บทความล่าสุด

อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้  3 เสียง  คือ เสียงเอก เสียงโท และเสียงจัตวา

ตัวอย่าง

1. ขา   ผันได้ดังนี้   ขา  - ข่า - ข้า 

2. ถือ   ผันได้ดังนี้   ถือ - ถื่อ - ถื้อ

3. เสือ  ผันได้ดังนี้   เสือ - เสื่อ - เสื้อ 

ความหมาย

ขา หมายถึง อวัยวะตั้งแต่สะโพกถึงข้อเท้า  สำหรับยันกายและเดิน

ถือ  หมายถึง  เอาไว้ในมือ  จับยึดไว้

เสือ  หมายถึง  สัตว์สี่เท้า ดุร้าย คล้ายแมว แต่ตัวใหญ่กว่ามาก  กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร

ทบทวนการแจกลูกสะกดคำ มีคำศัพท์ ดังนี้

1. ช้าง  แจกลูกสะกดคำ   ชอ - อา - งอ - ชาง - ไม้โท = ช้าง

2. เพื่อน แจกลูกสะกดคำ   พอ - เอือ - นอ - เพือน - ไม้เอก = เพื่อน

3. มอง  แจกลูกสะกดคำ   มอ - ออ - งอ   = มอง

ความหมาย

1. ช้าง คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง 

2. เพื่อน คือ  ผู้ชอบพอรักใคร่กัน ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน

3. มอง  คือ  มุ่งดู

เนื้อหา

ภูผาตื่นแต่เช้า รีบไปดูเพื่อนช้างที่อยู่ใน คอก พื่อนทั้งสองยังไม่ตื่น ใบโบกยืนหลับ โยกตัว เบาๆ  แต่ใบบัวนอนตะแคง ภูผาหันหลังกลับจะเดินขึ้นบ้าน เสียงกระดึง แกว่ง กระพรวนส่าย ใบโบกใบบัว ตื่นแล้ว ภูผาเปิดคอกให้เพื่อนช้างออกมา ภูผาจะพาใบโบกใบบัวไปไหนกันนะ ทั้งหมดเดินออกจากหมู่บ้านไปทางภูเขา เดินไปไม่ไกลนัก มีเนินดินอยู่ข้างหน้า  ใบโบก ใบบัว ชูงวง โบกหู แกว่งหาง ส่งเสียง เอิ๊กๆ แอ๊กๆ วิ่งไปทันที  ภูผารู้ใจเพื่อรัก พามากินดินโป่ง เพื่อนรักไม่ชักชา ใช้งวงดูดดิน ป้อนใส่ปาก อร่อยจังๆ  ดินโป่งรสเค็ม มีประโยชน์  ทำให้ร่างกายแข็งแรง และโตเร็ว ทั้งสองกินอิ่มแล้ว ใบโบกใช้หัวดันภูผา  ส่วนใบบัวดึงแขนผูภาไปที่เนินดิน เหมือนจะบอกว่า อร่อยๆกินสิๆ  ภูผาหัวเราะบอกว่าไม่กินๆ คนกินข้าวไม่กินดินโป่ง

บทเรียน เรื่อง เพื่อนรู้ใจ รู้จักคำนำเรื่อง มีคำศัพท์เรียนรู้ ดังนี้

1. ปาก  หมายถึง  อวัยวะของคนและสัตว์สำหรับกินอาหารและใช้ออกเสียง

2. ข้าว  หมายถึง  ชื่อไม้ล้มลุก  เมล็ดใช้เป็นอาหาร

3. แขน  หมายถึง อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง 2 ข้าง

4. คอก หมายถึง  ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด  เช่น  วัว  ควาย  ม้า  หมู 

5. ป้อน   หมายถึง  เอาอาหารส่งให้ถึงปากหรือใส่ปากให้กิน

6. ภูเขา  หมายถึง  พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ ตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไป

7. ร่างกาย  หมายถึง   ตัว  รูปร่าง 

8. แข็งแรง  หมายถึง    มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย

9. ดูดน้ำ  หมายถึง    สูบน้ำด้วยปาก

10. ดูดดิน หมายถึง    สูบดินขึ้นด้วยงวง  ใช้กับช้าง

11. นอนตะแคง  หมายถึง    อาการนอนเอาข้างลง

เรื่อง  ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่

ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่     จะตั้งไย    ไข่กลม     ก็ล้มสิ้น

ถึงว่าไข่ล้ม      จะต้มกิน   ถ้าตกดิน   เสียก็อด   หมดฝีมือ

ตั้งใจเรานี้จะดีกว่า อุตส่าห์   อ่านเขียน    เรียนหนังสือ

ทั้งวิชา สารพัด เพียร หัดปรือ อย่า ดึงดื้อ  ตั้งไข่ ร่ำไร เอย

ความหมาย

ฝีมือ   หมายถึง   ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ

อุตส่าห์  หมายถึง  อุตสาหะ  คือ  ความบากบั่น  ความขยัน  ความอดทน

สารพัด   หมายถึง  ทั้งหมด ทั้งปวง

เพียร  หมายถึง  บากบั่น

ดึงดื้อ  หมายถึง  ดื้มไม่ยอมฟังเหตุผล

ข้อคิดจากเรื่อง ตั้งเอ๋ย ตั้งไข่

เราควรเอาเวลาไปใส่ใจกับการเรียนมากกว่าเรื่องเล่นเหมือนอย่างพลอยที่ตอนแรกใช้เวลาไปกับการเล่นเกม แต่พอได้ฟังเรื่องที่พ่อสอนแล้วก็คิดได้ว่า ควรเอาเวลาไปใส่ใจกับการเรียนมากกว่าเล่นเกม เพราะการเล่นเกมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

เนื้อเรื่อง จ้องตากัน

ใบโบกใบบัว   ตัวสั่น      ขาแข็ง

หูไร้เรี่ยวแรง   หางแกว่ง  ไม่ออก

เจองุตัวดำ แลบลิ้น     ล่อหลอก

แม่เบี้ย       แผ่ออก      น่ากลัว นักหนา

จ้องตากกันไป จ้องตากันมา

งูเลื้อยเข้าป่า  ช้างน้อย โล่งใจ

ความหมายของคำ

1. ตัวสั่น   หมายถึง  อาการที่ตัวสั่นไหวถี่ๆ  ด้วยความกลัว

2. แกว่ง  หมายถึง  อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นที ทางนี้ที

3. แม่เบี้ย   หมายถึง  พังพานงู

4. จ้อง   หมายถึง  เพ่งตาดู

5 เลื้อย   หมายถึง  เสือกไปด้วยอก  ใช้กับสัตว์ไม่มีขา  ตัวยาว  เช่น  งูเลื้อย

ข้อคิดจากเรื่อง จ้องตากัน

แม้จะเป็นสัตว์ก็รักชีวิตของตัวเอง เมื่อตกอยู่ในอันตรายก็ต้องต่อสู้  เหมือนกับใบโบก  ใบบัว  แม้จะกลัวงู  แต่ก็สู้ตามที่ตนทำได้นั่นก็คือ  การจ้องตา

 

พยัญชนะที่เป็นอักษรกลาง มีดังนี้   ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ   

วรรณยุกต์ มีทั้งหมด 4 รูป  ได้แก่  ไม้เอก ,  ไม้โท ,  ไม้ตรี  ,  ไม้จัตวา   

วรรณยุกต์มี 5 เสียง  ได้แก่  เสียงสามัญ  เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี  เสียงจัตวา 

อักษรกลางผันได้  5 เสียง  เช่น

1. กา   ผันได้เป็น    กา    ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า

2. ตี    ผันได้เป็น   ตี   ตี่    ตี้  ตี๊  ตี๋

3. ดู    ผันได้เป็น   ดู   ดู่  ดู้  ดู๊  ดู๋

4. แบ  ผันได้เป็น   แบ  แบ่  แบ้   แบ๊  แบ๋

5. โต  ผันได้เป็น   โต  โต่  โต้   โต๊  โต๋

6. ไป  ผันได้เป็น    ไป   ไป่  ไป้  ไป๊  ไป๋

คำและประโยค ในบทเรียน

1. เรือไฟ  หมายถึง เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง  มีขนาดเล็กกว่าเรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : พ่อพาภูผาไปดูเรือไฟที่พิพิธภัณฑ์

2. โป๊ะเรือ  หมายถึง  ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือให้คนขึ้นลง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภูผากำลังเดินไปโป๊ะเรือ เพื่อรอลงเรือ

3. เตี้ย  หมายถึง  ไม่สูง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภัทรสูงจนพลอยรู้สึกเตี้ยไปเลย

4. แม่เบี้ย  หมายถึง  พังพานงู  ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ใบโบกใบบัว เจองูกำลังแผ่แม่เบี้ย

5. เคาะโต๊ะ  หมายถึง  ใช้อวัยวะมือกระทบบนโต๊ะเยาๆ

การเรียบเรียงคำและประโยค  : นักเรียนกำลังเคาะโต๊ะเล่นในห้องเรียน

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์

1. ข้อมือ  หมายถึง ข้อต่อระหว่างมือและแขนช่วงใต้ข้อศอก

การสะกดคำ  ขอ - ออ - ขอ -ไม้โท - ข้อ  + มอ - อือ - มือ  อ่านว่า  ข้อมือ

2. เจอเสือ  หมายถึง  พบหรือเห็นเสือที่เป็นสัตว์ดุร้าย 

การสะกดคำ  จอ - เออ - เจอ  + สอ - เอือ - เสือ  อ่านว่า  เจอเสือ

3. เกาะขา  หมายถึง  จับหรือยึดขาเอาไว้

การสะกดคำ  กอ - เอาะ - เกาะ + ขอ - อา - ขา  อ่านว่า  เกาะขา

4. ไปเถอะ  หมายถึง การขอร้อง หรือวิงวอน ให้ออกจากที่ตรงนั้น

การสะกดคำ   ปอ - ไอ - ไป + ถอ - เออะ - เถอะ  อ่านว่า  ไปเถอะ

5.โป๊ะไฟ  หมายถึง โคมไฟ  หรือ เสาไฟตามท้องถนน

การสะกดคำ ปอ - โอ๊ะ - โป๊ะ + ฟอ - ไอ - ไฟ  อ่านว่า   โป๊ะไฟ

1. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรกลาง

1. สระเออะ  เช่น  เจอะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  จอ + เออะ  อ่านว่า เจอะ

2. สระเออ เช่น  เจอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   จอ + เออ  อ่านว่า เจอ

3. สระเอือ เช่น เจือ   มีการแจกลูกคำดังนี้   จอ + เอือ  อ่านว่า  เจือ

ความหมาย 

1. เจอะ  หมายถึง  พบ  เห็น  ประสบ  ประจวบ

2. เจอ  หมายถึง    พบ  เห็น  ประสบ  ประจวบ

3.เจือ หมายถึง  เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ปนกัน 

2. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรสูง

1. สระเออะ  เช่น  เถอะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  ถอ + เออะ  อ่านว่า เถอะ

2. สระเออ เช่น  เขอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   ขอ + เออ  อ่านว่า เขอ

3. สระเอือ เช่น เขือ   มีการแจกลูกคำดังนี้   ขอ + เอือ  อ่านว่า  เขือ

1. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรกลาง

1. สระโอะ  เช่น  โปะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  ปอ + โอะ  อ่านว่า โปะ

2. สระโอ เช่น  โต   มีการแจกลูกคำดังนี้   ตอ + โอ  อ่านว่า โต

3.สระเอาะ เช่น เกาะ   มีการแจกลูกคำดังนี้   กอ + เอาะ  อ่านว่า  เกาะ

4. สระออ  เช่น  กอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   กอ + ออ  อ่านว่า กอ

ความหมาย 

1. เกาะ  หมายถึง จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่

2. กอ  หมายถึง  กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน  เช่น  กอหญ้า  กอแขม  กอไผ่

3. โต  หมายถึง มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกัน

4. เจาะ  หมายถึง  ทำให้เป็นช่องเป็นรู

5. จอ หมายถึง ผ้าขาวที่ขึงไว้สำหรับเชิดหนัง หรือฉายภาพยนต์  หรือ สิ่งที่มีลักษรธคล้ายคลึงเช่นนั้น  เช่น จอโทรทัศน์

พยัญชนะไทยมี 44 ตัว  คือ  ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ  และ พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ได้ดังนี้

1. อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห  

2. อักษรกลาง 9 ตัว  ได้แก่  ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ 

3. อักษรต่ำ  24 ตัว   ได้แก่  ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ ที่ควรรู้จักในบทเรียนนี้คือ  สระโอะ   สระเอาะ  สระ ออ  สระเออะ  สระเออ  สระเอือ

เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! )  หรือ เครื่องหมายตกใจ  เช่น  อะไรนั่น !  งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสอง ยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่แกว่งหาง

เนื้อหาเรื่อง  เกือบไป

หลังฝนตกหนัก  พ่อ พาพลายมะปิน  พลายมะคา  และช้างพลาย ของเพื่อนบ้านอีกสองเชือกไปช่วย ลากต้นไม้ที่ล้ม ขวางถนน ภูผา ขอไปกับพ่อ พาใบโบก  ใบบัว  ไปด้วย พ่อกับภูผา  ขี่คอ พลายมะปิน มีลูกช้างเดินตามหลังทั้งหมดพากันเดินทางลัดผ่านป่าเพื่อให้ถึงเร็วขึ้น ภูผารู้ว่าเพื่อนๆเดิมตามมา เพราะมีเสียง กระดึง และ กระพรวน ดังตลอดเวลา แล้วจู่ๆ เสียงโป๊ก เป๊ก เสียง กรุ๋งกริ๋ง  เงียบไป ภูผา หันไปดู อะไร นั่น งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสองยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่ แกว่งหาง ต่างฝ่ายต่างจ้องกันอยู่สักครู่ แล้ว งู ก็เลื้อยเข้าป่าไป  ใบโบก ใบบัว ตกใจกลัว ส่งเสียงร้อง  วิ่งชูงวง เข้ามาเกาะ หาง พลายมะปิน ทันที  โถ น่าสงสาร ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงู กัด  งูตัวใหญ่ น่ากลมัวจริงๆ เกือบไป เกือบไป 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเกือบไป 

ไม่ควรอยู่ในความประมาท เพราะอันตรายเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแค่เวลาเพียงสั้นๆ เช่น ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงูดำตัวใหญ่กัด แต่ยังดีที่งูตัวนั้นเลื้อยเข้าป่าไป ใบโบก ใบบัวจึงปลอดภัย 

เนื้อหาเรื่องเกือบไป เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ ที่นักเรียนควรรู้จัก ซึ่งคำศัพท์ในบทเรียนเรื่อง เกือบไป รู้จักคำนำเรื่อง มีดังนี้

1. ป่า 2. ขี่ 3. ขวาง 4. เล่น 5. เกาะ

6. แกว่ง 7. ฝน 8. ตก 9. ถนน 10. ต้นไม้

11. แผ่แม่เบี้ย

จับคู่คำ น่ารู้

1. ขวางถนน     2. ต้นไม้     3. ฝนตก     4. แผ่แม่เบี้ย    5. แกว่งชิงช้า     

6. วิ่งแข่ง        7. แกว่งไกว    8. ไม้ป่า      9. ห่าฝน    10. ถนนลื่น

เพลง   รักเมืองไทย

คนไทยนี้ดี   เป็นพี่เป็นน้อง          เมืองไทยเมืองทอง  เป็นของคนไทย

คนไทยเข้มแข็ง   ร่วมแรงร่วมใจ     รักชาติยิ่งใหญ่     ไทยสามัคคี

ธงไทยไตรรางค์   เป็นธงสามสี      ทั้งสามสิ่งนี้     เป็นที่บูชา

สีแดงคือชาติ   สีขาวศาสนา          น้ำเงินงามตา   พระมหากษัตริย์ไทย

เรารักเพื่อนบ้าน   ไม่รานรุกใคร      เมื่อยามมีภัย  ร่วมใจป้องกัน

เรารักท้องถิ่น   ทำกินแบ่งปัน        ถิ่นไทยเรานั้น   ช่วยกันดูแล

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง  รักเมืองไทย  

ความรักสามัคคีของคนในชาติ  และมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1