บทความล่าสุด

ทักษะภาษาด้านการเขียนสระไทย  สระภาษาไทย มี 32 เสียง   ได้แก่

อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู

เอะ เอ เเอะ เเอ เอียะ เอีย เอือะ เอือ

อัวะ อัว โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

อำ ใอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ

สระเสียงสั้น   ได้แก่  อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา

สระเสียงยาว  ได้แก่   คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ

การเขียนพยัญชนะไทย ให้สวยงาม นักเรียนจะต้องตั้งใจเขียนหมั่นฝึกฝน เพื่อให้ลายมือหรือตัวหนังสือที่เขียนสวยงาม ซึ่งมีหลักการปฏิบัติตนในการเขียน ดังนี้

1.นั่งตัวตรง

2.ศีรษะตั้งตรง ไม่มีการประคองด้วยแขน

3.อย่าให้ตัวหรือแขนเอียงหรือเอนลงบนโต๊ะ

4.อย่าเอาศีรษะนอนลงบนมือ

การเขียนพยัญชนะไทยมี 13 แบบ ซึ่งดูได้จากคลิปวิดีโอนี้

ทักษะการเขียนวรรณยุกต์และเลขไทย สำหรับบทเรียนนี้จะเป็นการสอนเนื้อหาที่เกี่ยวกับ วรรณยุกต์ในภาษาไทย ซึ่งวรรณยุกต์ไทยนั้น มี  ๔ รูป  ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ (เป็นเสียงปกติไม่มีรูป)  เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ในบทเรียนภาษาไทย เรื่อง ทักษะการเขียนวรรณยุกต์และเลขไทย นอกจากจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณยุกต์ไทยแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับทักษะในการเขียนตัวเลขไทย เช่น ๐  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙   ตัวอย่าง เลข ๓ และ เลข ๗  ต่างกันอย่างไร  คำตอบคือ เลข ๓ เส้นหยักของเลข ๓ ยาวเท่ากับส่วนหัว และเส้นหยักของเลข ๗  เขียนลงเพียงครึ่งเดียว

     วิชาภาษาไทย เรื่อง เตรียมความพร้อมด้านการเขียน  จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกทักษะด้านการเขียน การเขียนเส้น 13 แบบ ทักษะ เตรียมความพร้อมด้านการเขียน การปฏิบัติตนในการเขียนและวิธีการจับดินสอที่ถูกต้อง

ทักษะภาษาด้านการเขียน เตรียมความพร้อมด้านการเขียน

ทักษะภาษาด้านการฟัง การพูด และการอ่านวรรณยุกต์ไทย เป็นเนื้อหาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการออกเสียงคำ ตามวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียง และผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้วรรณยุกต์ไทย

วรรณยุกต์ คืออะไร

1.วรรณยุกต์ คือเครื่องหมายที่เขียนไว้ด้านบนพยัญชนะต้นของคำ

2.วรรณยุกต์ทำให้เกิดเสียงสูง เสียงต่ำ

ทักษะภาษาด้านการฟัง  การพูด และการอ่านเสียงสระในภาษาไทย ในบทเรียนนี้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จะประกอบด้วยเพลง สระ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกันสระในภาษาไทย ซึ่งสระในภาษาไทยนั้นมีทั้งหมด ๓๒ เสียง  แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือสระเสียงสั้น และสระเสียงยาว

บทเรียนภาษาไทยเรื่อง  ทักษะภาษาด้านการฟัง  การดู  และการพูด พยัญชนะไทย มีเนื้อหาการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย มารยาทในห้องเรียน ,  มารยาทในการฟังและการดู(การชม) , มารยาทในการพูดพยัญชนะที่มีการอ่านออกเสียงเหมือนกัน , พยัญชนะที่มีเสียงอ่านคล้ายกัน  และแบบทดสอบหลังเรียน 

วิชาภาษาไทย เรื่อง ใบโบกใบบัว รู้จักคำนำเรื่อง

ในบทเรียนนี้ เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ของช้าง ผ่านเพลงช้าง ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

ช้าง ช้าง ช้าง    น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า     ช้างมันตัวโตไม่เบา  

จมูกยาว ยาว     เรียกว่า งวง   มีเขี้ยวใต้งวง  เรียกว่า งา      มีหู มีตา หางยาว

งวง  คือ จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกมา งา  คือ ฟันที่ยื่นยาวออกจากข้างปากช้างตัวผู้ มีสีขาวโค้ง งอ หู คือ ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง ตา คือ ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่ดู หรือมองสิ่งๆต่างๆรอบตัว หาง คือ ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายของลำตัวสัตว์ ช้างมี ขา ขา   ขา คือ อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สำหรับพยุงร่างกายและเดิน ข้อสังเกต  ช้างตัวผู้จะมีงา  ช้างตัวเมียไม่มีงา ในบทเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น ป.1 ใบโบก คือช้างตัวผู้  ใบบัว คือช้างตัวเมีย


สื่อการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1