บทความล่าสุด

บทที่ 1  รับน้องใหม่ หัวใจปิ๊ง ๆ  เป็นบทเรียนที่มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ใช้ผังงานแสดงขั้นตอนในการทำงานหรือการแก้ปัญหา การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา และการใช้ผังงานแสดงขั้นตอนในการทำงาน หรือการแก้ปัญหาตาม  มาตรฐาน ว. 4.2 (ป.6/1)  ใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบ  ในชีวิตประจำวัน   

ภาพจากหนังสือแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) สสวท.ป.6

ขั้นตอนการแก้ปัญหาในรูปของรหัสจำลอง แสดงได้ในรูปของผังงาน หรือ Flowchart

เริ่มต้นเขียนผังงาน

  1. วาดสัญลักษณ์ เริ่มต้น (start) แล้ววาดลูกศรทิศทางเชื่อมโยงไปยังสัญลักษณ์ต่อไป
  2. วาดสัญลักษณ์ การปฏิบัติงาน (process) เขียนสิ่งที่จะทำลงไปแล้ววาดลูกศรทิศทางเชื่อมโยงไปยังสัญลักษณ์ต่อไป
  3. วาดสัญลักษณ์ การตัดสินใจ (decision) เขียนสิ่งที่จะพิจารณาแล้ววาดลูกศรทิศทาง ลากเส้นเชื่อมโยงไปยังการกระทำต่อไปเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงและเป็นเท็จ
  4. วาดสัญลักษณ์ การปฏิบัติงาน (process) เขียนข้อความที่ให้ปฏิบัติตามแต่ละเงื่อนไข
  5. วาดสัญลักษณ์ จบ (end)

 

ผังงานของโปรแกรมเมอร์

     โปรแกรมเมอร์หรือนักเขียนโปรแกรม จะเขียนผังงานเพื่อออกแบบขั้นตอนการทำงานก่อนการเขียนโปรแกรม ซึ่งนอกจากจะทำให้การวางแผนงานมีความชัดเจนแล้ว ยังใช้ผังงานในการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานนี้ได้อีกด้วย

สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้

     - วิธีการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ มีได้หลายวิธี แต่ละวิธีอาจมีจำนวนขั้นตอนที่ไม่เท่ากันแต่สามารถแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกันการแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยเขียนรหัสลำลองหรือเขียนผังงาน

     - ผังงาน(Flowchart) ใช้ออกแบบหรือวางแผนขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้เข้าใจขั้นตอนและเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนขึ้นและสามารถตรวจสอบย้อนกลับเพื่อพบข้อผิดพลาดในการทำงานได้นอกจากนี้เราสามารถใช้ผังงานแสดงขั้นตอนการทำงานต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ด้วย

     - สัญลักษณ์ใช้ในการเขียนผังงาน เช่น เริ่มต้น/จบ  การปฏิบัติงาน การตัดสินใจ ทิศทาง