บทความล่าสุด

องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณ

          องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณมีขอบเขตของการเรียนการสอนโดยเน้น 3 องค์ความรู้ ดังนี้

  1. การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นวิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการ มองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิด โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่าง
  2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุค 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะ เป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และประยุกต์สร้างสรรค์งานได้อย่าง เหมาะสม
  3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and Information Literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน Computer Science และ Coding

          สอนให้เด็กเล็กชั้นอนุบาล และชั้น ป.1 ถึง ป.3 ได้ลองเขียนโปรแกรมแบบให้มีการเคลื่อนไหวทางกายภาพ เช่น การเดิน ไปซื้อไอศกรีม หรือออกแบบพื้นห้องเรียนให้เหมือนในหนังสือ และให้เด็กเขียนโปรแกรม เดินตามด้วยบัตรคำสั่ง เด็ก ๆ จะรู้ว่าสิ่งที่เขาเขียนลงกระดาษมีผลจริงและจับต้องได้ หรือที่เรียกว่าเรียนรู้แบบ Unplugged

          สำหรับเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – ป.6  จะเริ่มให้เขียนโปรแกรมแบบ Plug In โดยที่โปรแกรมเป็น Block-based Programming จะมีบล็อกบัตรคำสั่งที่ เป็นสี เอาเมาส์ลากบล็อกมาต่อกันได้ สั่งตัวละครให้เดินตาม เด็กก็จะรู้สึกว่านี้เป็นภาคต่อของสิ่งที่เขาจับต้องด้วยการใช้คำสั่งบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียน Code เรา โฟกัสอยู่ที่การคิด ไม่ได้โฟกัสที่การท่องจำ

          ส่วนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นต้องเน้นให้เขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาชิ้นงานที่ทำงานได้ตามคำสั่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโครงงานดิจิทัลในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

 

ที่มา : หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง สู่สังคมดิจิทัลในอนาคต

หน้า 15

2020-05-26