บทความล่าสุด
- ข้อสอบ O-Net ปีการศึกษา 2566 สาระเทคโนโลยี
- การใช้สูตรแปลผลคะแนน และจำนวนมากกว่า น้อยกว่า ด้วย Excel
- การใช้สูตรรวมคะแนน และตัดเกรด ด้วยโปรแกรม Excel
- การสร้างตารางรายชื่อนักเรียน และตารางเช็คชื่อนักเรียนด้วย Excel
- การสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch : เกมเก็บดาว ควบคุมด้วยการคลิกเมาส์
- การสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch : เกมไม้วิเศษ ควบคุมด้วยการคลิกเมาส์
- การสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch : เกมเก็บลูกโป่ง ควบคุมด้วยปุ่มกดบนแป้นพิมพ์
- การสร้างเกมด้วยโปรแกรม Scratch : เกมเก็บลูกแอปเปิ้ล ควบคุมด้วยปุ่มกดบนแป้นพิมพ์
- ข้อสอบ O-Net ปีการศึกษา 2565 สาระเทคโนโลยี
- ข้อสอบ O-Net วิทยาการคำนวณ ป.6 ปี 2564
- ดอกไม้หรรษาด้วยโปรแกรม Scratch
- เขียนโปรแกรม Scratch ตรวจสอบเลขคู่เลขคี่
- เขียนโปรแกรม Scratch บอกเกรดระดับผลการเรียน
- Scratch วาดรูปเรขาคณิต ตามทิศทาง Point in direction
- การวาดรูปเรขาคณิตซ้ำกันหลายรูป ด้วยโปรแกรม Scratch
ประโยชน์ของการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
การเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดความสำคัญดังนี้
1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือพัฒนาโครงงาน อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง
การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คืออะไร
การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คือกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้น ทีละตอน รวมทั้งการย่อยปัญหาที่ช่วยให้รับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนหรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้วิธีคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็นในการพัฒนา แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกันวิธีคิดนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในวิชาต่าง ๆ ได้ด้วย ดังนั้น เมื่อมีการบูรณาการวิธีคิดเชิงคำนวณผ่านหลักสูตรในหลากหลายแขนงวิชา นักเรียนจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชารวม ทั้งสามารถนำวิธีคิดที่เป็นประโยชน์นี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
การคิดเชิงคำนวณ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาของมนุษย์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)
การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เป็นทักษะการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมาย ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8CS) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้
Read more: การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)
องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณ
องค์ความรู้ของวิทยาการคำนวณมีขอบเขตของการเรียนการสอนโดยเน้น 3 องค์ความรู้ ดังนี้
- การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นวิธีคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการ มองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิด โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่าง
- พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับ เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุค 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะ เป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และประยุกต์สร้างสรรค์งานได้อย่าง เหมาะสม
- พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and Information Literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
Coding คืออะไร
Coding คือ การเขียนโค้ดด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC C, Pascal, Assemble เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่ง ของการเขียนโปรแกรม เราเรียกโค้ดที่ได้ว่า Source Code และเมื่อเราทำการ Coding แล้ว เราจะนำเอาโค้ดที่ได้ไปทดสอบและประมวลผล เพื่อดูว่าโปรแกรมที่ได้จากการ Coding นี้เป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ ก่อนจะนำโปรแกรมที่เรียบร้อยแล้วไปประยุกต์ใช้งานต่อไป การโค้ดดิ้ง คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการเขียนโปรแกรม เราเรียกขั้นตอนนี้ว่าเป็นการทำโปรแกรมขึ้นจริง (Implementation of the Algorithm) โดยใช้ภาษาโปรแกรมใด ๆ ที่เหมาะสมกับงานของ
เราสามารถใช้ Google Drive สร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ได้ง่ายๆ โดยขั้นแรกเราจะต้องมีบัญชี G-Mail ก่อน จากนั้นเราก็เข้าสู่ระบบอีเมล์ของเรา ซึ่งจะต้องเป็นอีเมล์ที่มีแอดเดรสเป็น gmail นั่นคือ @gmail.com เมื่อเราเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มสร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ได้เลย โดยคลิกเข้า Google Drive จากนั้นเลือก Google Form และติดตั้งส่วนเสริม คือ Form Publisher นี่คือขั้นตอนหลักในการสร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ขั้นตอนการสร้าง เกียรติบัตร วุฒิบัตร Online โดยละเอียด มีดังนี้
Read more: สร้างเกียรติบัตร วุฒิบัตร Online ด้วย Google Drive
แปลงไฟล์ภาพถ่ายที่เป็นข้อความ ให้เป็นตัวอักษรข้อความในเอกสาร ด้วย Google ไดร์ฟ และ Google Doc
1. เข้าสู่ระบบอีเมล์ ด้วยบัญชีกูเกิ้ล ของเรา
2. จากนั้นคลิกที่เมนูรวม
3. เลือกไดรฟ์
พิมพ์เอกสาร พิมพ์ข้อความ จากเสียงที่เราพูด ด้วย Google Doc
1. เข้าสู่ระบบอีเมล์ ด้วยบัญชีกูเกิ้ล ของเรา
2. จากนั้นคลิกที่เมนูรวม
3. เลือกไดร์
Read more: พิมพ์เอกสาร พิมพ์ข้อความ จากเสียงที่เราพูด ด้วย Google Doc
แปลงข้อความจากไฟล์ PDF ให้เป็นข้อความที่แก้ไขได้ในเอกสาร ด้วย Google ไดร์ฟ และ Google Doc
1. เข้าสู่ระบบอีเมล์ ด้วยบัญชีกูเกิ้ล ของเรา
2. จากนั้นคลิกที่เมนูรวม
3. เลือกไดรฟ์
Read more: แปลงข้อความจากไฟล์ PDF ให้เป็นข้อความที่แก้ไขได้ในเอกสาร ด้วย Google ไดร์ฟ และ Google Doc
สร้างภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ ด้วย Stop Motion App สู่ STEM ศึกษา
STEM ศึกษา เรียนรู้การสร้างภาพเคลื่อนไหวของวัตถุ ด้วย Stop Motion App ซึ่งการเรียนรู้นี้เป็น เน้นการใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์บูรณาการสู่ STEM ศึกษา โดยมีหลักการว่า นำความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์สร้างงานโดยสอดคล้อง กับการเรียนรู้หลักวิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/วิศวกรรม/และคณิตศาสตร์
Read more: สร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วย Stop Motion App สู่ STEM ศึกษา
หุ่นยนต์ความคิดสร้างสรรค์ Robot GUN
Robot GUN คือ การสร้างปืนมอเตอร์อเนกประสงค์ ที่เกิดจากแนวคิดที่ว่า เราอยากสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานได้ทุกอย่าง ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า ใช้มอเตอร์เพียง 1 อัน และ ถ่าน AA 1.5 โวลต์ 2 ก้อน
ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้น หุ่นยนต์ปืนมอเตอร์อเนกประสงค์ ที่สามารถทำงานได้ ตามความต้องการเพียงเปลี่ยนหัวอุปกรณ์ที่มอเตอร์ Robot GUN จึงเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถพัฒนาไปสู่สิ่งประดิษฐ์ประเภทของใช้ที่สร้างรายได้ให้กับตนเองได้อีกด้วย.
เราสามารถนำภาพถ่ายต่างๆมาสร้าง Slide Show ให้เเป็นวิดีโอในรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้โปรแกรม ProShow Gold ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นำภาพถ่ายต่างๆมาสร้าง Slide Show ให้เเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงเพลงประกอบ และ มี Effects ที่สวยงาม โปรแกรมนี้ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
ขั้นตอนของการใช้โปรแกรม มีดังนี้
Read more: นำภาพถ่ายมาสร้าง Slide Show ให้เป็นวิดีโอในรูปแบบต่างๆ ด้วยโปรแกรม ProShow Gold
การนำภาพถ่ายมาสร้างเป็นวิดีโอ ด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio 11 เป็นการนำภาพถ่ายจำนวนมาก มาทำการ Slideshow โดยเพิ่มเติมเสียง และใส่ Effect ทำให้เป็นคลิปวิดีโอที่น่าสนใจ ซึ่งการเรียนรู้นี้ นักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การสร้างคลิปวิดีโอนำเสนอ แบบง่ายๆ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง และมีความสุขในการเรียนรู้
Read more: นำภาพถ่ายมาสร้างเป็นวิดีโอ ด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio 11
การสร้างภาพ holographic อย่างง่ายๆ ด้วยตนเองเป็นอีกหนึ่งความรู้ในแนวทางของการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ Stem ศึกษา ซึ่งประโยชน์ของการเรียนรู้นี้ จะทำให้ผู้เรียนนำทักษะและความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงาน เป็นต้น
การสร้างภาพ holographic ด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมกระดาษพลาสติก เพื่อใช้สำหรับตัดเป็นรูปทรงปิรามิด
2. ดาวน์โหลดแม่แบบ สำหรับสร้างปิรามิดพลาสติก โดยไปที่เว็บไซต์ http://cafundo.tv/diyhologram/
3. นำกระดาษพลาสติกมาทาบลงบนกระดาษแม่แบบ แล้วใช้กรรไกรตัดตามรูปทรงที่กำหนดในแม่แบบที่ดาวน์โหลด
การเรียนรู้ตารางธาตุเคมี จากแอพพลิเคชั่น Elements 4D เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักการ STEM ศึกษา เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาทำให้ได้ค้นคว้าและเรียนรู้อย่างอิสระ
แอพพลิเคชั่น Elements 4D เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุเคมี ทำให้ทุกคนสนใจเรียนรู้วิชาเคมีมากขึ้น ความโดดเด่นของแอพพลิเคชั่นตัวนี้ คือการประยุกต์ใช้โทรศัพท์มือถือในการเรียนรู้ ด้วยการเปิดกล้องส่องภาพที่เป็นธาตุเคมี ทำให้เห็นลักษณะของธาตุเคมี ผู้เรียนจึงเกิดการเรียนรู้ที่เห็นภาพได้ชัดเจน มีความจดจำ เกิดความสนใจ และอยากเรียนรู้วิชาเคมีมากขึ้นอีกด้วย
Page 3 of 33