บทความล่าสุด

คิดก่อนแชร์ (Be Internet Smart)  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนคิดก่อนโพสต์ สร้างแนวทางว่าการสื่อสารแบบใดเหมาะสม เก็บข้อมูลส่วนตัวไว้ให้เป็นส่วนตัว อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อทุกคนที่ใช้งาน ผ่านข้อความ รูปภาพ และการสนทนา การเชื่อมต่อต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า "ร่องรอยดิจิทัล" ที่คนอื่นมองเห็นได้ เราจึงต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะแชร์อะไร และแชร์ให้ใครในโลกออนไลน์ 

"คิดก่อนโพสต์"  เป็นการเคารพความเป็นส่วนตัวของตัวเองและของคนอื่น  เมื่อเราเห็นโพสต์ ความคิดเห็น และรูปภาพของคนอื่น เราก็จะเดาเกี่ยวกับตัวเขาไปต่างๆ นานาโดยไม่ได้ถูกเสมอไป โดยเฉพาะถ้าไม่ใช่คนรู้จัก นั่นเพราะสิ่งที่เราเห็นในโลกออนไลน์เป็นแค่ส่วนหนึ่งของตัวตนและ สิ่งที่เขาให้ความสำคัญเท่านั้น เขาอาจแสร้งเป็นใครสักคนก็ได้เช่นกัน หรือเป็นแค่สิ่งที่รู้สึกเฉพาะช่วงเวลาที่โพสต์เท่านั้น เราไม่มีทางรู้แน่ชัดว่าเขาเป็นใครหรือรู้สึกอย่างไรจนกว่าจะได้รู้จักกันจริงๆ และถึงรู้จักแล้วก็ยังต้องใช้เวลาอีกด้วย เพราะคนแต่ละคนนั้นมีความคิดที่แตกต่างกัน จึงอย่าด่วนสรุปว่าคนทุกคนในโลกออนไลน์จะมีความคิดแบบเดียวกับเรา

 

 

Be Internet Awesome   เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง Google และ Internet  Keep Safe Coalition (iKeepSafe.org)  ออกแบบมาเพื่อสอนทักษะที่จำเป็นให้แก่เด็กๆ ในการเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและชาญฉลาด

หลักสูตร Be Internet Awesome จะทำให้คุณครูมีเครื่องมือและวิธีการที่จำเป็นสำหรับการสอนเรื่องหลักพื้นฐานของความปลอดภัยและการเป็นพลเมืองดิจิทัลในชั้นเรียน เนื้อหาบทเรียนต่างๆ จะอธิบายการสอนที่สำคัญๆ ให้แก่คุณครูเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในการเป็นพลเมืองที่ปลอดภัยและประสบความสำเร็จในการใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างกัน บทเรียนเหล่านี้ได้รับการเสริมด้วยเทคนิคแบบการเล่นเกม โดยใช้ Interland (g.co/Interland) ซึ่งเป็นเกมผจญภัยออนไลน์ที่ทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยและการเป็นพลมืองในโลกดิจิทัลเป็นเรื่องสนุกสนานและเกิดการโต้ตอบกันแบบเดียวกับการใช้อินเทอร์เน็ต

สร้างข้อสอบออนไลน์ พร้อมตรวจคำตอบให้คะแนน และเฉลยคำตอบได้ทันที ด้วย Google Form มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

วิธีการสร้างข้อสอบออนไลน์ด้วย Microsoft Form  มีวิธีการสร้างข้อสอบที่ง่าย และเมื่อสร้างข้อสอบเสร็จแล้ว ผู้สอบสามารถรู้คะแนนสอบ และคำตอบหลังจากที่ทำข้อสอบได้ทันที Microsoft Form สามารถสร้างข้อสอบได้ง่าย และรวดเร็ว เพียงผู้สร้างข้อสอบ หรือ คุณครูที่ต้องการสร้างข้อสอบออนไลน์โดยใช้ Microsoft Form จะต้องมีบัญชี Hotmail หรือ Outlook ก็สามารถสร้างข้อสอบได้แล้ว

จุดเด่นของการสร้างข้อสอบด้วย Microsoft Form  คือ ผู้สร้างข้อสอบ หรือคุณครู สามาถเลือกคำตอบที่ถูกต้อง และให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อได้ทันที อีกทั้งยังสามารถ ส่งลิงค์ข้อสอบทั้งแบบข้อความ และ QR CODE ไปยังผู้สอบได้ เมื่อผู้สอบหรือนักเรียนที่เข้ามาทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ก็สามารถรู้คะแนนของตนเอง และรู้คำตอบที่ถูกต้องของข้อสอบที่ตนเองทำได้ทันที และผู้สร้างข้อสอบหรือคุณครู ก็สามารดูคะแนนที่นักเรียนตอบได้อีกด้วย  วิธีการสร้างข้อสอบออนไลน์ด้วย Microsoft Form มีดังนี้

ประโยชน์ของการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ

การเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดความสำคัญดังนี้

1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือพัฒนาโครงงาน อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คืออะไร

          การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คือกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้น ทีละตอน รวมทั้งการย่อยปัญหาที่ช่วยให้รับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนหรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้วิธีคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็นในการพัฒนา แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกันวิธีคิดนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในวิชาต่าง ๆ ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อมีการบูรณาการวิธีคิดเชิงคำนวณผ่านหลักสูตรในหลากหลายแขนงวิชา นักเรียนจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชารวม ทั้งสามารถนำวิธีคิดที่เป็นประโยชน์นี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

          การคิดเชิงคำนวณ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาของมนุษย์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)

          การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เป็นทักษะการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้

          “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”

          เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมาย ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8CS) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้

องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณ

          องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณมีขอบเขตของการเรียนการสอนโดยเน้น 3 องค์ความรู้ ดังนี้

  1. การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นวิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการ มองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิด โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่าง
  2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุค 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะ เป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และประยุกต์สร้างสรรค์งานได้อย่าง เหมาะสม
  3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and Information Literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

Coding คืออะไร

     Coding คือ การเขียนโค้ดด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC C, Pascal, Assemble เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่ง ของการเขียนโปรแกรม เราเรียกโค้ดที่ได้ว่า Source Code และเมื่อเราทำการ Coding แล้ว เราจะนำเอาโค้ดที่ได้ไปทดสอบและประมวลผล เพื่อดูว่าโปรแกรมที่ได้จากการ Coding นี้เป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ ก่อนจะนำโปรแกรมที่เรียบร้อยแล้วไปประยุกต์ใช้งานต่อไป  การโค้ดดิ้ง คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการเขียนโปรแกรม เราเรียกขั้นตอนนี้ว่าเป็นการทำโปรแกรมขึ้นจริง (Implementation of the Algorithm) โดยใช้ภาษาโปรแกรมใด ๆ ที่เหมาะสมกับงานของ

เราสามารถใช้ Google Drive สร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ได้ง่ายๆ โดยขั้นแรกเราจะต้องมีบัญชี G-Mail ก่อน จากนั้นเราก็เข้าสู่ระบบอีเมล์ของเรา ซึ่งจะต้องเป็นอีเมล์ที่มีแอดเดรสเป็น gmail นั่นคือ @gmail.com  เมื่อเราเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มสร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ได้เลย โดยคลิกเข้า Google Drive จากนั้นเลือก Google Form และติดตั้งส่วนเสริม คือ Form Publisher นี่คือขั้นตอนหลักในการสร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online  ขั้นตอนการสร้าง เกียรติบัตร  วุฒิบัตร Online โดยละเอียด มีดังนี้

แปลงไฟล์ภาพถ่ายที่เป็นข้อความ ให้เป็นตัวอักษรข้อความในเอกสาร ด้วย Google ไดร์ฟ และ Google Doc

1. เข้าสู่ระบบอีเมล์ ด้วยบัญชีกูเกิ้ล ของเรา

2. จากนั้นคลิกที่เมนูรวม

3. เลือกไดรฟ์