บทความล่าสุด

การสะกดคำมาตราแม่กก และแม่กด

ความหมายของคำ 

1. ปาก  หมายถึง  อวัยวะที่อยู่บริเวณใบหน้า  มีลักษณะเป็นช่องสำหรับกินอาหาร และใช้สำหรับเปล่งเสียง

2. ถูก  หมายถึง  ความจริงหรือสิ่งที่กำหนดไว้

3. โบก  หมายถึง  ทำให้เคลื่อนไหวไปมา

4. ผูกเชือก  หมายถึง  เอาเชือกสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน  เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่นๆ

5. ปลูกผัก  หมายถึง  เอาเมล็ดใส่ลงในดิน หรือสิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต

เรื่อง ทบทวนการผันวรรณยุกต์

อักษรไทย แบ่งได้เป็น  อักษรกลาง  อักษรสูง  และอักษรต่ำ

อักษรกลาง   ผันวรรณยุกต์   ได้  5  เสียง  ได้แก่  เสียง สามัญ  เอก  โท  ตรี  จัตวา    เช่น  กา   ก่า   ก้า   ก๊า   ก๋า

อักษรสูง  ผันวรรณยุกต์   ได้ 3  เสียง  ได้แก่  เสียง เอก  โท   จัตวา  เช่น  ข่า  ข้า  ขา  อักษรสูง มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา

อักษรต่ำ  ผันวรรณยุกต์   ได้ 3  เสียง  ได้แก่  เสียงสามัญ   โท   ตรี  เช่น  งา  ง่า ง้า   อักษรต่ำ :  ผันวรรณยุกต์เอก  จะออกเสียงโท   ผันวรรณยุกต์โท  จะออกเสียงตรี

เรื่อง ทบทวนการสะกดคำ ตัวอย่าง การแจกลูกสะกดคำ ของตัวอย่างต่อไปนี้

1. กราบ   การแจกลูกสะกดคำ  คือ  กอ - รอ - อา - บอ  อ่านว่า  กราบ

2. เหมือน  การแจกลูกสะกดคำ  คือ  หอ - มอ - เอือ - นอ  อ่านว่า  เหมือน

3. ความ   การแจกลูกสะกดคำ  คือ คอ - วอ - อา - มอ   อ่านว่า  ความ

4. พลาย  การแจกลูกสะกดคำ  คือ พอ - ลอ - อา - ยอ  อ่านว่า พลาย

5. แปรง  การแจกลูกสะกดคำ  คือ  ปอ - รอ - แอ - งอ  อ่านว่า แปรง

ความหมาย 

1. กราบ   หมายถึง  แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก  แล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้น

2. เหมือน  หมายถึง  อย่างเดียวกัน  มีลักษณะไม่ต่างกัน 

3. ความ   หมายถึง  เนื้อเรื่อง  เนื้อหาใจความที่สำคัญ 

4. พลาย  หมายถึง  เรียกช้างตัวผู้ว่า  ช้างพลาย

5. แปรง  หมายถึง  สิ่งของอย่างหนึ่งทำด้วยขนสัตว์  พลาสติกแข็ง ลวด สำหรับใช้ปัด หวี สีฟัน หรือ ขัดถูสิ่งของอื่นๆ

การสร้างโจทย์ปัญหาจากภาพ  คือ การแต่งโจทย์ปัญหาจากภาพที่เห็น

โจทย์การบวกลบระคน คือ ประโยคที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ การบวก และ การลบ อยู่ในโจทย์เดียวกัน  มีวิธีการคิดหาคำตอบ  คือ วิเคราะห์โจทย์ จากสิ่งที่โจทย์บอก และสิ่งที่โจทย์ถาม

 

โจทย์ปัญหาการบวกลบระคน   เป็นโจทย์ปัญหาที่มีวิธีคิดหาคำตอบทั้งการบวก และการลบ ระคนกันไป โดยจะต้องวิเคราะห์หาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์บอก และสิ่งที่โจทย์ถาม โดยควรทำวิธีการหาคำตอบในวงเล็บก่อน 

สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์  ชั้น ป.1  เรื่อง การบวกลบระคน  

การบวกลบระคน  คือ  ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย บวก ลบ อยู่ในประโยคเดียวกัน  และมีการใช้วงเล็บ วิธีการหาคำตอบ คือ  เราจะหาคำตอบในวงเล็บก่อนแล้วจึงมาทำการบวก ลบ กับจำนวนที่เหลือ

ตัวอย่าง  มีปลาย่าง  6  ตัว  แมวกินไป  3  ตัว  และกินไปอีก 1 ตัว  จะเหลือปลาย่างกี่ตัว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี  หรือ ชาวพุทธตัวอย่าง หมายถึง ชาวพุทธที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีที่ควรยกย่องและนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

ลักษณะชาวพุทธที่ดี เช่น  การปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ  การมีความกตัญญู ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความกตัญญูต่อบิดามารดา 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสกับทหารองครักษ์ ที่ดูแลสมเด็จย่า ขณะออกทรงงาน เมื่อครั้งทหารองครักษ์จะประคองสมเด็จย่า ว่า  " ไม่ต้อง คนนี้เป็นแม่ของเรา เราประคองเองได้ ตอนเล็กๆแม่ประคองเรา สอนเราเดิน หัดให้เราเดิน เพราะฉะนั้น ตอนนี้แม่แก่แล้ว เราต้องประคองแม่เดิน เพื่อเทิดพระคุณท่าน"

เรื่อง สุวัณสามชาดก

สุวัณสามชาดก เป็นลูกของชายหญิงคู่หนึ่งที่บวชเป็นฤาษี อาศัยอยู่ในป่า สุวัณชามเป็นเด็กที่มีความกตัญญูต่อบิดามารดา เชื่อฟังคำสั่งสอน ช่วยบิดามารดาทำงานบ้าน นอกจากนี้ สุวัณณสามยังเป็นเด็กที่มีความเมตตาต่อสัตว์ป่าทุกตัว วันหนึ่งพ่อและแม่ของ สุวัณณสามไปเก็บผลไม้ในป่า เนื่องจากฝนตกทำให้ต้องไปหลบอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีงูพิษอาศัยอยู่ จึงได้ถูกงูพิษนั้นพ่นพิษใส่ดวงตา ทำให้ทั้งสอง ตาบอด เมื่อสุวัณณสามรู้เข้าจึงรู้สึกเสียใจ แต่ก็เข้มแข็งยินดีเลี้ยงดูบิดามารดาของตนอย่างดี จนกระทั่งวันหนึ่งสุวัณณสามได้ไปหาอาหารให้บิดามารดารับประทาน แต่กลับถูกเจ้าชายที่มาล่าสัตว์ยิงธนูอาบยาพิษใส่ สุวรรณสามคร่ำครวญเสียใจที่ต่อไปนี้จะไม่มีใครดูแลพ่อแม่ เมื่อเจ้าชายรู้ว่าสุวัณณสามเป็นเด็กกตัญญูต่อบิดามารดาจึงรู้สึกเสียใจ และรับปากจะดูแลพ่อแม่แทนสุวัณณสาม เมื่อสุวัณณสามสลบไป เจ้าชายคิดว่าสุวัณณสามตายแล้ว จึงเสียใจและได้ไปรับพ่อและแม่ของสุวัณณสามมาดูแล เมื่อพ่อและแม่ของสุวัณณสามมาพบจุดที่ลูกชายนอนสลบอยู่ แม่ของสุวัณณสามจึงอธิษฐานต่อเทวดาของให้สุวัณณสามฟื้น ด้วยความดีและความกตัญญูที่สุวัณณสามได้กระทำ ต่อบิดามารดา ทำให้สุวัณณสามฟื้นและดวงตาของพ่อและแม่ก็หายเป็นปกติ ทำให้เจ้าชายดีใจ และตั้งใจปฏิบัติตน ปกครองประชาชน ตั่งมั่นอยู่ในศีลธรรม 

ข้อคิดจากเรื่อง  เด็กที่มีความกตัญญูต่อบิดามารดา จะเป็นเด็กที่มีความดีคุ้มครอง

 

ชาดก  คือ เรื่องราว หรือประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า  สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้

วัณณุปถชาดก  เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่เกิดเป็นนายกองเกวียน 

กองเกวียน คือ  กลุ่มพ่อค้าที่บรรทุกสินค้าไปขายในเมืองต่างๆ 

ข้อคิดจากเรื่อง  ความสำเร็จเกิดจากความพยายาม ตั้งใจทำ

ความรู้จากเรื่อง

พุทธศาสนิกชนที่ดีควรทำความดีอย่างสม่ำเสมอ การทำความดีเป็นประจำ ความดีที่ทำนั้นจะส่งผลช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย 

อุปสมบท  คือ การบวช

ลาสิกขา  คือ  การสึกจากการเป็นพระ

นักเรียนควรทำความดี ด้วยการตั้งใจเรียน  มีน้ำใจ  พูดจาไพเราะ

ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ดีงามอย่างมีเหตุผล 

ความเชื่อ หมายถึง  ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล  และความเลื่อมใส

ศรัทธา ในพระรัตนตรัย หมายถึง  ความเชื่อ ความเลื่อมใส ในคุณของพระรัตนตรัย ซึ่งประกอบด้วย คุณของพระพุทธ  คุณของพระธรรม  คุณของพระสงฆ์

พระรัตนตรัย แปลว่า  แก้วอันประเสริฐ  3 ประการ 

พระรัตนตรัย ประกอบด้วย 

1. พระพุทธ  คือ พระพุทธเจ้า คุณของพระพุทธ คือ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม 

2. พระธรรม  คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คือ ช่วยทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามไม่ให้ตกอยู่ในความชั่ว 

3. พระสงฆ์ คือ ผู้สืบทอดและเผยแผ่พระศาสนา คุณของพระสงฆ์  คือ เป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม 

โอวาท 3 คือ  การสอนให้เราไม่ทำความชั่ว  ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ 

เบญจศีล หรือ ศีล 5 มีดังนี้

ศีลข้อที่ 1 คือ  เว้นจากการเบียดเบียน รังแก ทำร้ายหรือฆ่าสัตว์

ศีลข้อที่ 2 คือ  เว้นจากการลักขโมย

ศีลข้อที่ 3 คือ  เว้นจากการนอกใจคู่ครอง

ศีลข้อที่ 4 คือ  เว้นจากการพูดปด  พูดคำหยาบ  เพ้อเจ้อ  ไร้สาระ

ศีลข้อที่ 5 คือ  เว้นจากการเสพสิ่งมึนเมาต่างๆ 

เบญจธรรม  คือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ มี 5 ประการ  ดังนี้ 

1. เมตตา กรุณา  คือ มีความรัก และความสงสาร

2. สัมมาอาชีวะ  คือ มีอาชีพที่สุจริต 

3. กามสังวร  คือ ยินดีและพอใจในคู่ครองของตน

4. สัจจะ คือ  การพูดความจริง

5.สติสัมปชัญญะ  คือ   มีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไร 

สังคหวัตถุ 4  คือ หลักปฏิบัติที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เกิดความสามัคคี  มี 4 ประการ

1. ทาน คือ การแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

2. ปิยวาจา  คือ  การพูดจาไพเราะ

3. อัตถจริยา คือ  การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

4. สมานัตตตา คือ  การวางตัวเหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย

การทำจิตให้ผ่องใส  คือ  จิตที่บริสุทธิ์  จิตที่คิดในสิ่งที่ดี 

การคิดดี  คือ  คิดแต่สิ่งที่ดี  เกิดประโยชน์  ไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน

ทำดี  คือ  การปฏิบัติตนเป็นคนดี

พูดดี  คือ  พูดถึงสิ่งที่ดี  เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

การบริหารจิตและเจริญปัญญา  คือ  การฝึกทำจิตใจให้สงบ มีสติ ไม่คิดฟุ้งซ่าน 

ประโยชน์ การบริหารจิตและเจริญปัญญา  ทำให้เรามีความจำดี  มีสติ  ไม่ประมาท มีสุขภาพจิตดี

ตัวอย่าง การฝึกบริหารจิตและเจริญปัญญา  เช่น การสวดมนต์ แผ่เมตตา  การนั่งสมาธิ 

นิทานเรื่อง  กระต่ายกับเต่า   กระต่ายตัวหนึ่ง เห็นเต่าคลานมาก็หัวเราะเยาะว่า เต่าขาสั้น เดินช้า  เต่าจึงตอบไปว่า "ถึง ท่านจะวิ่งเร็ว รากับลมพัด และขาเราจะสั้น กว่าขาของท่านก็จริงอยู่ แต่เราอยากจะลองดี เดินแข่งกับท่าน ท่านจะว่ากระไร"  กระต่ายได้ยินเต่าท้า ดังนั้น ก็นึกกระหยิ่มใจ ตกลงจะวิ่งแข่งด้วย จึงพร้อมกันไปหา หมาจิ้งจอก บอกความที่ตกลงกัน แล้วก็ตั้งให้  เมื่อถึงวันนัด สัตว์ทั้งสอง ก็มาตั้งต้น แข่งในที่ที่ หมาจิ้งจอกชี้ให้  เต่าเมื่อตั้งต้นออกเดินก็ก้มหน้า คลาน ลัด ตัด ตรง ไป ทีละน้อยๆ จนถึงที่สุด ฝ่าย กระต่ายถือดี ในฝีเท้า ของตนว่า วิ่งได้เร็วกว่าเต่าก็ชะล่าใจ ครั้นตื่นขึ้นตกใจ กลัวว่าจะไล่ เต่าไม่ทันจึงรีบกระโจนไปโดยเร็ว ก็พบเต่าไปถึงก่อนเสียแล้ว 

ข้อคิดจากเรื่อง 

ความประมาทเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะอาจทำให้ภัยมาถึงตัวเองได้  ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่นเหมือนอย่างที่เต่าได้พบ