บทความล่าสุด

การสะกดคำมาตราแม่กก และแม่กด

ความหมายของคำ 

1. ปาก  หมายถึง  อวัยวะที่อยู่บริเวณใบหน้า  มีลักษณะเป็นช่องสำหรับกินอาหาร และใช้สำหรับเปล่งเสียง

2. ถูก  หมายถึง  ความจริงหรือสิ่งที่กำหนดไว้

3. โบก  หมายถึง  ทำให้เคลื่อนไหวไปมา

4. ผูกเชือก  หมายถึง  เอาเชือกสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน  เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่นๆ

5. ปลูกผัก  หมายถึง  เอาเมล็ดใส่ลงในดิน หรือสิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต

เรื่อง ทบทวนการผันวรรณยุกต์

อักษรไทย แบ่งได้เป็น  อักษรกลาง  อักษรสูง  และอักษรต่ำ

อักษรกลาง   ผันวรรณยุกต์   ได้  5  เสียง  ได้แก่  เสียง สามัญ  เอก  โท  ตรี  จัตวา    เช่น  กา   ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า

อักษรสูง  ผันวรรณยุกต์   ได้ 3  เสียง  ได้แก่  เสียง เอก  โท   จัตวา  เช่น  ข่า  ข้า  ขา  อักษรสูง มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา

อักษรต่ำ  ผันวรรณยุกต์   ได้ 3  เสียง  ได้แก่  เสียงสามัญ   โท   ตรี  เช่น  งา  ง่า ง้า   อักษรต่ำ :  ผันวรรณยุกต์เอก  จะออกเสียงโท   ผันวรรณยุกต์โท  จะออกเสียงตรี

เรื่อง ทบทวนการสะกดคำ ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของตัวอย่างต่อไปนี้

1. กราบ   การแจกลูกสะกดคำ  คือ  กอ - รอ - อา - บอ  อ่านว่า  กราบ

2. เหมือน  การแจกลูกสะกดคำ  คือ  หอ - มอ - เอือ - นอ  อ่านว่า  เหมือน

3. ความ   การแจกลูกสะกดคำ  คือ คอ - วอ - อา - มอ   อ่านว่า  ความ

4. พลาย  การแจกลูกสะกดคำ  คือ พอ - ลอ - อา - ยอ  อ่านว่า พลาย

5. แปรง  การแจกลูกสะกดคำ  คือ  ปอ - รอ - แอ - งอ  อ่านว่า แปรง

ความหมาย 

1. กราบ   หมายถึง  แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก  แล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้น

2. เหมือน  หมายถึง  อย่างเดียวกัน  มีลักษณะไม่ต่างกัน 

3. ความ   หมายถึง  เนื้อเรื่อง  เนื้อหาใจความที่สำคัญ 

4. พลาย  หมายถึง  เรียกช้างตัวผู้ว่า  ช้างพลาย

5. แปรง  หมายถึง  สิ่งของอย่างหนึ่งทำด้วยขนสัตว์  พลาสติกแข็ง ลวด สำหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือ ขัดถูสิ่งของอื่นๆ

นิทานเรื่อง  กระต่ายกับเต่า   กระต่ายตัวหนึ่ง เห็นเต่าคลานมาก็หัวเราะเยาะว่า เต่าขาสั้น เดินช้า  เต่าจึงตอบไปว่า "ถึง ท่านจะวิ่งเร็ว รากับลมพัด และขาเราจะสั้น กว่าขาของท่านก็จริงอยู่ แต่เราอยากจะลองดี เดินแข่งกับท่าน ท่านจะว่ากระไร"  กระต่ายได้ยินเต่าท้า ดังนั้น ก็นึกกระหยิ่มใจ ตกลงจะวิ่งแข่งด้วย จึงพร้อมกันไปหา หมาจิ้งจอก บอกความที่ตกลงกัน แล้วก็ตั้งให้  เมื่อถึงวันนัด สัตว์ทั้งสอง ก็มาตั้งต้น แข่งในที่ที่ หมาจิ้งจอกชี้ให้  เต่าเมื่อตั้งต้นออกเดินก็ก้มหน้า คลาน ลัด ตัด ตรง ไป ทีละน้อยๆ จนถึงที่สุด ฝ่าย กระต่ายถือดี ในฝีเท้า ของตนว่า วิ่งได้เร็วกว่าเต่าก็ชะล่าใจ ครั้นตื่นขึ้นตกใจ กลัวว่าจะไล่ เต่าไม่ทันจึงรีบกระโจนไปโดยเร็ว ก็พบเต่าไปถึงก่อนเสียแล้ว 

ข้อคิดจากเรื่อง 

ความประมาทเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะอาจทำให้ภัยมาถึงตัวเองได้  ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่นเหมือนอย่างที่เต่าได้พบ 

เนื้อเรื่อง  อายจัง  อายจัง

ใบโบกใบบัว  แต่งตัวสวยสวย  ภูผาไปด้วย    ร่วมงานหรรษา ใบโบกส่งไม้ ประธานรับมา เพราะได้เวลา  ตีฆ้องนำทาง  พอเสียงเพลงดัง  ช้างต่างจัดแถว ช้างน้อยแน่แน่ว  วิ่งสุดแรงช้าง  

เดินตามกันไป  ใช้งวงจับหาง ชวนกันเหยาะย่าง  ตามจังหวะเพลง  รายการสุดท้าย  ช้างระบายสี ใบโบกเร็วรี่  แสดงความเก่ง  ภูผาส่งแปรง  ใบโบกแสดงเอง มือแปรงละเลง   ภูผาจังงัง

คนดูชอบใจ  ช้างน้อยแสนรู้ ใบบัวโบกหู  อายจัง  อายจัง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

การที่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง  และความมีระเบียบวินัย

ประโยค เช่น  ช้างน้อยเข้าแถว , ใบโบกตีฆ้องเสียงดัง , ช้างน้อยระบายสีสวยงาม 

สัญลักษณ์   คือ   สิ่งที่กำหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้ความหมายแทนอีกสิ่งหนึ่ง  เช่น  ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด  +  -  x / เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

เครื่องหมาย คือ  สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้  เช่น  สัญญาณไฟจราจรเป็นเครื่องหมายแสดงให้ระวังอันตราย หรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้

สัญญาณ  คือ  เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือได้ยิน เป็นต้น  แม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตราย หรือ กระทำตามที่บอกหรือแนะไว้  เช่น  สัญญาณไฟจราจร  สัญญาณธง  ตีระฆัง  ตีฆ้องเป็นสัญญาณ

บทเพลง มาตราตัวสะกด

แม่ ก กา  ไม่มีตัวสะกด   ตัว  มา  มือ ดำ 

แม่ กง  มี  ง   สะกด   แทง   แรง   ลิง  งง

แม่  กม  มี  ม  สะกด   ลม   แต้ม  มุม  มอม  งม  สนาม  คำราม  

แม่  เกย  มี  ย  สะกด  โปรย  ปุย  เฉย  ลอย 

แม่ เกอว  มี  ว  สะกด   กาว  เปลว  เปรี้ยว  แมว

แม่ กก  มี  ก  สะกด   ปัก  เด็ก   เมฆ  แฝก   ปาก   หอยทาก  ไม้จาก  

แม่ กบ มี  บ  สะกด  กราบ  บาป  ลาบ  ดิบ  

แม่ กน  มี  น  สะกด   จาน   บ้าน   หิน  คลาน  

แม่ กด  มี  ด  สะกด   แปด  การ์ด   ตรวจ  ขวด  จรวด  ตำรวจ  ผู้หมวด 

อักษรต่ำ ได้แก่ พยัญชนะต่อไปนี้   ค, ฅ , ฆ, ง, ช, ซ, ฌ, ญ, ฑ, ฒ, ณ, ท, ธ, น, พ, ฟ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ฬ, และ ฮ

การผันอักษรต่ำ   อักษรต่ำผันได้  3  เสียง  คือ   เสียงสามัญ  เสียงโท  และเสียงตรี

ผันด้วยวรรณยุกต์เอก  จะออกเสียงโท   ผันด้วยวรรณยุกต์โท  จะออกเสียงตรี

เรื่อง ช้างน้อยน่ารัก  ทุกปีหมู่บ้าน เลี้ยงช้างแห่งนี้จะนำช้างไปแสดงที่จังหวัด เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว  ปีนี้เป็นปีแรกที่ใบโบกและใบบัวจะแสดงกับภูผา ทั้งเด็และลูกช้างแต่งตัวสวยงาม เมื่อได้เวลาภูผาเดินนำหน้าออกมาใบโบกถือไม้ตีฆ้อง  ใบบัวถือพวงมาลัย ทั้งหมดเดินตรงไปที่ประธาน  ใบโบกส่งไม้ตีฆ้อง ประธานรับไปตีฆ้องเปิดงาน เสียงฆ้องดัง โหม่งๆ  ใบบัวส่งพวงมาลัยเพื่อขอบคุณประธาน  คนดูปรบมือชอบใจ มีช้างตัวใหญ่ๆหลายเชือกรออยู่กลางสนาม  เมื่อเสียงเพลงดังครวญให้สัญญาณช้างจัดระเบียบ จูงหางกันตามลำดับ ใบโบกใบบัว วิ่งสุดแรงไปต่อแถวให้ทัน  ใบโบกแกว่งงวงที่จับหางช้างตัวหน้าตามจังหวะเพลง  ใบบัวก็แกว่งงวงที่จับหางของใบโบกเหมือนกัน  น่ารัก  น่ารักมาก ช้างน้อย น่ารัก ลูกช้าง น่ารัก ได้แสดง อีกครั้ง รายการ สุดท้าย ช้างน้อย ระบายสี  ภูผา ส่งแปรงให้ใบโบก  แต่ใบโบก จับพลาด  คว้า มือภูผา จุ่ม ถังสี ยกขึ้น แล้วระบายๆ   ใบบัวโยกตัวม้วนงวงใส่ปาก โบกหูโบกหาง ส่งเสียงร้อง แอ๊กๆ อายจัง ๆ  คนดูปรบมือ หัวเราะ ร้องเรียกใบโบกใบบัว ดาราแสนรู้    ช้างน้อยน่ารัก น่ารัก จริงๆ 

ทบทวนการสะกดคำ มีคำศัพท์ที่น่าสนใจ ดังนี้

1. งาม   สะกดได้ดังนี้    งอ - อา - มอ  =  งาม

2. ยิ้ม   สะกดได้ดังนี้    ยอ - อิ - มอ - ไม้โท =  ยิ้ม

3. อาย   สะกดได้ดังนี้    ออ - อา - ยอ  =  อาย

4.น้อย  สะกดได้ดังนี้   นอ - ออ - ยอ -ไม้โท  = น้อย

5. ข้าว  สะกดได้ดังนี้   ขอ - อา - วอ -ไม้โท  = ข้าว

6. เที่ยว   สะกดได้ดังนี้   ทอ - เอีย - วอ - เทียว - ไม้เอก = เที่ยว 

ความหมาย  

1. งาม  หมายถึง  ลักษณะที่เห้นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ

2. ยิ้ม  หมายถึง  แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ  เยาะเย้ย  หรือเกลียดชัง ด้วยริมฝีปากและใบหน้า 

3. อาย  หมายถึง   รู้สึกกระดาก  รู้สึกขายหน้า

4. น้อย  หมายถึง  ตรงข้ามกับมาก  ไม่มาก

5. ข้าว หมายถึง  ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิด มีหลายพันธุ์  เช่น  ข้าวเจ้า  ข้าวเหนียว 

6. เที่ยว  หมายถึง  กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป

คำศัพท์น่ารู้ในบทเรียน   เรื่อง ช้างน้อยน่ารัก  รู้จักคำนำเรื่อง

1. ยก   หมายถึง  เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิม

2. ฆ้อง  หมายถึง เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง  ทำด้วยโลหะผสม  มีปุ่มตรงกลางสำหรับตี

3. ม้วน  หมายถึง  หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก

4. ปรบมือ  หมายถึง  เอาฝ่ามือ 2 ข้าง ตบกันหลายๆครั้งให้เกิดเสียง

5. แปรง  หมายถึง   สิ่งที่ทำด้วยขนสัตว์  ลวด ฯลฯ ใช้ปัด หวี สีฟัน  หรือขัดถูสิ่งของอื่นๆ

6. แต่งตัว  หมายถึง  สวมเสื้อผ้า  เครื่องประดับ  เพื่อตกแต่งให้ร่างกายสวยงาม

7. ระบายสี  หมายถึง  ลงสี  ป้ายสี  แต้มสี

8. ขอบคุณ   หมายถึง  คำกล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ  (เป็นคำที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่)

9. นักท่องเที่ยว   หมายถึง   ผู้ที่เดินทางไปสถานที่ต่างๆ  เพื่อความเพลิดเพลิน

10. พวงมาลัย      หมายถึง  พวงดอกไม้ที่ร้อยด้วยด้าย และเข็มขนาดใหญ่ โดยใช้ดอกไม้  กลีบดอกไม้  และใบไม้มาร้อยเข้าด้วยกัน

เนื้อเรื่อง 

แมว เอ๋ย แมว เหมียว    รูปร่าง ประเปรียว  เป็นนักหนา    ร้องเรียก เหมียว เหมียว เดี๋ยว ก็มา   เคล้า แข้ง เคล้า ขา น่าเอ็นดู

รู้จัก เอา รัก เข้า ต่อตั้ง  ค่ำ ค่ำ ซ้ำนั่ง ระวังหนู   ควรนับว่ามันกตัญญู   พอดู อย่างไว้  ใส่ใจเอย 

คำศัพท์ที่น่าสนใจในเนื้อเรื่อง

1. แมว  หมายถึง  ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ขนยาวนุ่ม  มีหลายสี  

2. ประเปรียว   หมายถึง  มีรูปร่าง หรือ ท่าทางปราดเปรียวมีลักษระคล่องแคล่วว่องไว

3. เคล้า  หมายถึง  คลอเคลีย

4. กตัญญู  หมายถึง  รู้คุณท่าน 

5. ใส่ใจ  หมายถึง  คิดฝักใฝ่  ตรึกตรอง 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณแก่เรา ดังตัวอย่างแมวในเรื่องนี้ยังรู้จักตอบแทนบุญคุณด้วยการนั่งเฝ้าระวังหนูให้เจ้าของ

เนื้อเรื่อง

บ้านฉันมีเพื่อน  เพื่อนฉันคือแมว  ฉันรักเพื่อนฉัน  เพราะฉันรักแมว     มันส่งเสียงร้อง  ทำนองของแมว  ร้องเรียกเหมียวๆ ฉันเหลียวหาแมว

มันไล่จับหนู  เพราะหนูกลัวแมว  ทุกวัน ทุกวัน ฉันคอยเลี้ยงแมว   กับข้าว กับปลา  หามาให้แมว  ฉันชอบร้องเพลง  ร้องเพลงของแมว

เราอ่าน  เราเขียน  เราเรียนเรื่องแมว มาเรียนมารู้  ดูตัวอย่างแมว   มาเถิดมาร้อง  ทำนองเพลงแมว  

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

รู้จักธรรมชาติของแมวว่าชอบจับหนู และส่งเสียงร้อง เหมียว เหมียว จากส่วนที่บอกว่า มันส่งเสียงร้อง ทำนองของแมว  ร้องเรียกเหมียว เหมียว ฉัน เหลียว หาแมว และ มันไล่จับหนู  เพราะหนูกลัวแมว

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

1. เดิน  หมายถึง  ยกเท้าก้าวไป

2. ป่า  หมายถึง  ที่ที่มีต้นไม้ต่างๆขึ้นมา

3. ตัวโก่ง  หมายถึง  ตัวโค้ง

4. อร่อย  หมายถึง  มีรสดี

5. ดินโป่ง  หมายถึง  ดินรสเค็ม  สัตว์ป่าชอบกิน

ข้อคิดจากเรื่อง  

แม้จะเป็นสัตว์แต่ก็รู้จักการแบ่งปัน  เหมือนอย่างที่ใบโบก ใบบัว แบ่งดินโป่งมาให้ภูผากินด้วยกัน  แม้จะเป็นของที่ใบโบก ใบบัวชอบ 

มาตรา แม่ ก กา คือ มาตราที่ไม่มีตัวสะกด  เช่น  ฝา   หอ   พ่อ   เข่า   เสา 

ความหมายคำในบทเรียน

ฝา  หมายถึง  เครื่องปิดภาชนะต่างๆ

หอ  หมายถึง  เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง

พ่อ  หมายถึง  ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก

เข่า  หมายถึง  ส่วนที่ต่อระหว่างขา ส่วนบนกับขาส่วนล่าง สำหรับคู้ขาเข้าและเหยียดขาออก

เสา  หมายถึง  ท่อนไม้หรือแท่งคอนกรีตที่ใช้เป็นหลัก หรือ เป็นเครื่องรองรับสิ่งอื่น

มาตรา แม่ กง  คือ มาตราที่มีตัว ง  เป็นตัวสะกด  เช่น  ช้าง    จูง    วิ่ง    คาง  หาง


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1