บทความล่าสุด

ช้างสามารถฟังภาษาคนเข้าใจ  เพราะช้างเป็นสัตว์  สัตว์และเจ้าของจะต้องมีความรักความผูกพันกัน  ดังนั้นเมื่อเจ้าของพูด  สัตว์ก็จะฟังและเข้าใจ

ช้างก็มีหัวใจ

พูดเพราะ  ช้างถูกใจ     จะว่าง่าย   ไม่ดื้อดึง

ถ้าดุ จะมึนตึง              เสียงโกรธขึ้ง  จะดื้อใส่

ถึงแม้  จะเป็นช้าง         รู้ไว้บ้าง   มีหัวใจ

ใจใคร   ก็ใจใคร           พูดเพราะไว้   ได้ไมตรี

คำศัพท์จากเรื่อง

1. พูดเพราะ   หมายถึง   เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำที่อ่อนหวานน่าฟัง

2. ถูกใจ  หมายถึง  ชอบ  ต้องใจ  ถูกอกถูกใจ

3. ดื้อ  หมายถึง  ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม

4. โกรธ   หมายถึง  ขุ่นเคืองใจอย่างแรง  ไม่พอใจอย่างรุนแรง

5. ไมตรี  หมายถึง  ความเป็นเพื่อน  ความหวังดีต่อกัน

ข้อคิดจากเรื่อง   การพูดจาไพเราะเป็นสิ่งที่ดี  เพราะจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี  แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงก็ยังต้องการให้เจ้าของพูดจาด้วยดีๆ

ในบทเรียนนี้จะเป็นการนำคำมาแต่งประโยค เพื่อผู้เรียนจะได้รู้จักการแต่งประโยค ซึ่งคำที่นำมาแต่งประโยคมีดังนี้

1.ลูบ หมายถึง เอาฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปหรือมา

2.แย่ง หมายถึง ยื้อเอาไป

3.โกรธ หมายถึง ขุ่นเคืองใจอย่างแรง ไม่พอใจอย่างรุนแรง

4.ประตู หมายถึง ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือน

5.ฟุตบอล หมายถึง ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่างๆ ภายในมีลมอัด

6.ตลิ่ง หมายถึง ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมแม่น้ำลำคลอง

การนำคำมาแต่งประโยค มีดังนี้

1. ลูบ แต่งประโยคได้ดังนี้ ครวญช้าง เข้าไป ลูบตัว พลายทะแนะ

2.แย่ง แต่งประโยคได้ดังนี้ เด็กๆ แย่ง กันตอบคำถาม ครูกานดา

3.โกรธ แต่งประโยคได้ดังนี้ พลายทะแนะ โกรธครวญช้างที่พูดไม่เพราะ

4.ประตู แต่งประโยคได้ดังนี้ พ่อเปิดประตูบ้าน

5.ฟุตบอล แต่งประโยคได้ดังนี้ ภัทรเตะฟุตบอลกับเพื่อนที่สนามหน้าโรงเรียน

6.ตลิ่ง แต่งประโยคได้ดังนี้ พ่อตกปลาที่ริมตลิ่ง

 

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์  มีเนื้อหาตัวอย่างดังนี้

1. เอะอะ  หมายถึง อึกทึก ทำเสียงดังโวยวาย มีการแจกลูก สะกดคำดังนี้  เอะอะ  มาจาก  อ ประสมกับ สระ เอะ อ่านว่า เอะ  คำว่า  อะ  มาจาก อ ประสมกับ  สระ อะ  อ่านว่า  อะ

2. ในน้ำ   สะกดว่า   นอ - ใอ  อ่านว่า  ใน  /  นอ - อำ -  นำ - ไม้โท อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  ในน้ำ

3. แม่น้ำ  สะกดว่า   มอ - แอ - แม - ไม้เอก  อ่านว่า  แม่  /   นอ - อำ - นำ - ไม้โท  อ่านว่า น้ำ   รวมเป็น  แม่น้ำ

4. แนะนำ  สะกดว่า  นอ - แอะ  อ่านว่า แนะ  /  นอ - อำ อ่านว่า นำ     รวมเป็น  แนะนำ

5. เช้าค่ำ   สะกดว่า  ชอ - เอา - เชา - ไม้โท  อ่านว่า เช้า  / คอ - อำ - คำ - ไม้โท  อ่านว่า  ค่ำ  รวมเป็น  เช้าคำ

ในบทเรียนนี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนคำสะกดที่มีสระดังนี้ 

1. สระอำ   มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  กำ   คำว่า  กำ  มาจาก  ก ประสมกับสระอำ  สะกดว่า  กอ - อำ = กำ

2. สระเอา  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เกา   คำว่า  เกา  มาจาก  ก ประสมกับสระเอา  สะกดว่า  กอ - เอา = เกา

3. สระเอะ  มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  เตะ   คำว่า  เตะ  มาจาก  ต ประสมกับสระเอะ  สะกดว่า  ตอ - เอะ = เตะ

4. สระแอะ มีการแจกลูก และ สะกดคำดังนี้  แกะ   คำว่า  แกะ  มาจาก  ก ประสมกับสระแอะ  สะกดว่า  กอ - แอะ = แกะ

คำศัพท์ น่ารู้  

1. กำ  หมายถึง จับของอยู่ในมือ

2. ขำ  หมายถึง อาการที่เราหัวเราะชอบใจ

3. เกา  หมายถึง การเอาเล็บไปถูบริเวณที่รู้สึกคัน

4. เตา  หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร ใช้ฟืนหรือถ่านเป็นตัวให้ความร้อน

5. เละ  หมายถึง เปื่อย หรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เตะ  หมายถึง วัด หรือเวี่ยงด้วยเท้า

7. แกะ หมายถึง ชื่อสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะ ขนเป็นปุยหา ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม

8. แตะ หมายถึง ถูกต้องแต่เพียงเบาๆ หรือนิดหน่อย

สื่อการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย ชั้นป.1 เรื่อง อักษรต่ำ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายไม้ยมก

อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่ ค , ฅ , ฆ , ง , ช , ซ , ฌ , ญ , ฑ , ฒ , ณ , ท , ธ , น , พ , ฟ , ภ , ม , ย , ร , ล , ว , ฬ และ ฮ

สระในบทเรียนนี้ เราจะเรียนรู้ สระ อำ  สระ เอะ  สระแอะ และสระ เอา โดยมีคำศัพท์ที่ประสมด้วยสระ ดังนี้

1. ทำ  หมายถึง กระทำ ประกอบขึ้น ผลิตขึ้น สร้างขึ้น ก่อขึ้น

2. รำ   หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหว โดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับ จังหวะเพลงร้อง หรือ เพลงดนตรี

3. เงา  หมายถึง ส่วนที่มืด เพราะมีวัตถุบังแสงทำให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น

4. เทา  หมายถึง หม่นๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา

5. เละ  หมายถึง   เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม

6. เกะกะ   หมายถึง   กีดขวาง  ไม่เป็นระเบียบ

7. แซะ  หมายถึง  เอาเครื่องแบนๆ เช่นตะหลิว หรือเสียมแทงเบาๆ โดยรอบแล้วช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม  

8. แทะ    หมายถึง   เอาฟันหน้ากัดให้หลุดออกมาทีละน้อยๆ

บทเรียนภาษไทย เรื่องพูดเพราะ รู้จักคำนำเรื่อง เป็นการเรียนรู้โดยใช้เนื้อหาคำศัพท์ในบทเรียนให้นักเรียนได้รู้จักความหมาย ซึ่งมีคำศัพท์ในบทเรียนได้แก่ ลูบ , แย่ง , โกรธ , ประตู , ฟุตบอล , ตลิ่ง

เนื้อหาเรื่อง ฝนตกแดดออก มีข้อคิดจากเรื่อง คือ การมีน้ำใจรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยมีเนื้อหาที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นทำนองเสนาะ โดยมีเนื้อความดังนี้

ฝน ตก แดด ออก            นก กระจอก แปลกใจ

โผ ผิน  บิน ไป                ไม่ รู้ หน ทาง

ไปพบมะพร้าว                 นก หนาว ครวญคราง

พี่ มะพร้าว ใจ กว้าง          ขอ พัก สัก วัน

ฝน ตก แดด ออก             นก กระจอก ผักผ่อน

พอ หาย เหนื่อย อ่อน         บิน จร ผาย ผัน 

ขอบ ใจ พี่ มะพร้าว            ถึง คราว ช่วย กัน

น้ำใจ ผูก พัน                   ไม่ ลืม บุญคุณ 

เรียนรู้เรื่องช้างอาบน้ำ ด้วยบทร้อยกรอง โดยมีเนื้อหาบทร้อยกรอง ดังนี้

ชวนช้างไปอาบน้ำ  แสนชื่นช่ำน้ำเย็นใส

เพื่อนเด็กอาบน้ำให้  ถูที่หลัง ขา และหาง

เพื่อนช้างพ่นน้ำใส่  อาบน้ำให้เพื่อนเด็กบ้าง

อาบพลาง หัวเราะพลาง  คนรักช้าง ช้างรักคน

เสียง โป๊ก เป๊ก กรุ๋ง กริ๋ง ดังที่หลังบ้าน          ภูผา  ชะโงก ดู ที่ หน้าต่าง ใบโบก ใบบัว กำลัง ทำอะไร

อ๋อ ใบโบก ใบบัว กำลัง กินสับปะรด กองโต    ช้าง น้อย อิ่ม แล้ว ภูผา พา เพื่อนช้าง ไป อาบน้ำ

ทั้ง เด็ก ทั้ง ช้าง วิ่ง แข่ง กัน ไป ที่ ลำธาร      ใบโบก ใบบัว คู้เข่า ลง แช่ ตัว ในลำธาร

ใบโบก ใบบัว ใช้งวง พ่น  น้ำ ใส่ ตัว              ภูผา  ใช้  ผ้า  ถูหลัง  ถูขา   ถูหู

ทำความสะอาด ให้ ใบโบก ใบบัว                  ภูผา อาบน้ำ ให้ เพื่อน ช้าง 

ลูกช้าง พ่น น้ำ ใส่ ภูผา                              ใบโบก ใบบัว อาบน้ำ ให้เพื่อน เด็ก

เสียงเด็กหัวเราะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า                          เสียงช้างร้องเอิ๊ก เอิ๊ก แอ๊ก แอ๊ก ดังลั่น ลำธาร

ทั้ง  เด็ก  ทั้ง  ช้าง                                    เพื่อน รัก เพื่อน เล่น  ต่าง มี ความสุข

สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย  เรื่อง การสะกดคำที่มากกว่า 1 พยางค์  การแจกลูกสะกดคำ สระ อะ , สระอิ , สระอึ , สระอุ ที่เราได้เรียนผ่านมาแล้ว ในบทเรียนนี้เราจะสะกดคำที่มีมากกว่า 1 พยางค์ คือการสะกดคำที่ประสมด้วยสระต่างๆ เช่น  มะลิ มีการการประสมคำระหว่าง สระอะ และ สระอิ  และมีหลักการสะกดคำดังนี้ 

มะลิ  อ่านว่า  มอ - อะ -มะ - ลอ - อิ - ลิ  อ่านว่า มะลิ

กะทิ  อ่านว่า  กอ - อะ -กะ - ทอ - อิ - ทิ  อ่านว่า กะทิ

การอ่านแจกลูก การสะกดคำ สระอึ และสระอุ มีหลักการอ่านและแจกลูกการสะกดคำ ดังนี้

การอ่านแจกลูก การสะกดคำ สระอึ เช่น

ขึ มาจาก ข ประสมกับสระ อึ อ่านว่า ขึ

จึ มาจาก จ ประสมกับสระ อึ อ่านว่า จึ

ถึ มาจาก ถ ประสมกับสระ อึ อ่านว่า ถึ

จึง มาจาก จ ประสมกับสระ อึ และ ง อ่านว่า จึง

ขึง มาจาก ข ประสมกับสระ อึ และ ง อ่านว่า ขึง

ถึง มาจาก ถ ประสมกับสระ อึ และ ง อ่านว่า ถึง

วิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านแจกลูก และการสะกดคำ เป็นการเรียนรู้การสะกดคำที่อยู่ในรูป สระ อะ และ สระ อิ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านแจกลูก และการสะกดคำ โดยมีขั้นตอนการอ่านแจกลูกคำดังนี้

สระ อะ  เช่น

1.กะ แจกลูกคำ คือ กอ - อะ อ่านว่า กะ

2.จะ แจกลูกคำ คือ จอ - อะ อ่านว่า จะ

3.มะ แจกลูกคำ คือ มอ - อะ อ่านว่า มะ

สระ อิ เช่น

1.จิ แจกลูกคำ คือ จอ - อิ อ่านว่า จิ

2.บิ แจกลูกคำ คือ บอ - อิ อ่านว่า บิ

3.ติ แจกลูกคำ คือ ตอ - อิ อ่านว่า ติ

บทเรียนภาษาไทย ชั้น ป.1 เรื่อง เรียนรู้พยัญชนะอักษรต่ำ สระ และวรรณยุกต์ เป็นการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จัก พยัญชนะอักษรต่ำ และ นำคำอักษรต่ำนั้นมาประสมสระและวรรณยุกต์ ให้เป็นคำที่มีความหมาย เช่น กิน ( ก เป็น อักษรต่ำ ประสมกับ สระ อิ อ่านว่า กอ - อิ - นอ กิน แปลว่า ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ ) บทเพลง

สูง กลาง ต่ำนี้ อักษรไทยมี สูง กลาง ต่ำ

แบ่งเป็นสามหมวดให้จำ อักษรไทย มี ต่ำ กลาง สูง

โอ้อักษรสูง อักษรสูงมี ๑๑ ตัว ขวด ของ ฉัน ห่อ ผ้า ใส่ ถุง ฝาก เศรษฐี ( ฃ ข ฉ ห ผ ส ถ ฝ ศ ษ ฐ )

โอ้อักษรกลาง อักษรกลางนั้นมี ๙ ตัว ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง ( ก จ ฎ ด ฏ ต บ ป อ )

และนอกจากนี้ เรารู้ดี เป็นอักษรต่ำ สามหมวดรวมกัน พยัญชนะ ๔๔ ตัว

เพื่อนรักเพื่อนเล่น มีเนื้อหาที่สอนเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆ ด้วยจะใช้วิธีการสื่อความหมายของคำต่างๆด้วยเนื้อเรื่อง ดังนี้

เสียง โป๊ก เป๊ก กรุ๋ง กริ๋ง ดังที่หลังบ้าน เสียง โป๊ก เป๊ก เป็นเสียงของกระดึง เสียง กรุ๋ง กริ๋ง เป็นเสียงของกระพรวน ลูกช้างใช้งวงพ่นน้ำ ภูผาใช้ผ้าถูหลังให้ใบโบก ใบบัวกินสับปะรดจนอิ่ม ช้างวิ่งแข่งกันไปที่ลำธาร

เพื่อนรัก เพื่อนเล่น  รู้จักคำ  นำเรื่อง บทนี้จะสอนเรื่องความหมายของคำศัพท์ที่น่าสนใจซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ถู   หมายถึง เช็ดโดยวิธีใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งไถไปไถมาให้สะอาด

วิ่ง  หมายถึง ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิม

พ่น   หมายถึง  ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอย

หัวเราะ  หมายถึง  เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ 

คู้เข่า    หมายถึง  งอเข่า

อาบน้ำ  หมายถึง  ทำความสะอาดโดยใช้น้ำ

สับปะรด  หมายถึง  ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาว ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยวๆ หวานๆ 


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1