบของดวงอาทิตย์

1. ผลกระทบต่อมนุษย์  แสงจากดวงอาทิตย์เป็นอันตรายต่อผิวหนัง

2. แสงแดดจ้าในช่วงกลางวันเป็นอันตรายต่อดวงตา

ท้องฟ้าในเวลากลางวันจะมีความแตกต่างจากท้องฟ้าในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ทำให้เราเห็นเมฆลอยบนท้องฟ้า ส่วนในเวลกลางคืนเราไม่เห็นก้อนเมฆเพราะไม่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์

ดังนั้นตอนกลางวัน แสงของดวงอาทิตย์จะสว่างกว่าแสงของดวงดาว จึงทำให้เรามองไม่เห็นแสงของดวงดาวบนท้องฟ้า

ท้องฟ้าที่เรามองเห็นจะมีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลม   เมื่อเราออกไปยืนสังเกตในบริเวณที่โล่ง บนท้องฟ้าเราสามารถมองเห็น ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์  และเมฆ  

ท้องฟ้าเวลากลางวัน จะสว่างสดใส สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ และเมฆ

ท้องฟ้าเวลากลางคืน จะมืด เราจะมองเห็นดวงจันทร์ และดวงดาว 

เมฆ เกิดจากละอองน้ำที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ หรือท้องฟ้า 

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์  ทำให้ท้องฟ้าที่เรามองเห็นในตอนกลางวันและกลางคืนแตกต่างกัน นั่นคือ กลางวันจะสว่าง เพราะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่กลางคืนจะมืดเพราะไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์

ประโยชน์ของดินที่มีต่อมนุษย์ เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค เพราะ อาหารได้มาจากการปลูกพืชที่ใช้ดินปลูก

กาเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ดินในการกินอยู่ เครื่องนุ่งห่ม มาจากฝ้ายที่ใช้ใช้ดินปลูก ที่อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างบนดิน และยารักษาโรคบางชนิดสกัดจากสมุนไพรที่ใช้ดินปลูก

ดินเป็นทรัพยากรที่เมื่อสูญเสียไปแล้วไม่อาจจะฟื้นคืนได้ หรืออาจจะต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆปี ที่ธรรมชาติจะสร้างดินขึ้นมาใหม่

การอนุรักษ์ดิน จะทำให้ดินเกิดความอุดมสมบรูณ์ มีสภาพที่เหมาะสมกับการปลูกพืช  

วิธีการอนุรักษ์ดิน มีดังนี้

1. ไม่ทิ้ง หรือฝังกลบ ขยะมูลฝอย และสารเคมีที่เป็นพิษลงดิน

2. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า

3. ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพของดิน

4. ช่วยกันปรับปรุงดิน เช่นการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน

ดังนั้น  ดินจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะประโยชน์ของดินโดยตรง คือ เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนประโยชน์ของดินที่มีต่อพืช คือ เป็นแหล่งสะสมน้ำ

และธาตุอาหารที่พืชต้องการ ในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดินยังเป็นที่อยู่อาศียของสัตว์ และสัตว์บางชนิดก็อาศัยอยู่ใต้ดิน  เช่น มด  ปลวก  และไส้เดือน  เป็นต้น

สื่อการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นป.1  เรื่อง ดินมีลักษณะอย่างไร 3

การอุ้มน้ำของดิน หมายถึง ความสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน ซึ่งดินต่างชนิดกันก็จะอุ้มน้ำได้ไม่เท่ากัน ดินที่มีความสามารถกักเก็บน้ำได้ดี และน้ำไหลผ่าน

ดินออกน้อยแสดงว่า ดินนั้นมีการอุ้มน้ำที่ดี  

ดินที่มีเนื้อหยาบ เนื้อดินไม่ยึดติดกัน ทำให้การอุ้มน้ำของดินชนิดนี้ทำได้ไม่ดี ได้แก่ ดินร่วน  

ดินที่มีเนื้อละเอียด เนื้อดินจะยึดติดกันแน่น ทำให้การอุ้มน้ำของดินชนิดนี้ทำได้ดีกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ ดินชนิดนี้ ได้แก่ ดินเหนียว  

ดินที่มีเนื้อหยาบ  เมื่อเทน้ำลงไป น้ำจะไหลผ่านดินอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำ ได้แก่ ดินทราย

ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย มีลักษณะเนื้อดินที่ต่างกัน ดินเหนียวจะมีความเหนียวสามารถปั้นได้ดีที่สุดเพราะมีเนื้อดินที่เหนียว ละเอียด สามารถจับตัวกันได้ดี เหมาะแก่การปั้น ดินร่วน สามารถปั้นได้แต่เนื้อดินจะแตก เพราะมีเนื้อหยาบไม่ละเอียด จึงมีการจับตัวที่ไม่ดี ส่วนดินทรายนั้นไม่สามารถปั้นได้ เพราะเนื้อดินจับตัวได้ไม่ดี และน้ำจะเป็นตัวช่วยผสมทำให้เราสามารถปั้นดินได้

สื่อการเรียนรู้ วิชา วิทยาศาสตร์ ป.1 เรื่อง  ดินมีลักษณะอย่างไร 1

สีของดิน เป็นสมบัติชนิดหนึ่งของดิน ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องที่ และชนิดของดิน สีดำของดินที่เห็น เกิดจากการที่ดิน มีซากพืชซากสัตว์ หรืออินทรีย์วัตถุสูง ทำให้ดินมีความสมบรูณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก  ดินจะมีสี และเนื้อดินต่างกันออกไปตามชนิดและวัตถุต้นกำเนิดของดิน 


สื่อการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1