บทความล่าสุด

 

เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ (Be Internet Strong)  มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว และสร้างพาสเวิร์สที่เดายาก โดยหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์มาเป็นพาสเวิร์ส ไม่ใช้พาสเวิร์สซ้ำๆกับหลายๆเว็บไซต์

ความเป็นส่วนตัว คือ การปกป้องข้อมูลและข้อมูลส่วนบุคคล (เรียกอีกอย่างว่า ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน)

การรักษาความปลอดภัย คือ การปกป้องอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่อยู่ในนั้น

การยืนยันสองขั้นตอน (เรียกอีกอย่างว่าการยืนยันแบบสองปัจจัยและการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองขั้นตอน) คือ กระบวนการรักษาความปลอดภัยที่การเข้สู่ระบบในบริการหนึ่งๆ กำหนดให้ใช้ขั้นตอนแยกจากกัน 2 ขั้นตอน หรือ 2 "ปัจจัย" เช่น รหัสผ่านและรหัสแบบใช้ครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องป้อนรหัสผ่านแล้วค่อยป้อนรหัสที่ได้รับทางข้อความในโทรศัพท์หรือรหัสจากแอป

รหัสผ่าน คือ ชุดรหัสใช้สำหรับเข้าถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น อาจเป็นรหัสตัวเลข 4 หลักสำหรับ ล็อกโทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ซ้ำซ้อนกว่านั้นมากสำหรับบัญชีอีเมล์ โดยทั่วไปแล้ว คุณควรสร้างรหัสผ่านให้ยาวและซับซ้อนที่สุดเท่าที่จำได้

การเข้ารหัส คือ กระบวนการแปลงข้อมูลเป็นรหัสที่ทำให้อ่านไม่ออกและเข้าถึงไม่ได้

ความซับซ้อน คือ เป้าหมายในการสร้างหัสผ่านที่ปลอดภัย ยกตัวอย่าง รหัสผ่านจะซับซ้อนเมื่อมีตัวเลข  อักระพิเศษ (เช่น "$" หรื "&") และตัวอักษรทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกัน

แฮ็กเกอร์  คือ คนที่ใช้คอมพิวตอร์เพื่อลักลอบเข้ถึงอุปกรณ์และข้อมูลของคนหรือองค์กรอื่น

 

แนวทางการสร้างรหัสผ่านที่รัดกุม

รหัสผ่านที่รัดกุมจะมีที่มาจากวลีหรือประโยคพรรณนาที่จำได้ง่าย ๆ แต่คนอื่นเดาได้ยาก  เช่น ตัวอักษรแรกของคำที่รวมกันเป็นชื่อหนังหรือเพลงโปรด ตัวอักษรแรกในประโยคเกี่ยวกับบางอย่างที่คุณเคยทำและรวมเข้ากับชุดตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์

รหัสผ่านที่รัดกุมปานกลาง คือ รหัสผ่านที่รัดกุมและเดาได้ไม่ง่ายสำหรับซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายแต่คนที่รู้จักคุณอาจเดาได้ รหัสผ่านที่หละหลวมมักใช้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อสัตว์เลี้ยง  เป็นต้น

วิธีป้องกัน

1. ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับบัญชีที่สำคัญแต่ละบัญชี ใช้อักขระอย่างน้อย 8 ตัว ยิ่งยาวยิ่งดี (ตราบใดที่ยังจำได้)

2. ใช้การผสมตัวอักษร (ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก) ตัวเลข และสัญลักษณ์ ทำให้รหัสผ่านของคุณจำง่าย จะได้ไม่ต้องจดไว้ให้เสี่ยงเปล่าๆ

3. เปลี่ยนรหัสผ่านทันที่ถ้ารู้หรือเชื่อว่ามีคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้ใหญ่ที่ไว้ใจรู้เข้า

4. ใช้การล็อกหน้าจอที่รัดกุมกับอุปกรณ์เสมอ ตั้งให้อุปกรณ์เลือกอัตโนมัติเผื่อว่าจะตกไปอยู่ในมือของคนไม่ดี

5. พิจารณาการใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน เช่น ที่ติดตั้งมาในเบราว์เซอร์ให้จำรหัสผ่านไห้ วิธีนี้คุณจะสามารถใช้รหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละบัญชีได้โดยไม่ต้องมานั่งจำอะไรเลย

6. อย่าใช้ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขประกันสังคม นามสกุลเดิมของแม่ วันเกิด ฯลฯ) หรือคำทั่วๆ ไปในรหัสผ่าน

7. อย่าใช้รหัสผ่านที่เดาง่าย เช่น ชื่อเล่น ชื่อโรงเรียน ทีมบาสเก็ตบอลที่เชียร์ ตัวเลขเรียงกัน  (เช่น 123456) ฯลฯ และที่แน่ๆ ห้ามใช้คำว่า "password"!

8. อย่าแชร์รหัสผ่านให้ใครก็ตามที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง

9. อย่าจดรหัสผ่านไว้ในที่ที่คนอื่นหาเจอได้

ความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์และการรักษาความปลอดภัยทางออนไลน์เป็นเรื่องที่ไปด้วยกัน แอปพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะเสนอวิธีต่างๆ ที่ควบคุมว่าเราจะแชร์ข้อมูลอะไรบ้างและอย่างไร  เมื่อคุณใช้แอปหรือเว็บไซต์ ให้มองหาตัวเลือก เช่น "บัญชีของฉัน" หรือ "การตั้งค่า" คือ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัยที่ให้ตัดสินใจในเรื่องดังต่อไปนี้

- ข้อมูลอะไรที่มองเห็นในโปรไฟล์ของคุณได้บ้าง

- ใครสามารถดูโพสต์ รูปภาพ วิตีโอของคุณ หรือเนื้อหาอื่นๆ ที่คุณแชร์ได้บ้าง

การเรียนรู้ที่จะใช้การตั้งค่าเหล่านี้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว และการจำไว้ว่าต้องหมั่นอัปเดตให้เป็นป้จจุบันเสมอ จะช่วยให้คุณจัดการความเป็นส่วนตัว การรักษาความปลอดภัย และความปลอดภัยของตัวเองได้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรอยู่ร่วมตัดสินใจกับคุณด้วยทุกครั้ง

บทสรุป

1. การเลือกรหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันสำหรับบัญชีที่สำคัญของคุณ เพื่อความปลอดภัย

2. เมื่อต้องการสร้างรหัสผ่านที่รัดกุม ควรคิดถึงคำหรือวลีที่สามารถจำได้ รหัส

3. ดังนั้น รหัสผ่านยาว ๆ คือรหัสผ่านที่รัดกุม รหัสผ่านควรจะมีอย่างน้อย 8 อักขระประกอบด้วย ตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่สร้างขึ้นมาจำง่ายและเดายาก

4. การใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเล็กผสมกัน ทำให้รหัสผ่านเดายากมากขึ้น

5. การใช้หมายเลขผสมกับอักขระพิเศษช่วยให้รหัสผ่านมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น และเราต้องจำรหัสผ่านให้ได้ด้วย

 

( สรุปบทความเรื่อง เก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ (Be Internet Strong) จาก หลักสูตรความปลอดภัยและการเป็นพลเมืองในโลกดิจิทัล  Beinternet Awesome )