บทความล่าสุด

การเขียนจำนวนในรูปกระจาย 

วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเขียนจำนวนเต็มในรูปกระจาย เป็นการเรียนรู้ทักษะการบวกเลขจำนวนเต็ม  การรู้ที่มาของตัวเลขจำนวนเต็ม  ซึ่งในบทนี้เราจะได้เรียนรู้การกระจายตัวเลขใน หลักหน่วย หลักสิบ และหลักร้อย

ตัวอย่าง 1

หลักร้อย   = 0

หลักสิบ    = 3

หลักหน่วย = 4

คำตอบ คือ 34  ค่าของ 34  ได้จาก   3 สิบ กับ 4 หน่วย

เขียนในรูปการกระจายได้   34 = 30 + 4

ต้นไม้พูดได้

เนื้อหาของบทเรียนต้นไม้พูดได้ ในวิชาภาษาไทย เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ง่ายๆ 

ซึ่งเรื่องราวของการเรียนรู้นี้จะเป็นเรื่องของเด็กหญิงคนหนึ่งที่สามารถคุยกับต้นไม้ได้โดยที่ไม่รู้มาก่อนว่าต้นไม้สามารถพูดได้

เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาเริ่มเรียนกันได้เลยค่ะ

Good morning

บทเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง Goodmorning เป็นบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับการทักทายในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้การสวัสดีทักทายใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ การทักทายตอนเช้า ทักทายตอนกลางวัน และทักทายตอนเย็น ในบทเรียนนี้ยังมีเพลงสนุกๆ ให้เด็กๆได้ฝึกร้องและเรียนรู้คำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมากมาย

คำศัพท์ในบทเรียน

good morning    หมายถึง สวัสดีช่วงเช้า ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืน จนถึงเวลาก่อนเที่ยงวัน

good afternoon  หมายถึง สวัสดีช่วงกลางวัน ตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงวัน จนถึงเวลาก่อนหกโมงเย็น 18.00 น.

good evening    หมายถึง สวัสดีช่วงเย็น ตั้งแต่เวลาหลังหกโมงเย็น 18.00 น.

คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาละติน หมายถึง การนับ การคำนวณ

คอมพิวเตอร์ มีการทำงาน ดังนี้

  1. รับข้อมูลเข้า (Input)  เป็นการรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน โดยผ่านทางแป้นพิมพ์ หรือเมาส์
  2. ประมวลผล (Process) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้ามา
  3. แสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานต้องการ หลังการประมวลผลข้อมูล

เช่น การกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม เป็นการทำงานของคอมพิวเตอร์ นั่นคือ

อุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หลากหลาย หรือแบบพิเศษ เช่น อุปกรณ์เสริม จอยสติ๊ก ทำหน้าที่คล้ายเมาส์ เหมาะสำหรับเล่นเกม

ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่างๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อให้เกิดเสียงออกในส่วนแสดงผล คือลำโพง

กราฟิก การ์ด หรือเรียกว่า การ์ดจอ มีลักษณะเป็นแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูล ที่ได้จากการการประมวลผลของซีพียู มาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร 

หรือ รูปภาพ

คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ โดยจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ  3 ส่วน ได้แก่

1.ส่วนรับข้อมูล  ทำหน้าที่รับคำสั่งจากมนุษย์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่  

  • เมาส์   ทำหน้าที่ชี้ตำแหน่งข้อมูลบนหน้าจอ  หรือเข้าโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์    การดับเบิ้ลคลิก  คือ คลิกเมส์ซ้าย 2 ครั้ง  การคลิกซ้าย คือ คลิก ซ้าย ครั้งเดียว เพื่อไปยังตำแหน่งต่างๆ การคลิกขวา คือ คลิกขวา ครั้งเดียว เพื่อดูคุณสมบัติของโปรแกรมที่ใช้ขณะนั้น

 แหล่งข้อมูล คือ ที่อยู่ของข้อมูลที่เราต้องการ เช่น นักเรียนดูข่าวกีฬาจากโทรทัศน์ แหล่งข้อมูล คือ โทรทัศน์เป็นต้น ตัวอย่าง การเก็บรักษาแหล่งข้อมูลใกล้ตัว มีดังนี้

1.โทรทัศน์

- หลีกเลี่ยงแสงแดด

- ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

- หากมีปัญหาให้ปรึกษาช่างซ่อมโดยตรง

วิชาคอมพิวเตอร์ : มาเก็บข้อมูลกันเถอะ  เนื้อหาในเรื่องนี้จะกล่าวถึงการเก็บข้อมูล วิธีจัดเก็บข้อมูลให้ถูกวิธี เรียนรู้ทำความรู้จักกับคุณสมบัติของข้อมูลที่ดี และประโยชน์ของข้อมูล

คุณสมบัติที่ดีของข้อมูล

1.ต้องมีความถูกต้องเที่ยงตรง 

2.มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

3.ความสมบรูณ์ของข้อมูล

4.มีความชัดเจนกระทัดรัด

5.มีความสอดคล้องกับการใช้งาน

สำหรับสื่อการเรียนรู้ชั้น ป.2 ที่มีทั้งแบบหนังสืออ่านเรียนหรือ e-Books และสื่อการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียจะมีการใช้งานที่ต่างการ สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ หนังสืออ่านเรียนหรือ e-Books สามารถใช้งานได้ทันทีตามความต้องการของเรา ผู้ใช้สามารถใช้งานด้วยการ แตะเลือกรายวิชาที่ต้องการอ่าน แล้วเปิดอ่านด้วยแอปพลิเคชั่น Adobe Reader  แต่สำหรับสื่อการเรียนรู้แบบ แบบมัลติมีเดีย หรือ OBEC EDU จะต้องแตะปุ่ม Download ในเรื่องที่ต้องการจะเรียน และ Uninstall เพื่อให้มีพื้นที่หน่วยความจำเหลือเพียงพอ ในการเรียนของเรื่องอื่นๆด้วย เนื้อหาวิชาอื่นๆ

SWF เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการเปิดไฟล์มัลติมีเดียประเภทเฟลช (Flash) ซึ่งมีความสำคัญต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ชั้น ป.2 ซึ่งสื่อที่จำเป็นต้องใช้มีชื่อว่า OBEC ป.2 เพราะลักษณะของสื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบมัลติมีเดีย มีภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง ประกอบ หากผู้ใช้งานเปิดสื่อการสอนนี้ แต่ลักษระของสื่อเป็นหน้าสีขาว ไม่มีภาพปรากฎ หรือไม่มีการตอบสนองใดๆของสื่อ ให้ผู้ใช้งานมาตั้งค่า แอปพลิเคชั่น SWF โดยการตั้งค่าให้ทุกหัวข้อเปิดการใช้งาน ผู้ใช้จะต้องไปตั้งค่าที่ Setting แล้วเลือกให้ทุกหัวข้อเปิดการใช้งาน

หลังจากที่เราทำการติดตั้งสื่อการเรียนรู้ชั้น ป.2 แล้วขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตั้งค่าสื่อการเรียนรู้เพื่อให้การทำงานของสื่อ มีความเสถียร ไม่เกิดข้อบกพร่อง โดยการตั้งค่าของสื่อการเรียนรู้ชั้น ป.2 จะเป็นการตั้งค่าชี้ตำแหน่งที่อยู่ เพื่อการเรียกใช้ไฟล์สื่อมาทำการเรียนรู้ จากการใช้สื่อการเรียนรู้ชั้น ป.2 บางท่านอาจจะพบปัญหา การเรียกใช้งานของสื่อไม่ตอบสนอง ซึ่งวิธีการแก้ไขก็จะต้องมาทำการตั้งค่าชี้ตำแหน่งที่อยู่ของสื่อให้ถูกต้อง โดยมีขั้นตอนดังนี้