บทความล่าสุด

เนื้อเรื่อง จ้องตากัน

ใบโบกใบบัว   ตัวสั่น      ขาแข็ง

หูไร้เรี่ยวแรง   หางแกว่ง  ไม่ออก

เจองุตัวดำ แลบลิ้น     ล่อหลอก

แม่เบี้ย       แผ่ออก      น่ากลัว นักหนา

จ้องตากกันไป จ้องตากันมา

งูเลื้อยเข้าป่า  ช้างน้อย โล่งใจ

ความหมายของคำ

1. ตัวสั่น   หมายถึง  อาการที่ตัวสั่นไหวถี่ๆ  ด้วยความกลัว

2. แกว่ง  หมายถึง  อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นที ทางนี้ที

3. แม่เบี้ย   หมายถึง  พังพานงู

4. จ้อง   หมายถึง  เพ่งตาดู

5 เลื้อย   หมายถึง  เสือกไปด้วยอก  ใช้กับสัตว์ไม่มีขา  ตัวยาว  เช่น  งูเลื้อย

ข้อคิดจากเรื่อง จ้องตากัน

แม้จะเป็นสัตว์ก็รักชีวิตของตัวเอง เมื่อตกอยู่ในอันตรายก็ต้องต่อสู้  เหมือนกับใบโบก  ใบบัว  แม้จะกลัวงู  แต่ก็สู้ตามที่ตนทำได้นั่นก็คือ  การจ้องตา

 

พยัญชนะที่เป็นอักษรกลาง มีดังนี้   ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ   

วรรณยุกต์ มีทั้งหมด 4 รูป  ได้แก่  ไม้เอก ,  ไม้โท ,  ไม้ตรี  ,  ไม้จัตวา   

วรรณยุกต์มี 5 เสียง  ได้แก่  เสียงสามัญ  เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี  เสียงจัตวา 

อักษรกลางผันได้  5 เสียง  เช่น

1. กา   ผันได้เป็น    กา    ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า

2. ตี    ผันได้เป็น   ตี   ตี่    ตี้  ตี๊  ตี๋

3. ดู    ผันได้เป็น   ดู   ดู่  ดู้  ดู๊  ดู๋

4. แบ  ผันได้เป็น   แบ  แบ่  แบ้   แบ๊  แบ๋

5. โต  ผันได้เป็น   โต  โต่  โต้   โต๊  โต๋

6. ไป  ผันได้เป็น    ไป   ไป่  ไป้  ไป๊  ไป๋

คำและประโยค ในบทเรียน

1. เรือไฟ  หมายถึง เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง  มีขนาดเล็กกว่าเรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : พ่อพาภูผาไปดูเรือไฟที่พิพิธภัณฑ์

2. โป๊ะเรือ  หมายถึง  ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือให้คนขึ้นลง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภูผากำลังเดินไปโป๊ะเรือ เพื่อรอลงเรือ

3. เตี้ย  หมายถึง  ไม่สูง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ภัทรสูงจนพลอยรู้สึกเตี้ยไปเลย

4. แม่เบี้ย  หมายถึง  พังพานงู  ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง

การเรียบเรียงคำและประโยค  : ใบโบกใบบัว เจองูกำลังแผ่แม่เบี้ย

5. เคาะโต๊ะ  หมายถึง  ใช้อวัยวะมือกระทบบนโต๊ะเยาๆ

การเรียบเรียงคำและประโยค  : นักเรียนกำลังเคาะโต๊ะเล่นในห้องเรียน

การสะกดคำที่มากกว่า  1 พยางค์

1. ข้อมือ  หมายถึง ข้อต่อระหว่างมือและแขนช่วงใต้ข้อศอก

การสะกดคำ  ขอ - ออ - ขอ -ไม้โท - ข้อ  + มอ - อือ - มือ  อ่านว่า  ข้อมือ

2. เจอเสือ  หมายถึง  พบหรือเห็นเสือที่เป็นสัตว์ดุร้าย 

การสะกดคำ  จอ - เออ - เจอ  + สอ - เอือ - เสือ  อ่านว่า  เจอเสือ

3. เกาะขา  หมายถึง  จับหรือยึดขาเอาไว้

การสะกดคำ  กอ - เอาะ - เกาะ + ขอ - อา - ขา  อ่านว่า  เกาะขา

4. ไปเถอะ  หมายถึง การขอร้อง หรือวิงวอน ให้ออกจากที่ตรงนั้น

การสะกดคำ   ปอ - ไอ - ไป + ถอ - เออะ - เถอะ  อ่านว่า  ไปเถอะ

5.โป๊ะไฟ  หมายถึง โคมไฟ  หรือ เสาไฟตามท้องถนน

การสะกดคำ ปอ - โอ๊ะ - โป๊ะ + ฟอ - ไอ - ไฟ  อ่านว่า   โป๊ะไฟ

1. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรกลาง

1. สระเออะ  เช่น  เจอะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  จอ + เออะ  อ่านว่า เจอะ

2. สระเออ เช่น  เจอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   จอ + เออ  อ่านว่า เจอ

3. สระเอือ เช่น เจือ   มีการแจกลูกคำดังนี้   จอ + เอือ  อ่านว่า  เจือ

ความหมาย 

1. เจอะ  หมายถึง  พบ  เห็น  ประสบ  ประจวบ

2. เจอ  หมายถึง    พบ  เห็น  ประสบ  ประจวบ

3.เจือ หมายถึง  เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ปนกัน 

2. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรสูง

1. สระเออะ  เช่น  เถอะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  ถอ + เออะ  อ่านว่า เถอะ

2. สระเออ เช่น  เขอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   ขอ + เออ  อ่านว่า เขอ

3. สระเอือ เช่น เขือ   มีการแจกลูกคำดังนี้   ขอ + เอือ  อ่านว่า  เขือ

1. ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของอักษรกลาง

1. สระโอะ  เช่น  โปะ   มีการแจกลูกคำดังนี้  ปอ + โอะ  อ่านว่า โปะ

2. สระโอ เช่น  โต   มีการแจกลูกคำดังนี้   ตอ + โอ  อ่านว่า โต

3.สระเอาะ เช่น เกาะ   มีการแจกลูกคำดังนี้   กอ + เอาะ  อ่านว่า  เกาะ

4. สระออ  เช่น  กอ  มีการแจกลูกคำดังนี้   กอ + ออ  อ่านว่า กอ

ความหมาย 

1. เกาะ  หมายถึง จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่

2. กอ  หมายถึง  กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน  เช่น  กอหญ้า  กอแขม  กอไผ่

3. โต  หมายถึง มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกัน

4. เจาะ  หมายถึง  ทำให้เป็นช่องเป็นรู

5. จอ หมายถึง ผ้าขาวที่ขึงไว้สำหรับเชิดหนัง หรือฉายภาพยนต์  หรือ สิ่งที่มีลักษรธคล้ายคลึงเช่นนั้น  เช่น จอโทรทัศน์

พยัญชนะไทยมี 44 ตัว  คือ  ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ  และ พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ได้ดังนี้

1. อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่  ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห  

2. อักษรกลาง 9 ตัว  ได้แก่  ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ 

3. อักษรต่ำ  24 ตัว   ได้แก่  ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ ที่ควรรู้จักในบทเรียนนี้คือ  สระโอะ   สระเอาะ  สระ ออ  สระเออะ  สระเออ  สระเอือ

เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! )  หรือ เครื่องหมายตกใจ  เช่น  อะไรนั่น !  งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสอง ยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่แกว่งหาง

วิทยาศาสตร์  คือ การศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และศึกษาต่อไปในอนาคต

นักวิทยาศาสตร์ คือ  กลุ่มคน หรือบุคคล   ที่ทำการศึกษาวิทยาศาสตร์  จนมีความเชียวชาญ และได้นำความรู้ที่ได้มาตั้งเป็นกฏเกณฑ์ หรือ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป 

นักวิทยาศาสตร์  จะต้องเป็นคนช่างสังเกต  ช่างสงสัย  มีเหตุมีผล  มีความพยายามและอดทน 

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของไทย  คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4  พระองค์ทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า  จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น่าอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และโลก  จะโคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน จะเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์  เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์มิดหมดทั้งดวง  เรียกว่า  สุริยุปราคาเต็มดวง  โดยคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดที่ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ประเทศไทยจึงกำหนดวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

เนื้อหาเรื่อง  เกือบไป

หลังฝนตกหนัก  พ่อ พาพลายมะปิน  พลายมะคา  และช้างพลาย ของเพื่อนบ้านอีกสองเชือกไปช่วย ลากต้นไม้ที่ล้ม ขวางถนน ภูผา ขอไปกับพ่อ พาใบโบก  ใบบัว  ไปด้วย พ่อกับภูผา  ขี่คอ พลายมะปิน มีลูกช้างเดินตามหลังทั้งหมดพากันเดินทางลัดผ่านป่าเพื่อให้ถึงเร็วขึ้น ภูผารู้ว่าเพื่อนๆเดิมตามมา เพราะมีเสียง กระดึง และ กระพรวน ดังตลอดเวลา แล้วจู่ๆ เสียงโป๊ก เป๊ก เสียง กรุ๋งกริ๋ง  เงียบไป ภูผา หันไปดู อะไร นั่น งูสีดำตัวใหญ่ แผ่แม่เบี้ย ขวางทาง ลูกช้าง ทั้งสองยืนตัวแข็ง ไม่โบกหู ไม่ แกว่งหาง ต่างฝ่ายต่างจ้องกันอยู่สักครู่ แล้ว งู ก็เลื้อยเข้าป่าไป  ใบโบก ใบบัว ตกใจกลัว ส่งเสียงร้อง  วิ่งชูงวง เข้ามาเกาะ หาง พลายมะปิน ทันที  โถ น่าสงสาร ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงู กัด  งูตัวใหญ่ น่ากลมัวจริงๆ เกือบไป เกือบไป 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเกือบไป 

ไม่ควรอยู่ในความประมาท เพราะอันตรายเกิดขึ้นได้เสมอ เพียงแค่เวลาเพียงสั้นๆ เช่น ใบโบก ใบบัว เกือบถูกงูดำตัวใหญ่กัด แต่ยังดีที่งูตัวนั้นเลื้อยเข้าป่าไป ใบโบก ใบบัวจึงปลอดภัย 

พุทธประวัติ คือ  ประวัติของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่วันประสูติหรือวันเกิดของพระพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  ณ สวนลุมพินีวัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศเนปาล  พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา  เมื่อมาอายุครบ 16 พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา หรือ พิมพา และทรงมีพระโอรส 1 พระ องค์ นามว่า ราหุล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ มีความประสงค์จะให้ตนเองพ้นทุกข์ และชาวโลกพ้นทุกข์  เมื่ออายุได้ 29  พรรษา  พระองค์จึงตัดสินใจออกผนวช และ หาทางดับทุกข์  พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยการทรมานร่างกาย   เพื่อค้นหาวิธีดับทุกข์  พระองค์ใช้เวลา 6 ปี ในการตรัสรู้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้ ได้เทศนาแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร  แก ปัญจวัคคีย์ 5 รูป และได้เกิดพระสงฆ์ขึ้นครั้งแรก พระภิกษุรูปแรก ชื่อ โกณฑัญญะ  พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนานานถึง 45 ปี พระองค์ก็ได้ปรินิพพาน  ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  รวมอายุได้ 80 พรรษา

บทเรียนคณิตศาสตร์ ชั้น ป.1 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก มีหลักการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาดังนี้

หลักการแก้โจทย์ปัญหา มีดังนี้

1. กำหนด สิ่งที่โจทย์บอก

2. กำหนด สิ่งที่โจทย์ถาม

3. วิเคราะห์โจทย์

4. วิธีหาคำตอบ

5. ผลลัพธ์ที่ได้

ดวงดาว คือ วัตถุบนท้องฟ้าที่ส่องแสงสว่าง ระยิบระยับบนท้องฟ้า ในเวลากลางคืน   ในเวลากลางวันเรามองไม่เห็นดวงดาว เพราะว่า แสงจากดวงอาทิตย์ สว่างจ้ากว่าแสงของดวงดาวอื่นๆ 

การทดลอง เรื่อง ดวงดาวหายไปไหน

มีอุปกรณ์ ดังนี้ 

1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง

2. ประดาษแข็งขนาดเล็กกว่าซองจดหมาย

3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น

4. ไฟฉาย

วิธีทำการทดลอง

1. เจาะรูกระดาษแข็ง  10 รู 

2. นำกระดาษแข็งไปใส่ในซองจดหมาย

3. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าซองจดหมาย

6. นำไฟฉายไปส่องที่บริเวณหน้าหน้าซองจดหมาย

ผลการทดลอง

1. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหน้าของซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างของไฟฉาย

2. เมื่อส่องไฟฉาย บริเวณด้านหลังของซองจดหมายจะเห็นแสงของไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็กๆ

เนื้อหาเรื่องเกือบไป เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ ที่นักเรียนควรรู้จัก ซึ่งคำศัพท์ในบทเรียนเรื่อง เกือบไป รู้จักคำนำเรื่อง มีดังนี้

1. ป่า 2. ขี่ 3. ขวาง 4. เล่น 5. เกาะ

6. แกว่ง 7. ฝน 8. ตก 9. ถนน 10. ต้นไม้

11. แผ่แม่เบี้ย

จับคู่คำ น่ารู้

1. ขวางถนน     2. ต้นไม้     3. ฝนตก     4. แผ่แม่เบี้ย    5. แกว่งชิงช้า     

6. วิ่งแข่ง        7. แกว่งไกว    8. ไม้ป่า      9. ห่าฝน    10. ถนนลื่น

การบวกลบจำนวนตัวเลขที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100  หลักการสำคัญของการบวกจำนวนที่มีสองหลักกับจำนวนที่มีหนึ่งหลัก คือการบวกเลขในหลักเดียวกันก่อน นั่นคือการบวกเลขที่หลักหน่วยก่อน  และจึงไปบวกเลขที่หลักสิบ 

การบวกจำนวนสองหลักกับจำนวนสองหลัก  เช่น  37 + 41  

หลักหน่วย คือ เลข 7 กับ เลข 1  และ หลักสิบ คือ เลข 3 กับ เลข 4 

ให้เริ่มทำการบวกเลข จากหลักหน่วยก่อน คือ    7+ 1  = 8   ดังนั้นหลักหน่วยมีค่าเท่ากับ 8 

จากนั้นนำหลักสิบมาบวกกัน คือ  3 + 4 = 7   ดังนั้นหลักสิบมีค่าเท่ากับ 7  

คำตอบของ 37 + 41  คือ  78 

อากาศเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น อากาศร้อน  ฝนตก  หรือ อากาศหนาว  วิธีปรับตัวตามสภาพอากาศมีดังนี้

1. อากาศร้อน  ใส่เสื้อบาง แขนสั้น  เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ในวันที่อากาศร้อนควรดื่มน้ำมากๆ ไม่ควรตากแดดเป็นเวลานาน

2. ฝนตก  ไม่ควรตากฝน ควรใส่เสื้อกันฝนกางร่ม เพื่อป้องกันฝน 

3. อากาศหนาว ควรสวมเสื้อแขนยาวเพื่อให้เกิดความอบอุ่น 

สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ  คือ  แม่น้ำ  และต้นไม้   สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  เราต้องปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมให้ทันเพื่อความสุขและสุขภาพของเราเอง